Author: Thanyalaksaporn Tieoyong
ว่าที่ร้อยตรีสมพูนทรัพย์ กล้าวิกรณ์ เลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ ได้กล่าวว่า อาชีพเกษตรกรทำงานเหนื่อยหนักทั้งชีวิตแต่ไม่มีสวัสดิการอะไรเหมือนกับอาชีพอื่นที่หน่วยงานมีประกันสังคม หรือข้าราชการมีกองทุนบำเหน็จบำนาญดูแล ในฐานะที่สภาเกษตรกรแห่งชาติเป็นตัวแทนเกษตรกรได้แสวงหาวิธีการสร้างความมั่นคง ยั่งยืนให้กับพี่น้องเกษตรกรมาโดยตลอด วันนี้พบว่ากองทุนการออมแห่งชาติที่กระทรวงการคลังดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2558 เป็นวิธีการที่เกษตรกรสามารถใช้เป็นหลักประกันในชีวิตหลังวัย 60 ปีได้ จนกระทั่งได้มีการหารือกันกับกองทุนการออมแห่งชาติและนำสู่การทำบันทึกข้อตกลง(MOU.)กันเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2560 ณ กระทรวงการคลัง จุดมุ่งหมายเพื่อเป็นการสร้างหลักประกันให้กับเกษตรกรซึ่งเป็นประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศให้ได้รับความคุ้มครองยามชราในรูปของเงินบำนาญเป็นการสร้างความเสมอภาคและความเป็นธรรมในการดูแลจากภาครัฐอย่างทั่วถึง เกษตรกรจะรู้จักการออมพร้อมทั้งรัฐบาลจะสมทบให้ตามช่วงวัยเพื่อเป็นหลักประกันทางการเงินในยามวัยเกษียณเช่นเดียวกับระบบบำนาญข้าราชการ หรือพนักงานในระบบที่มีนายจ้างดูแล ช่วยลดความเหลื่อมล้ำของประชาชนในประเทศให้ได้รับสวัสดิการด้านบำนาญจากรัฐอย่างทั่วถึง “ ปัญหาขณะนี้คือเกษตรกรยังไม่เข้าใจเรื่องกองทุนการออมแห่งชาติ สภาเกษตรกรฯจึงต้องทำหน้าที่ทำความเข้าใจกับเกษตรกรว่ามีประโยชน์อย่างไร หลังจากออมเงินแล้วจะช่วยเหลือ ดูแลพี่น้องเกษตรกรได้อย่างไรในบั้นปลายชีวิต ” ว่าที่ร้อยตรีสมพูนทรัพย์ กล่าวต่อไปว่า สภาเกษตรกรฯมีสมาชิกเครือข่ายทั่วประเทศตั้งแต่หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด โดยจะใช้เครือข่ายดังกล่าวในการสร้างความเข้าใจในสิทธิประโยชน์ต่างๆของตัวเกษตรกรเองรวมทั้งเป็นบำนาญส่งต่อไปยังลูกหลาน พร้อมทั้งผลักดันให้เกษตรกรเข้าร่วมเป็นสมาชิกกองทุนฯให้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม สถานะกองทุนฯ ณ วันที่ 15 ธันวาคม 2560 มีสมาชิกรวม 529,663 คน ซึ่งในปี 2561 กระทรวงการคลังได้ตั้งเป้าหมายเพิ่มจำนวนสมาชิก กอช. ไว้ที่ 1.2 ล้านคน ……………………………………………………………………………………… […]
การอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร : การบันทึกบัญชีออนไลน์ สำหรับบุคลากรสำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติและสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัด รอบที่ 2 รุ่นที่ 4 เรื่องการปิดงบบัญชี และการจัดทำงบการเงิน ระหว่างวันที่ 27 – 28 ธันวาคม 2560 ณ สำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน กรุงเทพฯ
นายเสน่ห์ วิชัยวงษ์ รองเลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ ได้กล่าวถึงการขับเคลื่อน การปฏิรูปภาคการเกษตรด้วยเกษตรอุตสาหกรรมของสภาเกษตรกรแห่งชาติ ว่า ตัวอย่างความสำเร็จในการนำเกษตรอุตสาหกรรมนำสู่เกษตรกรคือ “กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกรับใหญ่” ต.กรับใหญ่ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี จากแต่เดิมเกษตรกรปลูกอ้อยส่งโรงงาน โดยแต่ละครอบครัวจะมีพื้นที่ปลูก 20 – 30 ไร่ ต่อมาครอบครัวขยาย ทำให้พื้นที่ปลูกอ้อยแต่ละครอบครัวจะลดลงเหลือ 5 – 10 ไร่ อีกทั้งความไม่แน่นอนเรื่องราคา, พื้นที่ปลูกน้อย , ผลผลิตที่ได้น้อย ทำให้มีความยากลำบากในการประกอบอาชีพ เมื่อสภาเกษตรกรฯมีนโยบายเกษตรอุตสาหกรรมมุ่งให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนจากการขายวัตถุดิบ ให้นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ ในปี 2558 นายวิชิต พันธ์เพียร ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดราชบุรีจึงได้เกิดแนวคิดการทำน้ำอ้อย โดยรวมกลุ่มเกษตรกร เริ่มจากสมาชิก 40 คน วางแผนการผลิตโดยแบ่งพื้นที่ปลูกอ้อยส่งโรงงาน มาปลูกอ้อยพันธุ์สุพรรณบุรี 50 ด้วย และสามารถตัดได้ทั้งปี หลังปลูกได้ผลผลิตก็แปรรูปเป็น 2 ผลิตภัณฑ์คือลำอ้อยปอกเปลือกขายให้พ่อค้าที่คั้นน้ำอ้อยขาย และนำมาคั้นเป็นน้ำอ้อยขายให้บริษัทไร่ไม่จนจำกัดไปทำน้ำอ้อยพาสเจอร์ไรส์ ผลปรากฏว่าเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการขายอ้อยให้โรงงาน 900 บาท/ตัน เป็น 1,500 บาท/ตัน อ้อย […]
การอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร : การบันทึกบัญชีออนไลน์ สำหรับบุคลากรสำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติและสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัด รอบที่ 2 รุ่นที่ 3 เรื่องการปิดงบบัญชี และการจัดทำงบการเงิน ระหว่างวันที่ 21 – 22 ธันวาคม 2560 ณ สำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน กรุงเทพฯ
นายเติมศักดิ์ บุญชื่น ประธานคณะกรรมการด้านพืชไร่ สภาเกษตรกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า จากกรณีปัญหาราคาสับปะรดตกต่ำมาตั้งแต่ปี 2559 คณะกรรมการด้านพืชไร่ สภาเกษตรกรแห่งชาติ ได้พิจารณาข้อเสนอและแนวทางการแก้ไขปัญหาราคาสับปะรดตกต่ำ อย่างเป็นรูปธรรม และเป็นธรรม กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมสับปะรด โดยพิจารณาแนวทางดังต่อไปนี้ ด้านการผลิต 1.ขอให้กรมส่งเสริมการเกษตรขึ้นทะเบียนผู้ปลูกสับปะรดต้องระบุชัดเจน ดังนี้ ระบุประเภทของสับปะรดว่าเป็นการปลูกเพื่อส่งเข้าโรงงานแปรรูป หรือเพื่อการบริโภคผลสด , ระบุสายพันธุ์ของสับปะรด และระบุจำนวนพื้นที่ที่ปลูกสับปะรดสายพันธุ์นั้นให้ชัดเจน , ระบุปริมาณการเก็บเกี่ยว โดยแยกตามรอบการตัดสับปะรด เนื่องจากต้นทุนผลิตในแต่ละรอบการตัดไม่เท่ากัน , และระบุสิทธิประโยชน์ที่เกษตรกรจะได้รับเมื่อมาขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2.ทบทวนประมาณการต้นทุนผลิตสับปะรดของเกษตรกรให้สอดคล้องกับความเป็นจริง เนื่องจากเกษตรกรปลูกสับปะรด 1 ครั้ง สามารถตัดผลผลิตได้หลายครั้ง ทำให้ต้นทุนผลิตในแต่ละครั้งที่ตัดผลผลิตไม่เท่ากัน 3.เกษตรกรขาดแคลนสายพันธุ์สับปะรดที่ดีเป็นเวลานาน จึงควรเร่งวิจัยพัฒนาสายพันธุ์สับปะรดที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าให้แก่เกษตรกรหรือร่วมพัฒนาสายพันธุ์คุณภาพกับภาคเอกชน เพื่อให้ได้ผลผลิตสับปะรดที่ดี ปริมาณเพียงพอกับความต้องการ และมีคุณภาพสูง ด้านการตลาด 1. กรณีผลสับปะรดออกสู่ตลาดมากเกินความต้องการของโรงงานอุตสาหกรรมควรปรับเปลี่ยนรูปแบบของการบริโภคให้เกิดประโยชน์อื่นๆ เช่น การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เวชสำอางค์ ยารักษาโรค เครื่องปรุงต่างๆ ปุ๋ยอินทรีย์ อาหารสัตว์ หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ตามความคิดสร้างสรรค์อันจะสามารถก่อประโยชน์อย่างแท้จริง โดยจัดให้มีเวทีประกวดนวัตกรรม 2.กำหนดราคาสับประรดให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพของผลผลิตสับปะรดที่เป็นธรรม ทั้งภาคเกษตรกรและภาคอุตสาหกรรมการแปรูป โดยราคารับซื้อผลผลิตไม่ควรต่ำกว่าต้นทุนการผลิตบวกค่าจัดการของเกษตรกร […]
การประชุมหารือแนวทางการขับเคลื่อนความร่วมมือในการบรูณาการ่วมกัน ระหว่างผู้แทนสำนักงานกิจการยุติธรรม สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด และสำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ เมื่อวันที่19 ธันวาคม 2560 ณ ห้องประชุม 1 สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ อาคารวชิรานุสรณ์ ชั้น 6 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน