สภาเกษตรกรจังหวัดลำปางเปิดศูนย์บริหารจัดการน้ำ จังหวัดลำปาง

เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2560 ดร.อรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานเปิดศูนย์บริหารจัดการน้ำระดับจังหวัด สภาเกษตรกรจังหวัดลำปาง ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สภาเกษตรกร กับ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ณ สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลำปาง ศาลากลางจังหวัดลำปาง โดยมีนายสมชัย กิจเจริญรุ่งโรจน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ดร. สุทัศน์ วีสกุล ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร พร้อมด้วยคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมงาน ภาพ : วัชร มีแสงเงิน เนื้อหาข่าว : วัฒนรินทร์ สุขีวัย

สภาเกษตรกรแห่งชาติพร้อมร่วมกำหนดยุทธศาสตร์ชาติเพื่อเกษตรกร

นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ได้กล่าวถึง พระราชบัญญัติ การจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560 และ พระราชบัญญัติ แผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. 2560 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ว่า ต้องขอบคุณรัฐบาลที่กรุณาให้เกียรติตั้งตัวแทนเกษตรกรเป็นหนึ่งในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี อำนาจหน้าที่หลักๆของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ คือ จัดทำร่างยุทธศาสตร์ชาติเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี กำกับดูแลการปฎิรูปประเทศให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยแผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ  ซึ่งได้เห็นโครงสร้างแล้วเชื่อว่าเป็นประโยชน์เพราะประเทศเราควรมียุทธศาสตร์ระยะยาว แต่จะทำอย่างไรให้สอดคล้องกับปัญหาของประเทศและของโลก คงต้องมีการคุยกันในคณะทำงานยุทธศาสตร์ชาติ   ในส่วนของสภาเกษตรกรแห่งชาตินั้นได้จัดทำยุทธศาสตร์ของเกษตรกรไว้กับแผนแม่บทเพื่อพัฒนาเกษตรกรรมที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว  ซึ่งต้องนำมาปรับให้เข้ากับยุทธศาสตร์ชาติ โดยจะนำเสนอเรื่องนี้ให้เป็นแผนยุทธศาสตร์ของเกษตรกรเพื่อนำไปบรรจุไว้เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ชาติ   นอกจากนั้น ยุทธศาสตร์ชาติควรมีองค์ประกอบหลายๆส่วน เช่น ภาคอุตสาหกรรม  การค้าต่างประเทศ  การศึกษา  เกษตรกร ฯลฯ สิ่งที่คิดว่าจะเป็นประโยชน์กับเกษตรกรคือ ต่อไปนี้การกำหนดยุทธศาสตร์ชาติจะต้องสอดคล้องกับสภาพปัญหาของเกษตรกรและสามารถปฏิบัติได้จริง ทำให้เสร็จสิ้นในเวลาที่กำหนดไว้  ที่ผ่านมารัฐบาลเปลี่ยนบ่อยมาก แต่ละรัฐบาลก็จะมีนโยบายของตนจึงทำให้นโยบายที่ดีและเป็นประโยชน์ขาดความต่อเนื่องไม่สามารถทำให้ยั่งยืนและลุล่วงจนสำเร็จได้ เปลี่ยนรัฐบาลทุกครั้งนโยบายก็เปลี่ยนด้วย ผิดกับครั้งนี้ที่กำหนดไว้ใน พรบ.ยุทธศาสตร์ชาติก็จะทำให้แผนงานนโยบายดีๆสามารถกำหนดเป็นแผนและประโยชน์ระยะยาวได้  โดยระหว่างนี้สภาเกษตรกรฯเองได้รวบรวมเอาความคิดทั้งหลายจัดเตรียมไว้เพื่อนำเสนอคณะกรรมการฯเมื่อนายกรัฐมนตรีเรียกประชุม ……………………………………………………….. ข่าว : วัฒนรินทร์ […]

เวทีสัมมนา แนวทางการบริหารจัดการข้าวและชาวนาอย่างยั่งยืน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

นายป​ระพัฒน์​ ปัญญา​ชาติ​รักษ์​ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ เป็นประธานกล่าวเปิดเวทีสัมมนา แนวทางการบริหารจัดการข้าวและชาวนาอย่างยั่งยืน ในวันที่ 8 สิงหาคม 2560 ณ ห้องประชุมพระธาตุนาดูน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม โดยมีสภาเกษตรจังหวัด องค์กรหน่วยงานราชการ และเครือข่าย​เกษตรกร​ จังหวัดต่าง ๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเข้าร่วม ภาพ : โสวัจ อาทรเมทนี ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการประชุมสัมมนา  คลิ๊ก

สภาเกษตรกรแห่งชาติเตือนเกษตรกรปลูกยางพื้นที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์รีบแจ้งข้อมูลภายในเดือนกันยายนนี้

นายธีรพงศ์ ตันติเพชราภรณ์ ประธานคณะกรรมการด้านยางพารา สภาเกษตรกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า จากข้อเสนอของสภาเกษตรกรแห่งชาติต่อการยางแห่งประเทศไทย(กยท.) ในการเปิดให้เกษตรกรผู้ปลูกยางพาราในพื้นที่ที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ให้สามารถแจ้งข้อมูลเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราได้ เพื่อให้หน่วยงานของรัฐบาลได้ทราบและมีข้อมูล จำนวนพื้นที่ปลูก และผลผลิตที่เป็นจริง สำหรับใช้ประกอบในการกำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องกับยางพาราของรัฐบาลรวมทั้งการให้ความช่วยเหลือยามมีภัยพิบัติหรืออื่นๆอย่างถูกต้องครบถ้วนตามความเป็นจริง ซึ่งกยท.ได้รับข้อเสนอนี้ และได้ประกาศให้เกษตรกรแจ้งข้อมูลดังกล่าวระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม ถึง 30 ธันวาคม 2559 นั้น ปรากฏว่ามีเกษตรกรที่ยังไม่ได้แจ้งข้อมูลกับทาง กยท.จึงได้ขยายเพิ่มระยะเวลาการแจ้งตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม ถึง 30 กันยายน 2560 สภาเกษตรกรแห่งชาติในฐานะหน่วยงานที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของเกษตรกรจึงขอแจ้งถึงเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราในพื้นที่ที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ ที่ยังไม่ได้แจ้งข้อมูลต่อการยางแห่งประเทศไทย ขอให้ติดต่อหน่วยงานของการยางในพื้นที่เพื่อแจ้งข้อมูล ทั้งนี้ การแจ้งข้อมูลไม่ได้เกี่ยวข้องกับเอกสารสิทธิในที่ดินที่ปลูกยางพารา แต่จะเป็นประโยชน์กับเกษตรกรโดยเฉพาะการให้ความช่วยเหลือจากรัฐบาลจึงขอให้เกษตรกรรีบแจ้งข้อมูลให้ทันภายในวันที่ 30 กันยายน 2560  หรือติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดทุกจังหวัด ………………………………………. ข่าว : วัฒนรินทร์ สุขีวัย ภาพ : สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดพังงา อำนวยการข่าว : ภาสันต์ นุพาสันต์

สภาเกษตรกรฯขับเคลื่อนแผนแม่บทร่วมกระทรวงวิทย์ฯกระทรวงแรกกับโครงการพัฒนาเกษตรกรด้วยวิทยาศาสตร์ 4 ปี 15,000 กลุ่ม

                นายเสน่ห์  วิชัยวงษ์ รองเลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวว่า ตามที่ครม.ได้มีมติเห็นชอบแผนแม่บทเพื่อพัฒนาเกษตรกรรม พ.ศ.2560 – 2564 ที่สภาเกษตรกรแห่งชาติเสนอ ในมติได้บอกให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นหน่วยงานประสานบูรณาการกับกระทรวงต่างๆที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงมหาดไทย กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นต้น ซึ่งกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ร่วมขับเคลื่อนแผนแม่บทเพื่อพัฒนาเกษตรกรรมเป็นกระทรวงแรกร่วมกับสภาเกษตรกรแห่งชาติในโครงการพัฒนาเกษตรกรด้วยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม เป้าหมายพัฒนาร่วมกันกับกลุ่มองค์กรเกษตรกรที่สภาเกษตรกรฯได้ขึ้นทะเบียนไว้รวมทั้งลูกค้าของธกส. โดยทำแผนระยะยาว 4 ปีที่จะพัฒนา จำนวน 15,000 กลุ่ม เพื่อให้กลุ่มองค์กรเกษตรกรกลายเป็นผู้ประกอบการโดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนวัตกรรมในด้านการผลิต,การแปรรูป,การตลาด การให้ความรู้แก่เกษตรกรเรื่องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป้าหมาย 260,000 คน สร้างชุมชนทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับสภาเกษตรกรแห่งชาติ ได้ทำ MOU. เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2560 และได้ดำเนินการโครงการร่วมกันโดยจัดเวทีอบรมเกษตรกรตามภูมิภาค โดยเริ่มต้นที่จังหวัดศรีสะเกษ เมื่อวันที่ 12-16 กรกฎาคม 2560  เป้าหมายเรื่องข้าว/หอม/กระเทียม , จังหวัดน่าน เมื่อวันที่ 26-30 กรกฎาคม 2560 เป้าหมายเรื่องพริก/เห็ด/ลำไย เมื่อจบกิจกรรมให้เกษตรกรกรอกแบบฟอร์มเพื่อขอความช่วยเหลือทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีว่าต้องการเรื่องใดบ้าง กระทรวงวิทย์ฯจะรวบรวมเข้าสู่โปรแกรมโครงการลงมาสนับสนุนชุมชนตามความต้องการ โดยส่งนักวิทยาศาสตร์/งบประมาณลงมาช่วย […]

อบรมการใช้ข้อมูลเพื่อติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

วันที่ 31 กรกฎาคม 2560 สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ร่วมกับ สสนก. เข้าติดตั้งระบบศูนย์บริหารจัดการน้ำระดับจังหวัด และอบรมการใช้ข้อมูลเพื่อติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ ณ ห้องประชุมสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น โดยผู้เข้าร่วมอบรมประกอบด้วยผู้แทนจากสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 10 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น มหาสารคาม หนองบัวลำภู มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด บุรีรัมย์ สุพรรณบุรี และพระนครศรีอยุธยา ผู้แทนจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น และผู้แทนจากชุมชนในพื้นที่ ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการบริหารจัดการน้ำกับผู้เข้าร่วมอบรมในครั้งนี้ด้วย

1 85 86 87 88 89 90