เวทีสัมมนา แนวทางการบริหารจัดการข้าวและชาวนาอย่างยั่งยืน ภาคกลาง

นายป​ระพัฒน์​ ปัญญา​ชาติ​รักษ์​ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ เป็นประธานกล่าวเปิดเวทีสัมมนา แนวทางการบริหารจัดการข้าวและชาวนาอย่างยั่งยืน ในวันที่ 4 กันยายน 2560 ณ ห้องประชุมศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีสภาเกษตรจังหวัด องค์กรหน่วยงานราชการ และเครือข่าย​เกษตรกร​ จังหวัดต่าง ๆ ในภาคกลางเข้าร่วม ภาพ : โสวัจ อาทรเมทนี ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการประชุมสัมมนา  คลิ๊ก

2 หน่วยงานหารือร่วมสร้าง “อุตสาหกรรมชุมชน”

นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติพร้อมคณะผู้บริหารเข้าพบนายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมพร้อมคณะผู้บริหาร เพื่อหารือความร่วมมือในการขับเคลื่อนแผนแม่บทเพื่อพัฒนาเกษตรกรรมสู่การปฏิบัติ ณ ห้องประชุมชุณหะวัณ ชั้น 3 กระทรวงอุตสาหกรรม เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2560 โดยภายหลังการเข้าหารือ นายประพัฒน์ได้กล่าวว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบ “แผนแม่บทเพื่อพัฒนาเกษตรกรรม พ.ศ.2560-2564” ที่สภาเกษตรกรแห่งชาติเสนอ และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปบูรณาการกับแผนงานของแต่ละหน่วยงาน ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการร่วมขับเคลื่อนแผนแม่บท สภาเกษตรกรฯ ในฐานะเป็นองค์กรตัวแทนของเกษตรกรสาขาอาชีพต่าง ๆ จึงได้ขอเข้าพบรัฐมนตรีว่าการและคณะผู้บริหารของกระทรวงอุตสาหกรรมเพื่อร่วมพิจารณาหารือกำหนดแนวทางบูรณาการความร่วมมือในการขับเคลื่อนแผนแม่บทเพื่อพัฒนาเกษตรกรรม พ.ศ.2560-2564 สู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งแนวทางการดำเนินงานที่สภาเกษตรกรฯ ได้นำเสนอกับกระทรวงอุตสาหกรรม คือ การพัฒนาให้เกษตรกรพึ่งตนเองได้ โดยปรับเปลี่ยนจากผู้ผลิตขายวัตถุดิบให้เป็นผู้ประกอบการหรือที่เรียกว่าเกษตรอุตสาหกรรม ที่สามารถเชื่อมโยงจากการผลิตสู่การแปรรูปอย่างสอดคล้องกับความต้องการของตลาด ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมได้ตอบรับและกำหนดแนวทางปฏิบัติงานอย่างเป็นรูปธรรมด้วยการจัดตั้งคณะทำงานร่วมกัน คณะทำงานนี้จะมีผู้แทนสภาเกษตรกรทำหน้าที่ชี้เป้าหมายเกษตรกรหรือองค์กรเกษตรกรที่มีความพร้อม แล้วให้กระทรวงอุตสาหกรรมบูรณาการหน่วยงานนำความรู้  , เงินทุน เทคโนโลยี ลงไปส่งเสริมสนับสนุน และทั้งสองหน่วยงานเห็นตรงกันว่าให้เป็น “อุตสาหกรรมชุมชน” โดยจะเริ่มต้นดำเนินการเฉพาะจุดที่มีความพร้อม ไม่ทำงานแบบวงกว้าง  ทั้งนี้ เมื่อชี้เป้าหมายถูกต้องระบบการพัฒนาตรงตามความต้องการเป็นลักษณะ “ยิงถูกเป้าเกาถูกที่”  จึงเป็นที่หวังได้ว่าย่อมเกิดผลอย่างแท้จริง เมื่อทำได้เศรษฐกิจระดับฐานรากจะขับเคลื่อนทำให้ประเทศเกิดการพัฒนาอย่างมั่นคง ยั่งยืน สำหรับข้อจำกัดที่เป็นกฎระเบียบของกระทรวงอุตสาหกรรมอันทำให้เกษตรกรหรือองค์กรเกษตรกรไม่สามารถดำเนินการตามนี้ได้นั้น รัฐมนตรีได้แจ้งในการหารือว่าให้แต่ละหน่วยงานไปรวบรวมเพื่อขอแก้ไขทั้งระบบ ……………………………………………………………………….. […]

สภาเกษตรกรแห่งชาติเข้าหารือรมต.กระทรวงอุตสาหกรรม

วันนี้ (31 สิงหาคม 2560) นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ พร้อมคณะผู้บริหารเข้าพบ นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมพร้อมคณะผู้บริหาร เพื่อหารือความร่วมมือในการขับเคลื่อนแผนแม่บทเพื่อพัฒนาเกษตรกรรมสู่การปฏิบัติ ณ ห้องประชุมชุณหะวัณ ชั้น 3 กระทรวงอุตสาหกรรม

ร่างพรบ.ส่งเสริมกิจการโคเนื้อแห่งประเทศไทย เพื่อเพิ่มพลัง ศักยภาพ มั่นคงให้เกษตรกรโคบาล

นายสมศักดิ์ คุณเงิน รองประธานคณะกรรมการด้านปศุสัตว์ สภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีผลผลิตด้านเกษตรกรรมอยู่ในลำดับต้นๆ ของโลก ผลผลิตการเกษตรมีทั้งบริโภคภายในประเทศ และส่งออกไปต่างประเทศ นำเงินตราเข้าประเทศไทยจำนวนมากสินค้าเกษตรกรด้านพืช ด้านประมงล้วนมีกฎหมายหลายฉบับดูแล ควบคุม  แต่ด้านปศุสัตว์โดยเฉพาะอย่างยิ่งโคเนื้อและเนื้อโค ขณะนี้ยังไม่มีกฎหมายเป็นการเฉพาะในการส่งเสริมพัฒนา ทั้งๆ ที่โคเนื้อเป็นอาหารที่คนไทยจำนวนมากนิยมบริโภค แต่การเลี้ยงโคเนื้อกลับลดลงไปเรื่อยๆ ทำให้ต้องนำเข้าเนื้อโคจากต่างประเทศ และเนื้อโคที่ผลิตในประเทศไทยก็มีราคาสูงกว่าบางประเทศ ทำให้เสียโอกาสในการแข่งขัน เห็นจำเป็นว่าควรมีองค์กรขึ้นมาเพื่อการส่งเสริมกิจการโคเนื้อเป็นการเฉพาะ  คณะกรรมการด้านปศุสัตว์  สภาเกษตรกรแห่งชาติจึงได้ยกร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมกิจการโคเนื้อแห่งประเทศไทย พ.ศ. …. ขึ้นมาเพื่อเป็นองค์กรด้านโคเนื้อโดยเฉพาะ เพื่อจะได้ทำหน้าที่ขับเคลื่อน และพัฒนาอาชีพการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกรต่อไป โดยร่าง พรบ.ดังกล่าวประกอบไปด้วยส่วนสำคัญ คือ 1.คณะกรรมการส่งเสริมกิจการโคเนื้อแห่งประเทศไทย ทำหน้าที่กำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ หลักเกณฑ์ วิธีการ ข้อบังคับ ระเบียบการส่งเสริมกิจการโคเนื้อ ฯ  2.องค์การส่งเสริมกิจการโคเนื้อแห่งประเทศไทย ทำหน้าที่ ส่งเสริม ดำเนินการเลี้ยงโคเนื้อทั้งในและต่างประเทศ เช่น กระบวนการเพาะพันธุ์ โรงเรือน การตลาด การวิจัย เป็นต้น รักษาเสถียรภาพด้านราคา การฝึกอบรมบุคคลให้มีความรู้ ความชำนาญและทักษะในการเลี้ยง วางแผนธุรกิจ ฯลฯ 3. กองทุนรักษาเสถียรภาพด้านราคาโคเนื้อ […]

สภาเกษตรกรแห่งชาติขอความเห็นคนเลี้ยงสัตว์ จากร่างกฎกระทรวงระบบการป้องกันและควบคุมโรคระบาดสัตว์ พ.ศ…..

การประชุมสภาเกษตรกรแห่งชาติ ครั้งที่ 4/2560 เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2560 ในส่วนเรื่องเพื่อพิจารณาได้ให้ความเห็นต่อร่างกฎกระทรวงระบบการป้องกันและควบคุมโรคระบาดสัตว์ พ.ศ….. ที่ต้องการป้องกัน ควบคุมให้สัตว์ปลอดภัยจากโรค ซึ่งนายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ได้กล่าวว่าร่างกฎกระทรวงระบบการป้องกันและควบคุมโรคระบาดสัตว์ พ.ศ….. อยู่ระหว่างการรับฟังความคิดเห็นพิจารณาในชั้นคณะกรรมการกฤษฎีกา และมีความเกี่ยวข้องกับเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์  ประชาชนทั่วไป สภาเกษตรกรแห่งชาติจึงได้นำมาพิจารณาโดยที่ประชุมเห็นว่ามีผลต่อวิถีชีวิตปกติของเกษตรกรรายย่อย เช่น การเลี้ยงกระบือ สุกร หมูป่า ต้องจัดให้มีอ่างน้ำยาฆ่าเชื้อโรค หรือมีรองเท้าสำหรับเปลี่ยนเมื่อเข้า – ออกคอกเลี้ยง หรือการเลี้ยงนก ไก่ เป็ด ห่าน เพื่อการบริโภคต้องมีเล้า โรงเรือนแยกออกจากตัวบ้านที่อยู่อาศัยของคน หรือการเลี้ยงสุนัข แมว ต้องเลี้ยงในพื้นที่ที่มีรั้วรอบขอบเขตชัดเจน  การนำไปในที่สาธารณะต้องมีสายจูง และปลอกคอ เพื่อให้ควบคุมได้ ตามที่ยกตัวอย่างในร่างกฎกระทรวงระบบการป้องกันและควบคุมโรคระบาดสัตว์ พ.ศ…..   หากกำหนดบังคับใช้จะเห็นว่าเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ติดบ้านต้องปรับเปลี่ยนวิถีปกติ  การเลี้ยงต้องลงทุนสร้างโรงเรือนเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายให้กับเกษตรกร  ดังนั้น สภาเกษตรกรแห่งชาติจึงมอบให้สภาเกษตรกรจังหวัดทุกจังหวัดเผยแพร่ร่างกฎกระทรวงนี้ แล้วให้จัดประชุมเพื่อประมวลความเห็นส่งให้คณะกรรมการด้านปศุสัตว์  สภาเกษตรกรแห่งชาติรวบรวมพิจารณาเสนอความเห็นต่อกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ต่อไป โดยในระหว่างนี้ขอให้เกษตรกรรายย่อยที่เลี้ยงสัตว์แสดงความเห็นได้ที่เว็บไซต์ของกรมปศุสัตว์จนถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2560 ……………………………………………………….. ข่าว : […]

ประชุมสภาเกษตรกรแห่งชาติ ครั้งที่ 4/2560

ประชุมสภาเกษตรกรแห่งชาติ ครั้งที่ 4/2560 ในวันที่ 24 สิงหาคม 2560 เวลา 08.30 – 16.30 น. ณ ห้องประชุมพึ่งบุญ ชั้น 8 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

สภาเกษตรกรแห่งชาติอยากเห็นงานวิจัยข้าวที่ชาวนามีส่วนกำหนดหัวข้อและร่วมในงานวิจัย

   นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวภายหลังเข้าร่วมประชุม “การปฏิรูประบบและพัฒนาข้าวไทย” ซึ่งจัดโดยคณะกรรมการศึกษาแนวทางการปฏิรูประบบและพัฒนาข้าวไทย มหาวิทยาลัยรังสิต เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2560 ที่ผ่านมา  ว่า  ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต พร้อมคณะผู้บริหาร และสภาเกษตรกรแห่งชาติโดยประธานสภาเกษตรกรจังหวัดภาคกลาง  ได้ร่วมหารือกันถึงแนวทางการพัฒนาข้าวไทย ซึ่งทางมหาวิทยาลัยรังสิตมีคณะนวัตกรรมเกษตร ศึกษาแนวทางพัฒนาคุณภาพข้าว มีงานวิจัยเพื่อลดต้นทุนการผลิตและการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ การวิจัยข้าวเพื่อสุขภาพ ซึ่งเป็นเรื่องที่สภาเกษตรกรฯให้ความสนใจ มองว่าเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรและจะนำไปสู่การร่วมมือกันอย่างเป็นทางการต่อไป   ทั้งนี้ สภาเกษตรกรฯ ได้เสนอทิศทางการพัฒนาข้าวไทยควรต้องหนีคู่แข่งให้ได้ ต้องไม่ผลิตข้าวแบบเดิมอย่างที่เป็นมา   ต้องดูคู่แข่งการตลาด เช่น เวียตนาม อินเดีย หรือแม้แต่เมียนมาร์  มีข้าวพันธุ์อะไรบ้างที่นำมาแย่งตลาด   ไทยต้องพัฒนาสายพันธุ์อย่างไรให้เหนือกว่า เช่น ข้าวหอมมะลิ 105 ที่ส่งเสริมการเพาะปลูกและการตลาดมาไม่น้อยกว่า 10 ปีนั้น ควรมีเวอร์ชั่น 2  ที่หอม นุ่ม น่ากินกว่าเดิม เป็นต้น   อีกเรื่องคือแต่ละพื้นที่ จังหวัด ภูมิภาคควรมียุทธศาสตร์ข้าวของตนเอง เพื่อสร้างความแตกต่างทางการตลาด  เช่น ปลูกข้าวออร์แกนิค […]

1 83 84 85 86 87 90