สภาเกษตรกรแห่งชาติ MOU ร่วมสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตร 4 ภาค นำการเกษตรสู่รั้วอาชีวะ

ในการประชุมสภาเกษตรกรแห่งชาติ ครั้งที่ 5/2560 (18 ก.ย.60)  ณ ห้องประชุมพึ่งบุญ อาคารสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ เป็นพยานในการลงนามความร่วมมือระหว่างสภาเกษตรกรแห่งชาติและสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตร 4 ภาค โดยมีว่าที่ร้อยตรีสมพูนทรัพย์ กล้าวิกรณ์ เลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ ลงนามกับ ผู้แทนสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตร นายพรณรงค์ วรศิลป์ ผู้อำนวยการสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ    นายประจักษ์ ทาสี ผู้อำนวยการสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคเหนือ นายคัมภีร์ สายะสนธิ ผู้อำนวยการสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคกลาง นายวิศวะ คงแก้ว ผู้อำนวยการสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคใต้ ภายหลังการลงนาม นายประพัฒน์ได้กล่าวว่า จากสภาพการณ์ของประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ระบุว่าปี 2564 ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์  คือการมีประชากรสูงอายุ 20% ของประชากรทั้งหมด ส่วนตั้งแต่ปี 2579 ประชากรไทยจะมีน้อยกว่าปัจจุบันและจะมีสัดส่วนประชากรสูงอายุ 30% เป็นสังคมผู้สูงอายุระดับสูงสุด  ซึ่งจะเกิดการสร้างภาระพึ่งพิงต่อวัยแรงงานและภาครัฐ ที่ต้องจัดสวัสดิการให้มากขึ้น ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศ และขยายตัวทางเศรษฐกิจ   ในภาคการเกษตรจากผลการศึกษาของสำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ เรื่อง “ปัญหาและความต้องการของเกษตรกร “ […]

มติเห็นด้วยดันกฎหมายดูแลโคเนื้อเป็น พระราชบัญญัติ

นายวิทยา ประจันตะเสน ที่ปรึกษาคณะกรรมการด้านปศุสัตว์ สภาเกษตรกรแห่งชาติ ได้กล่าวว่า จากที่สภาเกษตรกรแห่งชาติมีมติเห็นชอบ ร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมกิจการโคเนื้อแห่งประเทศไทย พ.ศ….. แล้วมอบให้คณะกรรมการด้านปศุสัตว์นำไปจัดเวทีรับฟังความเห็นนั้น คณะกรรมการด้านปศุสัตว์จึงได้จัดโครงการประชุมสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็น และเพื่อชี้แจง สร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต่อ “ ร่างพ.ร.บ.ส่งเสริมกิจการโคเนื้อแห่งประเทศไทย พ.ศ…. ” ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2560 ณ โรงแรมมารวย การ์เด้น โดยการจัดประชุมสัมมนาดังกล่าวมีผู้เข้าร่วมงานหลายกลุ่มอาชีพ รวมทั้งจากสมาคมโคเนื้อแห่งประเทศไทย องค์กรส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย เป็นต้น  ความคิดเห็นจะมี 2 ลักษณะ คือ ความจำเป็นที่จะร่างกฎหมายเป็นระดับพระราชบัญญัติ กับถ้าต้องการให้ออกเป็นกฏหมายได้เร็วควรเป็นพระราชกฤษฎีกาได้หรือไม่  ซึ่งหากมองว่าจัดตั้งหน่วยงานหรือองค์กรขึ้นมาดูแลโคเนื้อและทำลักษณะโคนมออกมาเป็นพระราชกฤษฎีกาความเป็นไปได้จะง่ายกว่า  ในส่วนของเนื้อหาสาระมีการแสดงความคิดเห็นในมุมกว้างๆ อาทิเช่น ขอบเขตของกฏหมายที่อยากให้ครอบคลุมตั้งแต่ต้นน้ำ คือการเลี้ยง ขยายพันธุ์ ดูแลพันธุ์ รวบรวมพันธุ์ การตลาด การแปรรูป  ด้านการนำเข้าโคเพื่อการบริโภคจากต่างประเทศควรเป็นระดับตลาดทั่วไป กับให้รวมถึงโคนม แพะ แกะ และกระบือ ซึ่งเสียงส่วนใหญ่เห็นด้วยว่าควรครอบคลุมถึงการปศุสัตว์ การพัฒนาโคเนื้อให้สมบูรณ์ควรมีเครื่องมือในการพัฒนา เช่น คณะกรรมการวางยุทธศาสตร์ หรือหน่วยงานที่ดูแล […]

สภาเกษตรกรแห่งชาติขับเคลื่อนแผนแม่บทร่วม ศอ.บต.

นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวว่า การขับเคลื่อนแผนแม่บทเพื่อพัฒนาเกษตรกรรม พ.ศ.2560-2564 ถึงแม้จะผ่านมาช่วงระยะเวลาไม่นานนักแต่สภาเกษตรกรแห่งชาติได้นำแผนดังกล่าวมาขับเคลื่อนแล้ว ในหลายจังหวัดผู้ว่าราชการกับในส่วนของภาคประชาชนที่มีความพร้อมสภาเกษตรกรฯก็จะลงไปทำงานในพื้นที่นั้นๆ โดยกลุ่มจังหวัดที่มีความชัดเจนมากในการนำแผนแม่บทไปขับเคลื่อนร่วมกับประชาชนและทำแผนแก้ปัญหาให้กับเกษตรกรในพื้นที่ของตนเองคือ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศอ.บต.) โดยได้มีโอกาสพบกับผู้บริหารและได้หารือร่วมกันถึงการทำแผนพัฒนาเกษตรกรรมในระดับตำบล หมู่บ้านในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งแนวทางปฏิบัติงานร่วมกัน คือ ศอ.บต.เป็นหน่วยงานสนับสนุนงบประมาณตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย   สภาเกษตรกรฯจัดเรื่องคน , กระบวนการทำแผน ซึ่ง ศอ.บต.เห็นด้วย โดยจะเริ่มเชิญสมาชิกและที่ปรึกษาสภาเกษตรกรแห่งชาติใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และสงขลา 4 อำเภอ มาจัดประชุมเชิงปฏิบัติการที่ จ.ยะลา ภายในเดือนกันยายนนี้ เพื่อที่จะซักซ้อมความเข้าใจและวิธีทำงานร่วมกันก่อนที่จะกระจายไปทำงานในพื้นที่  ทั้งนี้ การขับเคลื่อนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้จะสามารถสร้างกระบวนการเพื่อหาวิธีแก้ปัญหาของตัวเองและในการวางแนวทางการพัฒนาอาชีพการเกษตรของตัวเองในทุกตำบล หมู่บ้าน โดยทุกคนต้องหาจุดยืน ผลิตผล ผลิตภัณฑ์ของตัวเองโดย ศอ.บต.จะเป็นพี่เลี้ยงในการสนับสนุน  ซึ่งเป็นความชัดเจนว่าการขับเคลื่อนแผนแม่บทฯหากว่าส่วนราชการเห็นความสำคัญของเกษตรกรฐานรากและนำไปขับเคลื่อนในพื้นที่ จะเป็นประโยชน์ต่อการเกษตรได้อย่างครบวงจรและสร้างความยั่งยืนในระยะยาว  เกษตรกรเองช่วยเหลือซึ่งกันและกันถ่ายทอดความรู้ให้กลุ่มและต่างกลุ่ม “ใครเร็วกว่าก็เดินนำไปก่อน แล้วก็จูงมือคนที่รู้น้อยกว่า เดินช้ากว่าเดินตามกันไป เราไม่ทิ้งใครให้อยู่ข้างหลังมาก พยายามเดินไปด้วยกัน เป็นกลยุทธสำคัญในการขับเคลื่อนความมั่นคง ยั่งยืนด้านการเกษตรตามทิศทางของแผนแม่บทเพื่อพัฒนาเกษตรกรรม” นายประพัฒน์ กล่าว ………………………………………………………………. ข่าว […]

เวทีสัมมนา แนวทางการบริหารจัดการข้าวและชาวนาอย่างยั่งยืน ภาคกลาง

นายป​ระพัฒน์​ ปัญญา​ชาติ​รักษ์​ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ เป็นประธานกล่าวเปิดเวทีสัมมนา แนวทางการบริหารจัดการข้าวและชาวนาอย่างยั่งยืน ในวันที่ 4 กันยายน 2560 ณ ห้องประชุมศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีสภาเกษตรจังหวัด องค์กรหน่วยงานราชการ และเครือข่าย​เกษตรกร​ จังหวัดต่าง ๆ ในภาคกลางเข้าร่วม ภาพ : โสวัจ อาทรเมทนี ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการประชุมสัมมนา  คลิ๊ก

2 หน่วยงานหารือร่วมสร้าง “อุตสาหกรรมชุมชน”

นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติพร้อมคณะผู้บริหารเข้าพบนายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมพร้อมคณะผู้บริหาร เพื่อหารือความร่วมมือในการขับเคลื่อนแผนแม่บทเพื่อพัฒนาเกษตรกรรมสู่การปฏิบัติ ณ ห้องประชุมชุณหะวัณ ชั้น 3 กระทรวงอุตสาหกรรม เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2560 โดยภายหลังการเข้าหารือ นายประพัฒน์ได้กล่าวว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบ “แผนแม่บทเพื่อพัฒนาเกษตรกรรม พ.ศ.2560-2564” ที่สภาเกษตรกรแห่งชาติเสนอ และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปบูรณาการกับแผนงานของแต่ละหน่วยงาน ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการร่วมขับเคลื่อนแผนแม่บท สภาเกษตรกรฯ ในฐานะเป็นองค์กรตัวแทนของเกษตรกรสาขาอาชีพต่าง ๆ จึงได้ขอเข้าพบรัฐมนตรีว่าการและคณะผู้บริหารของกระทรวงอุตสาหกรรมเพื่อร่วมพิจารณาหารือกำหนดแนวทางบูรณาการความร่วมมือในการขับเคลื่อนแผนแม่บทเพื่อพัฒนาเกษตรกรรม พ.ศ.2560-2564 สู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งแนวทางการดำเนินงานที่สภาเกษตรกรฯ ได้นำเสนอกับกระทรวงอุตสาหกรรม คือ การพัฒนาให้เกษตรกรพึ่งตนเองได้ โดยปรับเปลี่ยนจากผู้ผลิตขายวัตถุดิบให้เป็นผู้ประกอบการหรือที่เรียกว่าเกษตรอุตสาหกรรม ที่สามารถเชื่อมโยงจากการผลิตสู่การแปรรูปอย่างสอดคล้องกับความต้องการของตลาด ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมได้ตอบรับและกำหนดแนวทางปฏิบัติงานอย่างเป็นรูปธรรมด้วยการจัดตั้งคณะทำงานร่วมกัน คณะทำงานนี้จะมีผู้แทนสภาเกษตรกรทำหน้าที่ชี้เป้าหมายเกษตรกรหรือองค์กรเกษตรกรที่มีความพร้อม แล้วให้กระทรวงอุตสาหกรรมบูรณาการหน่วยงานนำความรู้  , เงินทุน เทคโนโลยี ลงไปส่งเสริมสนับสนุน และทั้งสองหน่วยงานเห็นตรงกันว่าให้เป็น “อุตสาหกรรมชุมชน” โดยจะเริ่มต้นดำเนินการเฉพาะจุดที่มีความพร้อม ไม่ทำงานแบบวงกว้าง  ทั้งนี้ เมื่อชี้เป้าหมายถูกต้องระบบการพัฒนาตรงตามความต้องการเป็นลักษณะ “ยิงถูกเป้าเกาถูกที่”  จึงเป็นที่หวังได้ว่าย่อมเกิดผลอย่างแท้จริง เมื่อทำได้เศรษฐกิจระดับฐานรากจะขับเคลื่อนทำให้ประเทศเกิดการพัฒนาอย่างมั่นคง ยั่งยืน สำหรับข้อจำกัดที่เป็นกฎระเบียบของกระทรวงอุตสาหกรรมอันทำให้เกษตรกรหรือองค์กรเกษตรกรไม่สามารถดำเนินการตามนี้ได้นั้น รัฐมนตรีได้แจ้งในการหารือว่าให้แต่ละหน่วยงานไปรวบรวมเพื่อขอแก้ไขทั้งระบบ ……………………………………………………………………….. […]

สภาเกษตรกรแห่งชาติเข้าหารือรมต.กระทรวงอุตสาหกรรม

วันนี้ (31 สิงหาคม 2560) นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ พร้อมคณะผู้บริหารเข้าพบ นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมพร้อมคณะผู้บริหาร เพื่อหารือความร่วมมือในการขับเคลื่อนแผนแม่บทเพื่อพัฒนาเกษตรกรรมสู่การปฏิบัติ ณ ห้องประชุมชุณหะวัณ ชั้น 3 กระทรวงอุตสาหกรรม

1 81 82 83 84 85 88