Author: Thanyalaksaporn Tieoyong
“ประพัฒน์” หวังเกษตรกรใช้ข้อมูลน้ำ/ภูมิอากาศ วางแผนและเพิ่มความหลากหลายทางการเกษตร
นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวถึง การเปิดศูนย์บริหารจัดการน้ำที่ จ.ลำปาง โดย นางอรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานเปิดเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2560 ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สภาเกษตรกรแห่งชาติและสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) ณ สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลำปาง ศาลากลางจังหวัดลำปาง ว่า ถือเป็นเรื่องใหม่มากกับข้อมูลสารสนเทศเรื่องน้ำ/ภูมิอากาศแบบบูรณาการ โดยมีศูนย์บริหารจัดการน้ำเป็นศูนย์เชื่อมโยงข้อมูลกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมอุตุนิยมวิทยา, สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร, กรมชลประทาน, กรมทรัพยากรน้ำ เป็นต้น เป้าหมายหลักคือเพื่อให้พี่น้องเกษตรกรได้ใช้ประโยชน์ สิ่งที่สภาเกษตรกรฯจะทำต่อไปคือจัดโครงการอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจ พร้อมกับวิเคราะห์ให้ใช้ประโยชน์ในการวางแผนการผลิตและป้องกันความเสียหาย ลดความเสี่ยงจากความผันแปรของสภาพอากาศในพื้นที่ของตัวเอง ซึ่งมีเกษตรกรหลายรายที่เข้าใจและนำไปใช้เพื่อบริหารงานเกษตรแล้ว โดยข้อมูลจะมีทั้งรายวัน / สัปดาห์ ระยะสั้นและระยะยาว เกษตรกรสามารถนำไปวางแผนการเกษตรด้านพืช/ปศุสัตว์ ยกตัวอย่างเช่น ข้อมูลบอกจะมีฝนตกในอีก 2 วัน เกษตรกรที่ต้องฉีดพ่นหรือให้อาหารเสริมหรือหว่านปุ๋ยก็ชะลอไว้ก่อนเพราะหากฝนตกมาก็จะถูกชะล้าง ข้าว ต้นไม้ พืชทั้งหลายก็ไม่ได้ใช้ประโยชน์เกษตรกรก็เกิดความเสียหาย สิ้นเปลือง หรือแม้กระทั่งภัยแล้ง ฝนทิ้งช่วง เกษตรกรจะได้จัดเตรียมสำรองน้ำไว้ใช้ได้อย่างเพียงพอ […]
อบรมการใช้ข้อมูลเพื่อติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ ภาคใต้
วันที่ 18 สิงหาคม 2560 สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ร่วมกับ สสนก. เข้าติดตั้งระบบศูนย์บริหารจัดการน้ำระดับจังหวัด และอบรมการใช้ข้อมูลเพื่อติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ ณ ห้องประชุมสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดตรัง จังหวัดตรัง โดยผู้เข้าร่วมอบรมประกอบด้วยผู้แทนจากสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดภาคใต้ 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดตรัง ปัตตานี ยะลาและชุมพร ผู้แทนจากศูนย์บริหารจัดการน้ำจังหวัดแพร่ ผู้แทนเครือข่ายลุ่มน้ำปัตตานี และผู้แทนจากเครือข่ายในพื้นที่ ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการบริหารจัดการน้ำกับผู้เข้าร่วมอบรมในครั้งนี้ด้วย
กระทรวงวิทย์ ฯ ร่วมมือสภาเกษตรกรพาเกษตรกรสู่ 4.0 จังหวัดลำปาง
เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2560 ดร.อรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ลงพื้นที่เพื่อติดตามผลงานความร่วมมือระหว่างสภาเกษตรกรแห่งชาติ กับ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ในการนำงานวิจัยและนวัตกรรมไปพัฒนาเพิ่มมูลค่าผลผลิตไผ่ และไข่ นมแพะ และอื่นๆของเกษตรกรภาคเหนือ ณ ไร่เพชรล้านนา ต.แม่สุก อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง โดยมีนายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติให้การต้อนรับและนำเยี่ยมชมสินค้าเกษตรที่ใช้งานวิจัยและนวัตกรรมมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ ภาพ : วัชร มีแสงเงิน เนื้อหาข่าว : วัฒนรินทร์ สุขีวัย
สภาเกษตรกรจังหวัดลำปางเปิดศูนย์บริหารจัดการน้ำ จังหวัดลำปาง
เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2560 ดร.อรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานเปิดศูนย์บริหารจัดการน้ำระดับจังหวัด สภาเกษตรกรจังหวัดลำปาง ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สภาเกษตรกร กับ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ณ สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลำปาง ศาลากลางจังหวัดลำปาง โดยมีนายสมชัย กิจเจริญรุ่งโรจน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ดร. สุทัศน์ วีสกุล ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร พร้อมด้วยคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมงาน ภาพ : วัชร มีแสงเงิน เนื้อหาข่าว : วัฒนรินทร์ สุขีวัย
สภาเกษตรกรแห่งชาติพร้อมร่วมกำหนดยุทธศาสตร์ชาติเพื่อเกษตรกร
นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ได้กล่าวถึง พระราชบัญญัติ การจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560 และ พระราชบัญญัติ แผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. 2560 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ว่า ต้องขอบคุณรัฐบาลที่กรุณาให้เกียรติตั้งตัวแทนเกษตรกรเป็นหนึ่งในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี อำนาจหน้าที่หลักๆของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ คือ จัดทำร่างยุทธศาสตร์ชาติเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี กำกับดูแลการปฎิรูปประเทศให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยแผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ ซึ่งได้เห็นโครงสร้างแล้วเชื่อว่าเป็นประโยชน์เพราะประเทศเราควรมียุทธศาสตร์ระยะยาว แต่จะทำอย่างไรให้สอดคล้องกับปัญหาของประเทศและของโลก คงต้องมีการคุยกันในคณะทำงานยุทธศาสตร์ชาติ ในส่วนของสภาเกษตรกรแห่งชาตินั้นได้จัดทำยุทธศาสตร์ของเกษตรกรไว้กับแผนแม่บทเพื่อพัฒนาเกษตรกรรมที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ซึ่งต้องนำมาปรับให้เข้ากับยุทธศาสตร์ชาติ โดยจะนำเสนอเรื่องนี้ให้เป็นแผนยุทธศาสตร์ของเกษตรกรเพื่อนำไปบรรจุไว้เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ชาติ นอกจากนั้น ยุทธศาสตร์ชาติควรมีองค์ประกอบหลายๆส่วน เช่น ภาคอุตสาหกรรม การค้าต่างประเทศ การศึกษา เกษตรกร ฯลฯ สิ่งที่คิดว่าจะเป็นประโยชน์กับเกษตรกรคือ ต่อไปนี้การกำหนดยุทธศาสตร์ชาติจะต้องสอดคล้องกับสภาพปัญหาของเกษตรกรและสามารถปฏิบัติได้จริง ทำให้เสร็จสิ้นในเวลาที่กำหนดไว้ ที่ผ่านมารัฐบาลเปลี่ยนบ่อยมาก แต่ละรัฐบาลก็จะมีนโยบายของตนจึงทำให้นโยบายที่ดีและเป็นประโยชน์ขาดความต่อเนื่องไม่สามารถทำให้ยั่งยืนและลุล่วงจนสำเร็จได้ เปลี่ยนรัฐบาลทุกครั้งนโยบายก็เปลี่ยนด้วย ผิดกับครั้งนี้ที่กำหนดไว้ใน พรบ.ยุทธศาสตร์ชาติก็จะทำให้แผนงานนโยบายดีๆสามารถกำหนดเป็นแผนและประโยชน์ระยะยาวได้ โดยระหว่างนี้สภาเกษตรกรฯเองได้รวบรวมเอาความคิดทั้งหลายจัดเตรียมไว้เพื่อนำเสนอคณะกรรมการฯเมื่อนายกรัฐมนตรีเรียกประชุม ……………………………………………………….. ข่าว : วัฒนรินทร์ […]
เวทีสัมมนา แนวทางการบริหารจัดการข้าวและชาวนาอย่างยั่งยืน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ เป็นประธานกล่าวเปิดเวทีสัมมนา แนวทางการบริหารจัดการข้าวและชาวนาอย่างยั่งยืน ในวันที่ 8 สิงหาคม 2560 ณ ห้องประชุมพระธาตุนาดูน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม โดยมีสภาเกษตรจังหวัด องค์กรหน่วยงานราชการ และเครือข่ายเกษตรกร จังหวัดต่าง ๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเข้าร่วม ภาพ : โสวัจ อาทรเมทนี ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการประชุมสัมมนา คลิ๊ก
สภาเกษตรกรแห่งชาติเตือนเกษตรกรปลูกยางพื้นที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์รีบแจ้งข้อมูลภายในเดือนกันยายนนี้
นายธีรพงศ์ ตันติเพชราภรณ์ ประธานคณะกรรมการด้านยางพารา สภาเกษตรกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า จากข้อเสนอของสภาเกษตรกรแห่งชาติต่อการยางแห่งประเทศไทย(กยท.) ในการเปิดให้เกษตรกรผู้ปลูกยางพาราในพื้นที่ที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ให้สามารถแจ้งข้อมูลเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราได้ เพื่อให้หน่วยงานของรัฐบาลได้ทราบและมีข้อมูล จำนวนพื้นที่ปลูก และผลผลิตที่เป็นจริง สำหรับใช้ประกอบในการกำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องกับยางพาราของรัฐบาลรวมทั้งการให้ความช่วยเหลือยามมีภัยพิบัติหรืออื่นๆอย่างถูกต้องครบถ้วนตามความเป็นจริง ซึ่งกยท.ได้รับข้อเสนอนี้ และได้ประกาศให้เกษตรกรแจ้งข้อมูลดังกล่าวระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม ถึง 30 ธันวาคม 2559 นั้น ปรากฏว่ามีเกษตรกรที่ยังไม่ได้แจ้งข้อมูลกับทาง กยท.จึงได้ขยายเพิ่มระยะเวลาการแจ้งตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม ถึง 30 กันยายน 2560 สภาเกษตรกรแห่งชาติในฐานะหน่วยงานที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของเกษตรกรจึงขอแจ้งถึงเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราในพื้นที่ที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ ที่ยังไม่ได้แจ้งข้อมูลต่อการยางแห่งประเทศไทย ขอให้ติดต่อหน่วยงานของการยางในพื้นที่เพื่อแจ้งข้อมูล ทั้งนี้ การแจ้งข้อมูลไม่ได้เกี่ยวข้องกับเอกสารสิทธิในที่ดินที่ปลูกยางพารา แต่จะเป็นประโยชน์กับเกษตรกรโดยเฉพาะการให้ความช่วยเหลือจากรัฐบาลจึงขอให้เกษตรกรรีบแจ้งข้อมูลให้ทันภายในวันที่ 30 กันยายน 2560 หรือติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดทุกจังหวัด ………………………………………. ข่าว : วัฒนรินทร์ สุขีวัย ภาพ : สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดพังงา อำนวยการข่าว : ภาสันต์ นุพาสันต์