ร่างพรบ.ส่งเสริมกิจการโคเนื้อแห่งประเทศไทย เพื่อเพิ่มพลัง ศักยภาพ มั่นคงให้เกษตรกรโคบาล

นายสมศักดิ์ คุณเงิน รองประธานคณะกรรมการด้านปศุสัตว์ สภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีผลผลิตด้านเกษตรกรรมอยู่ในลำดับต้นๆ ของโลก ผลผลิตการเกษตรมีทั้งบริโภคภายในประเทศ และส่งออกไปต่างประเทศ นำเงินตราเข้าประเทศไทยจำนวนมากสินค้าเกษตรกรด้านพืช ด้านประมงล้วนมีกฎหมายหลายฉบับดูแล ควบคุม  แต่ด้านปศุสัตว์โดยเฉพาะอย่างยิ่งโคเนื้อและเนื้อโค ขณะนี้ยังไม่มีกฎหมายเป็นการเฉพาะในการส่งเสริมพัฒนา ทั้งๆ ที่โคเนื้อเป็นอาหารที่คนไทยจำนวนมากนิยมบริโภค แต่การเลี้ยงโคเนื้อกลับลดลงไปเรื่อยๆ ทำให้ต้องนำเข้าเนื้อโคจากต่างประเทศ และเนื้อโคที่ผลิตในประเทศไทยก็มีราคาสูงกว่าบางประเทศ ทำให้เสียโอกาสในการแข่งขัน เห็นจำเป็นว่าควรมีองค์กรขึ้นมาเพื่อการส่งเสริมกิจการโคเนื้อเป็นการเฉพาะ  คณะกรรมการด้านปศุสัตว์  สภาเกษตรกรแห่งชาติจึงได้ยกร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมกิจการโคเนื้อแห่งประเทศไทย พ.ศ. …. ขึ้นมาเพื่อเป็นองค์กรด้านโคเนื้อโดยเฉพาะ เพื่อจะได้ทำหน้าที่ขับเคลื่อน และพัฒนาอาชีพการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกรต่อไป โดยร่าง พรบ.ดังกล่าวประกอบไปด้วยส่วนสำคัญ คือ 1.คณะกรรมการส่งเสริมกิจการโคเนื้อแห่งประเทศไทย ทำหน้าที่กำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ หลักเกณฑ์ วิธีการ ข้อบังคับ ระเบียบการส่งเสริมกิจการโคเนื้อ ฯ  2.องค์การส่งเสริมกิจการโคเนื้อแห่งประเทศไทย ทำหน้าที่ ส่งเสริม ดำเนินการเลี้ยงโคเนื้อทั้งในและต่างประเทศ เช่น กระบวนการเพาะพันธุ์ โรงเรือน การตลาด การวิจัย เป็นต้น รักษาเสถียรภาพด้านราคา การฝึกอบรมบุคคลให้มีความรู้ ความชำนาญและทักษะในการเลี้ยง วางแผนธุรกิจ ฯลฯ 3. กองทุนรักษาเสถียรภาพด้านราคาโคเนื้อ […]

สภาเกษตรกรแห่งชาติขอความเห็นคนเลี้ยงสัตว์ จากร่างกฎกระทรวงระบบการป้องกันและควบคุมโรคระบาดสัตว์ พ.ศ…..

การประชุมสภาเกษตรกรแห่งชาติ ครั้งที่ 4/2560 เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2560 ในส่วนเรื่องเพื่อพิจารณาได้ให้ความเห็นต่อร่างกฎกระทรวงระบบการป้องกันและควบคุมโรคระบาดสัตว์ พ.ศ….. ที่ต้องการป้องกัน ควบคุมให้สัตว์ปลอดภัยจากโรค ซึ่งนายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ได้กล่าวว่าร่างกฎกระทรวงระบบการป้องกันและควบคุมโรคระบาดสัตว์ พ.ศ….. อยู่ระหว่างการรับฟังความคิดเห็นพิจารณาในชั้นคณะกรรมการกฤษฎีกา และมีความเกี่ยวข้องกับเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์  ประชาชนทั่วไป สภาเกษตรกรแห่งชาติจึงได้นำมาพิจารณาโดยที่ประชุมเห็นว่ามีผลต่อวิถีชีวิตปกติของเกษตรกรรายย่อย เช่น การเลี้ยงกระบือ สุกร หมูป่า ต้องจัดให้มีอ่างน้ำยาฆ่าเชื้อโรค หรือมีรองเท้าสำหรับเปลี่ยนเมื่อเข้า – ออกคอกเลี้ยง หรือการเลี้ยงนก ไก่ เป็ด ห่าน เพื่อการบริโภคต้องมีเล้า โรงเรือนแยกออกจากตัวบ้านที่อยู่อาศัยของคน หรือการเลี้ยงสุนัข แมว ต้องเลี้ยงในพื้นที่ที่มีรั้วรอบขอบเขตชัดเจน  การนำไปในที่สาธารณะต้องมีสายจูง และปลอกคอ เพื่อให้ควบคุมได้ ตามที่ยกตัวอย่างในร่างกฎกระทรวงระบบการป้องกันและควบคุมโรคระบาดสัตว์ พ.ศ…..   หากกำหนดบังคับใช้จะเห็นว่าเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ติดบ้านต้องปรับเปลี่ยนวิถีปกติ  การเลี้ยงต้องลงทุนสร้างโรงเรือนเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายให้กับเกษตรกร  ดังนั้น สภาเกษตรกรแห่งชาติจึงมอบให้สภาเกษตรกรจังหวัดทุกจังหวัดเผยแพร่ร่างกฎกระทรวงนี้ แล้วให้จัดประชุมเพื่อประมวลความเห็นส่งให้คณะกรรมการด้านปศุสัตว์  สภาเกษตรกรแห่งชาติรวบรวมพิจารณาเสนอความเห็นต่อกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ต่อไป โดยในระหว่างนี้ขอให้เกษตรกรรายย่อยที่เลี้ยงสัตว์แสดงความเห็นได้ที่เว็บไซต์ของกรมปศุสัตว์จนถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2560 ……………………………………………………….. ข่าว : […]

ประชุมสภาเกษตรกรแห่งชาติ ครั้งที่ 4/2560

ประชุมสภาเกษตรกรแห่งชาติ ครั้งที่ 4/2560 ในวันที่ 24 สิงหาคม 2560 เวลา 08.30 – 16.30 น. ณ ห้องประชุมพึ่งบุญ ชั้น 8 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

สภาเกษตรกรแห่งชาติอยากเห็นงานวิจัยข้าวที่ชาวนามีส่วนกำหนดหัวข้อและร่วมในงานวิจัย

   นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวภายหลังเข้าร่วมประชุม “การปฏิรูประบบและพัฒนาข้าวไทย” ซึ่งจัดโดยคณะกรรมการศึกษาแนวทางการปฏิรูประบบและพัฒนาข้าวไทย มหาวิทยาลัยรังสิต เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2560 ที่ผ่านมา  ว่า  ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต พร้อมคณะผู้บริหาร และสภาเกษตรกรแห่งชาติโดยประธานสภาเกษตรกรจังหวัดภาคกลาง  ได้ร่วมหารือกันถึงแนวทางการพัฒนาข้าวไทย ซึ่งทางมหาวิทยาลัยรังสิตมีคณะนวัตกรรมเกษตร ศึกษาแนวทางพัฒนาคุณภาพข้าว มีงานวิจัยเพื่อลดต้นทุนการผลิตและการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ การวิจัยข้าวเพื่อสุขภาพ ซึ่งเป็นเรื่องที่สภาเกษตรกรฯให้ความสนใจ มองว่าเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรและจะนำไปสู่การร่วมมือกันอย่างเป็นทางการต่อไป   ทั้งนี้ สภาเกษตรกรฯ ได้เสนอทิศทางการพัฒนาข้าวไทยควรต้องหนีคู่แข่งให้ได้ ต้องไม่ผลิตข้าวแบบเดิมอย่างที่เป็นมา   ต้องดูคู่แข่งการตลาด เช่น เวียตนาม อินเดีย หรือแม้แต่เมียนมาร์  มีข้าวพันธุ์อะไรบ้างที่นำมาแย่งตลาด   ไทยต้องพัฒนาสายพันธุ์อย่างไรให้เหนือกว่า เช่น ข้าวหอมมะลิ 105 ที่ส่งเสริมการเพาะปลูกและการตลาดมาไม่น้อยกว่า 10 ปีนั้น ควรมีเวอร์ชั่น 2  ที่หอม นุ่ม น่ากินกว่าเดิม เป็นต้น   อีกเรื่องคือแต่ละพื้นที่ จังหวัด ภูมิภาคควรมียุทธศาสตร์ข้าวของตนเอง เพื่อสร้างความแตกต่างทางการตลาด  เช่น ปลูกข้าวออร์แกนิค […]

“ประพัฒน์” หวังเกษตรกรใช้ข้อมูลน้ำ/ภูมิอากาศ วางแผนและเพิ่มความหลากหลายทางการเกษตร

      นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวถึง การเปิดศูนย์บริหารจัดการน้ำที่ จ.ลำปาง โดย นางอรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานเปิดเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2560  ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สภาเกษตรกรแห่งชาติและสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) ณ สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลำปาง ศาลากลางจังหวัดลำปาง ว่า ถือเป็นเรื่องใหม่มากกับข้อมูลสารสนเทศเรื่องน้ำ/ภูมิอากาศแบบบูรณาการ โดยมีศูนย์บริหารจัดการน้ำเป็นศูนย์เชื่อมโยงข้อมูลกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมอุตุนิยมวิทยา, สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร, กรมชลประทาน, กรมทรัพยากรน้ำ เป็นต้น เป้าหมายหลักคือเพื่อให้พี่น้องเกษตรกรได้ใช้ประโยชน์ สิ่งที่สภาเกษตรกรฯจะทำต่อไปคือจัดโครงการอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจ พร้อมกับวิเคราะห์ให้ใช้ประโยชน์ในการวางแผนการผลิตและป้องกันความเสียหาย ลดความเสี่ยงจากความผันแปรของสภาพอากาศในพื้นที่ของตัวเอง ซึ่งมีเกษตรกรหลายรายที่เข้าใจและนำไปใช้เพื่อบริหารงานเกษตรแล้ว โดยข้อมูลจะมีทั้งรายวัน / สัปดาห์ ระยะสั้นและระยะยาว เกษตรกรสามารถนำไปวางแผนการเกษตรด้านพืช/ปศุสัตว์  ยกตัวอย่างเช่น ข้อมูลบอกจะมีฝนตกในอีก 2 วัน เกษตรกรที่ต้องฉีดพ่นหรือให้อาหารเสริมหรือหว่านปุ๋ยก็ชะลอไว้ก่อนเพราะหากฝนตกมาก็จะถูกชะล้าง ข้าว ต้นไม้ พืชทั้งหลายก็ไม่ได้ใช้ประโยชน์เกษตรกรก็เกิดความเสียหาย สิ้นเปลือง หรือแม้กระทั่งภัยแล้ง ฝนทิ้งช่วง เกษตรกรจะได้จัดเตรียมสำรองน้ำไว้ใช้ได้อย่างเพียงพอ […]

อบรมการใช้ข้อมูลเพื่อติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ ภาคใต้

วันที่ 18 สิงหาคม 2560 สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ร่วมกับ สสนก. เข้าติดตั้งระบบศูนย์บริหารจัดการน้ำระดับจังหวัด และอบรมการใช้ข้อมูลเพื่อติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ ณ ห้องประชุมสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดตรัง จังหวัดตรัง โดยผู้เข้าร่วมอบรมประกอบด้วยผู้แทนจากสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดภาคใต้ 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดตรัง ปัตตานี ยะลาและชุมพร ผู้แทนจากศูนย์บริหารจัดการน้ำจังหวัดแพร่ ผู้แทนเครือข่ายลุ่มน้ำปัตตานี และผู้แทนจากเครือข่ายในพื้นที่ ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการบริหารจัดการน้ำกับผู้เข้าร่วมอบรมในครั้งนี้ด้วย

กระทรวงวิทย์ ฯ ร่วมมือสภาเกษตรกรพาเกษตรกรสู่ 4.0 จังหวัดลำปาง

เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2560 ดร.อรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ลงพื้นที่เพื่อติดตามผลงานความร่วมมือระหว่างสภาเกษตรกรแห่งชาติ กับ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ในการนำงานวิจัยและนวัตกรรมไปพัฒนาเพิ่มมูลค่าผลผลิตไผ่ และไข่ นมแพะ และอื่นๆของเกษตรกรภาคเหนือ ณ ไร่เพชรล้านนา ต.แม่สุก อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง โดยมีนายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติให้การต้อนรับและนำเยี่ยมชมสินค้าเกษตรที่ใช้งานวิจัยและนวัตกรรมมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ ภาพ : วัชร มีแสงเงิน เนื้อหาข่าว : วัฒนรินทร์ สุขีวัย

1 82 83 84 85 86 88