สภาเกษตรฯ Channel – “ประพัฒน์” ห่วงเกษตรกร รุมเร้าทั้งภัยแล้งและโควิด-19ฯ

  ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติห่วงเกษตรกร ถูกรุมเร้าทั้งภัยแล้งและโควิด-19 ขอให้ตั้งสติ ทบทวน เตรียมการ เพื่อให้ผ่านวิกฤต           นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวถึงสถานการณ์ตอนนี้ภาคเกษตรน่าห่วงมาก เรื่องภัยแล้งด้วยมองว่าจะเกิดผลกระทบกับเกษตรกรมากที่สุดและเชื่อว่าจะมาบ่อยและถี่ขึ้นขอให้เกษตรกรใช้โอกาสนี้เตรียมการรองรับในระยะยาว สัมภาษณ์นายประพัฒน์ / แทรกภาพภัยแล้ง           นายประพัฒน์ ยังกล่าวอีกว่า อีกหนึ่งสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงคือการลุกลามของไวรัสโคโรนา (COVID-19) แนวโน้มจะลามไปทั่วโลก เกษตรกรจะมีผลกระทบ 2 ด้าน คือ การกลับมาของลูก/หลาน/ญาติ ที่ไปเรียน/ทำงานในประเทศกลุ่มเสี่ยงแล้วเดินทางกลับมาเยี่ยมหรือกลับบ้าน และด้านผลกระทบเศรษฐกิจ ประเทศคู่ค้าจะสั่งสินค้าเกษตรลดลงมาก ส่วนราคาในประเทศไทยจะถูกแรงกดดันจากการส่งออกน้อยลงและตกค้างแนวโน้มราคาจะตกต่ำ สัมภาษณ์นายประพัฒน์ / ภาพเกี่ยวกับโควิด-19 …………………………………………………………………. ข่าว : วัฒนรินทร์ สุขีวัย เทคนิค : วัชร มีแสงเงิน

ข่าวประชาสัมพันธ์ประจำสัปดาห์ วันศุกร์ที่ 6 มีนาคม 2563

ข่าวประชาสัมพันธ์ประจำสัปดาห์ วันศุกร์ที่ 6 มีนาคม 2563 สภาเกษตรกรจันทบุรี ชู “ศาสตร์พระราชา” แก้วิกฤติแล้งและไวรัสโควิดได้ นายธีระ วงษ์เจริญ ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดจันทบุรี และประธานคณะกรรมการด้านปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวถึงผลกระทบผลผลิตผลไม้จากปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID -19) ว่า ตลาดหลักผลไม้ของไทยคือประเทศจีนแต่ยามนี้เกิดการระบาดของไวรัสโคโรนา เกษตรกรมีความวิตกกังวลกับผลผลิตที่ออกมา อาทิ ทุเรียน มังคุด เงาะ ก่อนหน้านี้ลำไยได้รับผลกระทบไปแล้ว กอปรกับภัยแล้งจึงซ้ำเป็น 2 เท่า ทั้งนี้ การพัฒนาการเกษตรในประเทศไทยเน้นการพัฒนาพืชเชิงเดี่ยว วิธีการเหล่านี้ปีนี้ตอบโจทย์แล้วว่า “ไม่ใช่” เกษตรผสมผสานเกษตรทฤษฎีใหม่ซึ่งพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 พระราชทานไว้และทำให้เห็นเป็นตัวอย่าง คือเป้าหมายสำคัญที่คณะกรรมการด้านปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จะทำเสนอต่อสภาเกษตรกรแห่งชาติและเสนอต่อรัฐบาลให้ดำเนินการขยายผลต่อไป (ปล่อยเสียง นายธีระ) สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี ร่วมกับ สสส.จัดเวทีจัดการความรู้ และพิธีลงนามความร่วมมือ เมื่อวันที่ 2 มี.ค.63 สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี ได้ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)จัดเวทีจัดการความรู้ และพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือการขับเคลื่อนเครือข่ายระบบเกษตรกรรม เพื่ออาหารปลอดภัยจังหวัดลพบุรี ณ ศูนย์เรียนรู้กสิกรรมไร้สารพิษละโว้ธานี จังหวัดลพบุรี […]

สภาเกษตรกรจังหวัดจันทบุรีชี้เกษตรกรช้ำยกกำลัง 2 ทั้งภัยแล้ง + โควิด ใช้ศาสตร์พระราชาช่วยได้

                    นายธีระ วงษ์เจริญ ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดจันทบุรี และประธานคณะกรรมการด้านปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวถึงผลกระทบผลผลิตผลไม้จากปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID -19) ว่า ตลาดหลักผลไม้ของไทยคือประเทศจีนแต่ยามนี้เกิดการระบาดของไวรัสโคโรนาแม้แต่ประเทศแถบยุโรปก็ส่งออกไปไม่ได้เหมือนกันเพราะสายการบินปิดการขนส่ง เกษตรกรมีความวิตกกังวลกับผลผลิตที่ออกมาในช่วงของเดือนมีนาคม คือ ทุเรียน มังคุด เงาะ ก่อนหน้านี้ลำไยได้รับผลกระทบไปแล้ว กอปรกับภัยแล้งจึงซ้ำเป็น 2 แรง โดยในขณะนี้เกษตรกรได้พยายามดูแลผลผลิตของตัวเองให้รอดจากภัยแล้งก่อน แล้วมองตลาดภายในประเทศโดยเฉพาะการกระจายผลผลิตในพื้นที่จังหวัดให้มากขึ้น รวมทั้งการใช้สถาบันเกษตรกร เช่น ระบบสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจแปลงใหญ่ องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร(อตก.)ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ องค์การตลาดของกระทรวงมหาดไทย ต้องเร่งหารือให้เร็วที่สุด หากผลผลิตออกมาแล้วจะแก้ไขปัญหาไม่ทัน ส่วนตลาดต่างประเทศซึ่งเป็นตลาดหลักเมื่อได้รับผลกระทบจะแก้ไขปัญหาได้ยาก แต่หากเตรียมความพร้อมในประเทศได้ก่อนส่วนต่างหรือเกินจึงค่อยดำเนินการต่อ ส่วนเรื่องราคาไม่อยากให้เกษตรกรมองย้อนกลับไปเปรียบเทียบกับปีที่แล้วหรือ 2 ปีที่แล้ว ณ วันนี้ต้องประคองตัวเองให้รอดก่อน ซึ่งสภาเกษตรกรฯเองได้ทำความเข้าใจกับหลายภาคส่วนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรโดยส่วนใหญ่เกษตรกรเห็นด้วยกับแนวคิดนี้               […]

ข่าวประชาสัมพันธ์ประจำสัปดาห์ วันศุกร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2563

  ข่าวประชาสัมพันธ์ประจำสัปดาห์ วันศุกร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2563 ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติแนะภาครัฐหาทางออกบริหาร​จัดการ “น้ำ”                นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวว่า ภัยแล้งลุกลามหนักขึ้นเรื่อยๆทำให้เกิดผลกระทบกับเกษตรกรรากหญ้า รายได้ลดวูบ อยากให้รัฐบาลตั้งสติแล้วแก้ปัญหาใน 2 แนวทางด้วยกัน คือ 1. จัดทำแผนการจัดการน้ำชุมชนให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการจัดการน้ำของตัวเอง ชาวบ้านจะได้ทราบศักยภาพในพื้นที่ว่ามีน้ำมากน้อยแค่ไหนกระจายข้อมูลลงมาให้มากที่สุดจะได้มีข้อมูลแผนของแต่ละชุมชน 2. ต้องให้โอกาสชาวบ้านร่วมคิดในการปรับแผนการผลิตในศักภาพพื้นที่ เช่น ในพื้นที่ที่ไม่มีน้ำ ไม่ควรจะมีกิจกรรมเกี่ยวกับพืชที่ใช้น้ำมาก เช่น ข้าว หรือไม้ผล เป็นต้น เพราะจะทำให้มีปัญหาตามมามาก แต่ควรปรับการผลิตให้เหมาะสมกับพื้นที่แล้งน้ำ อาทิ การปลูกพืชใช้น้ำน้อย เช่น ไผ่ พืชสมุนไพร หรือการทำปศุสัตว์ เลี้ยงแพะ แกะ และไก่พื้นเมือง เป็นต้น โดยสภาเกษตรกร​จังหวัดลำปางทำสำเร็จเป็นโมเดลแล้วในพื้นที่แล้งน้ำมากๆ ภาครัฐสามารถส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาดูงานได้ หากรัฐบาลทำทั้ง 2 แนวทางดังที่กล่าวพร้อมกันในสถานการณ์วิกฤติจะเป็นโอกาสของชาวบ้านที่จะปรับแผนโครงสร้างการผลิตของตัวเองได้   สภาเกษตรกรจังหวัดสุโขทัยจัดเวทีขับเคลื่อน “สุโขทัยเมืองเกษตรคุณธรรม”                เมื่อวันที่ 7 ก.พ.2563 […]

ข่าวประชาสัมพันธ์ประจำสัปดาห์ วันศุกร์ที่ 17 มกราคม 2563

  ข่าวประชาสัมพันธ์ประจำสัปดาห์ วันศุกร์ที่ 17 มกราคม 2563   สภาเกษตรกรจังหวัดสระบุรีแจ้งสถานการณ์การระบาดโรคปากเท้าเปื่อยในโคนมพื้นที่                เมื่อวันที่ 13 ม.ค.63 นายปิยะ มีสวัสดิ์ ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดสระบุรี พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมตรวจเยี่ยมฟาร์มเกษตรกรในพื้นที่ อ.มวกเหล็ก ที่ได้รับความเดือดร้อนจากโรคปากเท้าเปื่อยในโคนม เพื่อรับฟังปัญหาและร่วมหาทางช่วยเหลือในทุกด้าน เบื้องต้นเกษตรกรต้องการความช่วยเหลือในด้านการรักษา และภาระหนี้สิน ซึ่งทางภาครัฐได้รับปัญหาดังกล่าวเพื่อให้ความช่วยเหลือในส่วนที่เกี่ยวข้อง เบื้องต้นได้ให้คำแนะนำกับเกษตรกรเกี่ยวกับการป้องกันแก้ไขไม่ให้สถานการณ์ลุกลาม ส่วนการช่วยเหลือขณะนี้ นายแมนรัตน์ รัตนสุคนธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีได้ประกาศกำหนดเขตเฝ้าระวังโรคระบาดชนิดโรคปากเท้าเปื่อยในสัตว์กีบคู่จำพวกโค กระบือ แพะ แกะ สุกร หมูป่า และกวาง ตั้งแต่วันที่ 20 ธ.ค.62 ปศุสัตว์อำเภอมวกเหล็กได้ประกาศเขตโรคระบาดชั่วคราวในพื้นที่หมู่ 2 บ้านคลองม่วงใต้ ต.ลำพญากลาง , ตั้งแต่วันที่ 11 ม.ค.- 9 ก.พ.63 มีเกษตรกรแจ้งแล้ว 108 ราย โคนม 5,654 ตัวที่ป่วยและรักษาหาย และอยู่ระหว่างการรักษา 897 ตัว […]

1 15 16 17