มันสำปะหลังปลอดสารพิษ

มันสำปะหลังปลอดสารพิษ สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ดำเนินโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการรับฟังความคิดเห็นการส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังแบบอินทรีย์ด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมและทันสมัย เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน 2564 ผ่านระบบประชุมทางไกล Application zoom meeting แนวทางในการร่วมมือกันวางแผนการผลิตและบริหารจัดการผลผลิตมันสำปะหลังให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ในรูปแบบการผลิตมันสำปะหลังปลอดภัย เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังเป็นอย่างยิ่ง สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ จึงได้ประสานความร่วมมือกับบริษัท เอสวายจี สมาร์ทฟาร์ม จำกัด (สิงห์ยิ้ม) เพื่อศึกษาดูโรงงานผลิตมันลูกเต๋า โดยมีกิจกรรมที่สำคัญคือ 1.การวางแผนการผลิตมันสำปะหลังแบบปลอดภัยจากสารพิษ 2.วิธีการปลูกที่ถูกต้องและเหมาะสม ที่สามารถอยู่ร่วมกับไวรัสใบด่างในมันสำปะหลังได้ 3.การตลาด การรับซื้อ การส่งเข้าโรงงาน

ข่าวประชาสัมพันธ์ประจำสัปดาห์วันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน 2564

ข่าวประชาสัมพันธ์ประจำสัปดาห์วันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน 2564 สภาเกษตรกรฯรับฟังความคิดเห็นการส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังแบบอินทรีย์ด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมและทันสมัยผ่านระบบสื่ออิเล็คทรอนิกส์           เมื่อวันที่ 25 พ.ย.2564 นายประพัฒน์  ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ เป็นประธานเปิดการประชุมโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการรับฟังความคิดเห็นการส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังแบบอินทรีย์ด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมและทันสมัย ด้วยระบบประชุมทางไกลผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Zoom) ณ ห้องประชุม 1 สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ อาคารรัฐประศาสนภักดี (อาคาร B) ชั้น 1 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550  ถนนแจ้งวัฒนะ  แขวงทุ่งสองห้อง  เขตหลักสี่  กรุงเทพมหานคร  ในการประชุมนายเติมศักดิ์  บุญชื่น ประธานคณะกรรมการด้านพืชไร่ สภาเกษตรกรแห่งชาติ รายงานเรื่องสถานการณ์โรคใบด่างในมันสำปะหลังในประเทศไทย การบรรยาย เรื่อง “แนวทางความร่วมมือ การส่งเสริมการปลูกมันสำปะหลังครบวงจรด้วยเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่” จากศูนย์ปฏิบัติการเกษตรร่วม(ศูนย์โคแอค) “เทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์และการแปรรูปเป็นมันเต๋าอบแห้ง” โดย บริษัท สิงห์ยิ้มอุตสาหกรรมการเกษตร จำกัด   ทั้งนี้ คณะกรรมการด้านพืชไร่ สภาเกษตรกรแห่งชาติ มีความเห็นว่าการส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังแบบอินทรีย์ด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมและทันสมัยจะทำให้เกษตรกรมีผลผลิตและเปอร์เซ็นต์ค่าแป้งที่สูงขึ้น โดยเปอร์เซ็นต์ค่าแป้งไม่ต่ำกว่า 25% […]