Author: Thanyalaksaporn Tieoyong
สภาเกษตรกรฯหนุนขยายระบบ Thai PGS สร้างอิสระความรับผิดชอบร่วมกันมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ไทย
นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวว่า สภาเกษตรกรได้มีการจัดเวทีแนวทางการจัดทำระบบรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมของไทย (Thai PGS) เพื่อทำความเข้าใจสร้างกลไก กระบวนการในการขับเคลื่อนการรับรองเกษตรอินทรีย์ซึ่งเป็นระบบที่เกษตรกรรวมกันเป็นเครือข่าย ติดตามตรวจสอบซึ่งกันและกันเอง โดยสภาเกษตรกรฯเป็นองค์กรกลางทำหน้าที่ในการสร้างความร่วมมือของทุกภาคส่วนกำกับให้ข้อมูล ความรู้ทางวิชาการ ระบบนี้จะทำให้เกษตรกรทั้งองค์กรยกระดับการผลิตตัวเองขึ้นมา และมีการช่วยกันดูแล สอดส่องสมาชิกในองค์กรของตนเอง ทำการผลิตการเกษตรให้อยู่ในมาตรฐานที่ตรงกัน หากเกษตรกรรายใดไม่ทำตามมาตรฐานที่ตกลงกันไว้ก็จะถูกตำหนิหรือแม้กระทั่งถูกไล่ออกจากกลุ่มได้ โดยคาดหวังว่าระบบเกษตรอินทรีย์ Thai PGS นี้จะสามารถเป็นระบบหลักอีกหนึ่งระบบในประเทศควบคู่กับระบบเกษตรอินทรีย์ของราชการและมกอช. ด้านนายธีระ วงษ์เจริญ ประธานคณะกรรมการด้านเกษตรตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สภาเกษตรกรแห่งชาติ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ระบบ PGS เป็นการรับรองโดยชุมชนทำหน้าที่รับรองกันเอง กำหนดกฎ กติกาของตัวเองไม่ให้ต่ำกว่ามาตรฐานอื่นที่มีอยู่ทั้ง IFOAM หรือ USDA ซึ่งระบบ PGS มีการเชื่อมโยงในผลผลิตการเกษตร ตรวจสอบกันทุกวัน ด้วยชุมชนเป็นสังคมระบบเครือญาติ สังคมระบบอุปถัมภ์จะเห็นกันหมด ใครใช้สารเคมีมาตรการทางสังคมจะเข้ามาตรวจสอบ เพราะฉะนั้นความผิดพลาดจะมีเปอร์เซ็นต์น้อยมาก แล้วเชื่อว่า PGS จะเป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะสร้างความเข้มแข็งให้นักเกษตรอินทรีย์ได้ ซึ่งสภาเกษตรกรแห่งชาติให้ความสำคัญเรื่องนี้อย่างมากและมอบหมายให้คณะกรรมการเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ ซึ่งคณะกรรมการฯได้จัดการประชุมมาแล้ว 4 ครั้ง เพื่อที่จะสร้างการรับรองใหม่ขึ้นมาคือ Thai PGS ให้เป็นมาตรฐานของไทย การเชื่อมโยงในธุรกิจของ PGS […]
การประชุมเพื่อกำหนดวิธีการดำเนินโครงการ InnoAgri ครั้งที่ 5/2560
การประชุมเพื่อกำหนดวิธีการดำเนินโครงการ InnoAgri ครั้งที่ 5/2560 เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2560 ได้มีการประชุมพิจารณาเรื่องข้อเสนอโครงการ InnoAgri ปี 2561 – 2563 และแผนการปฏิบัติงานโครงการปี 2561 ณ ห้องประชุม 201 ชั้น 2 อาคารวชิรานุสรณ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
การประชุมคณะกรรมการพืชไร่ ครั้งที่ 6/2560
การประชุมคณะกรรมการพืชไร่ ครั้งที่ 6/2560 เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2560 ได้มีการประชุมพิจารณาเรื่องข้อเสนอเชิงนโยบายสร้างเสถียรภาพของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยสภาเกษตรกรจังหวัดพิษณุโลก ,ข้อเสนอเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ตกต่ำ โดยสภาเกษตรกรจังหวัดพะเยา ,ข้อเสนอเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยสภาเกษตรกรจังหวัดเพชรบูรณ์ ,แนวทางการแก้ไขปัญหาราคาสับปะรดตกต่ำ โดยสภาเกษตรกรจังหวัดระยอง ,ข้อเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาราคาผลผลิตสับปะรดตกต่ำ โดยสภาเกษตรกรจังหวัดชลบุรี และการกำหนดแผนงานการประชุมของคณะกรรมการด้านพืชไร่ ปีงบประมาณ 2561 ณ ห้องประชุม 1 สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ อาคารวชิรานุสรณ์ ชั้น 6 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
การประชุมคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน ครั้งที่ 3/2560
การประชุมคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน ครั้งที่ 3/2560 เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2560 ได้มีวาระประชุมเรื่องการประเมินผลการควบคุมภายในภาพรวมของสำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติปี 2559 ตามด้วยวาระประชุมเพื่อพิจารณาเรื่องผลการควบคุมภาพในภาพรวมของสำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติปี 2560 และแนวทางการจัดทำรายงานการควบคุมภายใน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ของหน่วยงานภายในสังกัดสำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ และสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัด ณ ห้องประชุม 1 สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ อาคารวชิรานุสรณ์ ชั้น 6 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
สภาเกษตรกรฯมองภาครัฐไม่บูรณาการงานกัน ระบบจัดการปาล์มน้ำมันจึงยังไม่พร้อมใช้
นายพันศักดิ์ จิตรรัตน์ ประธานคณะกรรมการด้านปาล์มน้ำมันและพืชพลังงาน สภาเกษตรกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า จากผลวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.)สินค้าที่ราคาปรับตัวลดลงประจำเดือนตุลาคม 2560 พบว่า ลดลงร้อยละ 2.42 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา หนึ่งในนั้นรวมถึงปาล์มน้ำมัน โดยลดลงเนื่องจากภาวะการค้ายังชะลอตัวและสต็อกน้ำมันอยู่ในเกณฑ์สูง ขณะที่ดัชนีผลผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้น สำหรับสถานการณ์ของปาล์มน้ำมันนั้นส่วนตัวมองว่าระบบการจัดการยังไม่พร้อม ด้วยหน่วยงานของรัฐที่ทำหน้าที่ต่างๆ ยังไม่บูรณาการงานเข้าด้วยกันเช่น ฐานข้อมูลพื้นที่ , ผลผลิต , ผลผลิตน้ำมันปาล์มดิบ (Crude Palm Oil : CPO) หากไม่รู้ข้อมูล ณ ปัจจุบันที่ชัดเจนแน่นอน พอจะนำไปใช้การจัดการจะเป็นปัญหา เรื่องต่างๆที่เกี่ยวข้องก็จะไม่ถูกต้องและไม่เป็นระบบ เช่น การนำน้ำมันปาล์มไปใช้ในส่วนพลังงานสำหรับการผลิตน้ำมันดีเซล B5 หรือ B7 อย่างไรให้เหมาะสมกับสต็อค CPO เป็นต้น ในส่วนการปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม พ.ศ….. เพื่อนำเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาตินั้น ประเด็นที่ทางสภาเกษตรกรแห่งชาติจะนำเสนอที่สำคัญสุดคือ มาตรา 14 ในส่วนของอำนาจหน้าที่ ซึ่งเดิมแล้วสภาเกษตรกรฯได้เขียนไว้ในฉบับร่างพระราชบัญญัติปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม พ.ศ…..ว่าคณะกรรมการปาล์มน้ำมันแห่งชาติมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการ แต่ในร่างพ.ร.บ.ฉบับที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติมีแค่ส่วนของหน้าที่เท่านั้นไม่มีอำนาจในการดำเนินการแต่อย่างใด ส่วนประเด็นอื่นจะนำเสนอในหลักการ ทั้งนี้ สิ่งสำคัญสำหรับเกษตรกรเรื่องการผลิตปาล์มน้ำมันต้องจัดการให้เป็นปาล์มคุณภาพและทำปาล์มที่ถูกหลักเพื่อการเพิ่มผลผลิตและปริมาณน้ำหนัก […]
“ประพัฒน์”เตรียมเสนอยุทธศาสตร์สร้างความมั่นคงและเข้มแข็งของเกษตรกรและภาคชนบทในประชุมยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี 21 พ.ย.นี้
นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า คณะทำงานจัดทำยุทธศาสตร์ด้านการเกษตร สภาเกษตรกรแห่งชาติ ได้จัดการประชุม 3 ครั้ง เพื่อพิจารณากรอบจัดทำยุทธศาสตร์สร้างความมั่นคงและเข้มแข็งของเกษตรกรและภาคชนบท เพื่อเสนอในที่ประชุมยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีในวันอังคารที่ 21 พฤศจิกายน 2560 นี้ ภายใต้วิสัยทัศน์ “ฐานรากของชาติมั่นคง เศรษฐกิจของประชาชนมั่งคั่ง ด้วยการพัฒนาอย่างยั่งยืน” ในหลักการ ลดช่องว่างทางเศรษฐกิจและความเหลื่อมล้ำทางสังคม ด้วยแนวทาง “การเติบโตอย่างมีส่วนร่วม” เป้าหมายของยุทธศาสตร์คือต้องการให้ภาคเกษตรหลุดพ้นจากการพึ่งพารัฐ และเติบโตเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญในการนำพาชาติให้ก้าวข้ามกับดักรายได้ปานกลางของประเทศ โดยมีแนวนโยบายและระบบบริหารจัดการภาครัฐที่เอื้อต่อการบรรลุเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ และมีกระบวนการส่งเสริมแบบใหม่ ที่เน้นการยกระดับเกษตรกรให้เป็นผู้ประกอบการเกษตร ด้วยข้อเสนอยุทธศาสตร์หลัก 5 ข้อคือ 1.ปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจฐานราก 2.การเชื่อมโยงความสามารถของเกษตรกรและการเข้าถึงฐานทรัพยากร 3.การพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ (bio economy) และความหลากหลายทางชีวภาพ 4.การพัฒนาระบบความมั่นคงทางสังคมของชุมชนเกษตรกรรม 5.การปรับเปลี่ยนโครงสร้างเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ ซึ่งวิธีการสำคัญที่กำหนดเป็นแนวทางในยุทธศาสตร์ คือ ระบบการจัดการจากล่างสู่บนตั้งแต่ครัวเรือน ชุมชนท้องถิ่นตามสภาพภูมิสังคมขึ้นมา เพื่อให้เข้าถึงทรัพยากรในการผลิตที่ใช้ฐานความรู้จากนวัตกรรมเทคโนโลยีผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่นนำสู่เกษตรกรเป็นผู้ประกอบการขนาดย่อม และองค์กรเกษตรกรเป็นผู้ประกอบการขนาดกลางด้านอาหาร ที่อยู่อาศัย สุขภาพ พลังงาน ภาครัฐต้องปรับเปลี่ยนบทบาทจากการควบคุมและกำหนด เป็นการกำกับและสนับสนุน สร้างระบบสนับสนุนด้านนโยบาย ข้อมูล ระบบกองทุน […]