Author: Thanyalaksaporn Tieoyong
การอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร : การบันทึกบัญชีออนไลน์ สำหรับบุคลากรสำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติและสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัด รอบที่ 2 รุ่นที่ 2 เรื่องการปิดงบบัญชี และการจัดทำงบการเงิน ระหว่างวันที่ 14 – 15 ธันวาคม 2560 ณ สำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน กรุงเทพฯ
ว่าที่ร้อยตรีสมพูนทรัพย์ กล้าวิกรณ์ เลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ รับมอบที่ดิน ณ สำนักงานที่ดินเขตหนองจอก โดยคุณรัชนี กรองสุวรรณ และคุณจุรี ตาปณานนท์ ยกที่ดินแปลงดังกล่าวนี้ให้สภาเกษตรกรแห่งชาติ จำนวนพื้นที่ 2 ไร่ เพื่อสร้างเป็นสำนักงานสภาเกษตรกรกรุงเทพมหานครต่อไป ภาพ : สำนักงานสภาเกษตรกรกรุงเทพมหานคร
ด้วยคุณประโยชน์ของถั่วคือบำรุงสมองและประสาทตา เสริมสร้างความจำ ลดความดันโลหิตสูงและป้องกันมะเร็ง รสชาติมันถูกปาก ถูกใจ แล้วถ้ายิ่งมีลวดลายก็ยิ่งได้อรรถรสในการลิ้มลอง “ถั่วลายเสือ” ตอบโจทย์นั้นได้ นายเธียรชัย แซ่จู สมาชิกกลุ่มพัฒนาสินค้าเกษตรบ้านหนองผาจ้ำ ต.สบป่อง อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน เปิดเผยว่า “ถั่วลายเสือ” หรือ “ถั่วลิสงพันธุ์กาฬสินธุ์ 2” ในท้องถิ่นปลูกกันมานานเรียกกันหลายชื่อ เช่น ถั่วราชินี ถั่วพระราชทาน ถั่วจัมโบ้ลาย และถั่วลายเสือ ลักษณะเด่นคือ เมื่อแกะฝักถั่วออกเมล็ดของถั่วลายเสือจะมีเยื่อหุ้มเมล็ดคล้ายกับลายหนังเสือโคร่ง มีรูปร่างฝักสวย รูปฝักยาวมีจำนวน 2-4 เมล็ดต่อฝัก ถั่วรุ่นหนุ่มจะมีเมล็ดสีขาวและเริ่มมีลายพอใกล้ช่วงเก็บเกี่ยวลายและสีจะชัดมากขึ้น รสชาติค่อนข้างหวาน กรอบนุ่มกว่าถั่วลิสงทั่วไป ให้ผลผลิตค่อนข้างสูง ระยะเวลาปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว 90-100 วัน ผลผลิตฝักสดเฉลี่ย 580 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตต่อปี 500 – 600 ถัง 1 ถัง นน. 10 กิโลกรัมฝักดิบ ต้นทุนต่อถัง 65 -70 บาท […]
การประชุมคณะกรรมการกิจการสภาฯ ครั้งที่ 7/2560 เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2560 ได้มีการประชุมพิจารณาเรื่องตรวจรับรองร่างรายงานการประชุมสภาเกษตรกรแห่งชาติ ครั้งที่ 6/2560 เมื่อวันที่ 17-18 ตุลาคม 2560 และระเบียบการวาระการประชุมสภาเกษตรกรแห่งชาติ ครั้งที่ 7/2560 ในวันที่ 14-15 ธันวาคม 2560 ณ ห้องประชุม 1 สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ อาคารวชิรานุสรณ์ ชั้น 6 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
การอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร : การบันทึกบัญชีออนไลน์ สำหรับบุคลากรสำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติและสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัด รอบที่ 2 รุ่นที่ 1 เรื่องการปิดงบบัญชี และการจัดทำงบการเงิน ระหว่างวันที่ 7 – 8 ธันวาคม 2560 ณ สำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน กรุงเทพฯ
การประชุมคณะกรรมการด้านประมง ครั้งที่ 6/2560 เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2560 ได้มีการประชุมพิจารณาเรื่องแนวทางการจัดตั้งคลัสเตอร์ปลาป่น ณ ห้องประชุม 2 สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ อาคารวชิรานุสรณ์ ชั้น 6 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
นายเติมศักดิ์ บุญชื่น ประธานคณะกรรมการด้านพืชไร่ สภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวว่า สถานการณ์การผลิตข้าวโพดของประเทศปีนี้ฤดูกาลผลิต 2560/2561 ผลผลิตอยู่ประมาณ 4.5 ล้านตัน จากมาตรการราคาที่รัฐบาลพยายามจะแก้ไขให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพด ทำให้สถานการณ์ข้าวโพดมีการบริหารการจัดการที่ชัดเจนและแน่นอน โดยกระทรวงพาณิชย์ได้ประสานความร่วมมือสภาเกษตรกรฯในเรื่องการหาข้อมูลในพื้นที่และประเด็นรับฟังความคิดเห็นจากปัญหาทั้งหมด และสภาเกษตรกรฯได้รวบรวมประเด็นปัญหาและสรุปให้กับกรรมการนโยบายบริหารข้าวโพดแห่งชาติโดยมีการขอความร่วมมือจตุภาคีและ 3 ประสาน ซึ่งจะแยกประเภทข้าวโพดออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ปลูกในพื้นที่มีเอกสารสิทธิ์ ส่วนที่ 2 ปลูกในพื้นที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ ส่วนที่ 3 การส่งออก สรุปประเด็นได้ว่า ผู้ประกอบการท้องถิ่นต้องขึ้นทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์ และแจ้งสถานที่ ปริมาณผลผลิตที่ครอบครองหรือรับซื้อตั้งแต่ 50 ตันต่อเดือนขึ้นไป เกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่เอกสารสิทธิ์และไม่มีเอกสารสิทธิ์จะต้องขึ้นทะเบียนกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และมีการบริหารการจัดการร่วมกัน โดยกระทรวงพาณิชย์แจ้งราคาให้กับผู้ประกอบการอาหารสัตว์รับซื้อข้าวโพดในราคากิโลกรัมละ 8 บาท ส่งมอบ ณ กรุงเทพฯ ซึ่งจะสร้างความเป็นธรรมให้กับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดในพื้นที่ ราคามีเสถียรภาพและเป็นไปตามกลไกของตลาดตามคุณภาพของข้าวโพดที่เกิดขึ้นภายในท้องถิ่นนั้นๆ โดยทางสภาฯจะรับเรื่องร้องเรียนกรณีผู้ประกอบการรับซื้อข้าวโพดในราคาที่ไม่เป็นธรรมแล้วเสนอไปที่กระทรวงพาณิชย์เพื่อขึ้นทะเบียนแบล็กลิสต์ ซึ่งในภาพรวมจะทำให้สถานการณ์ข้าวโพดและการบริหารจัดการข้าวโพดดีขึ้น ในด้านการแก้ปัญหาราคาข้าวโพดตกต่ำอย่างยั่งยืนด้วยการขึ้นทะเบียนจะทำให้เห็นปริมาณข้าวโพดที่มีอยู่ในประเทศทั้งหมดว่าผลผลิตในประเทศไทยออกช่วงไหน และเกษตรกรต้องปรับตัวผลิตข้าวโพดคุณภาพตามที่ตลาดต้องการอย่างไร ระบบตรงนี้เป็นการซื้อขายโดยการเชื่อมโยงกลุ่มเกษตรกรที่มาขึ้นทะเบียนและรวบรวมผลผลิตส่ง เป็นการบริหารไม่ให้กระจุกตัวทำให้ราคามีเสถียรภาพเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับรัฐบาลส่งเสริมให้กลุ่มผู้รวบรวมผลผลิตสามารถรวบรวมแล้วส่งข้าวโพดที่มีคุณภาพตรงกับความต้องการของโรงงานอุตสาหกรรมเป็นช่วงๆ ทำให้ข้าวโพดไม่ไหลสู่ในระบบมากจนเกินไป ทำให้ราคาข้าวโพดเกิดราคาเสถียรภาพราคาอย่างยั่งยืนในอนาคต “ ตอนนี้สถานการณ์การผลิตข้าวโพดของประเทศไทยโดยเฉพาะในพื้นที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ […]