Author: Thanyalaksaporn Tieoyong
นายสิทธิพร จริยพงศ์ รองประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า สภาเกษตรกรแห่งชาติได้มีมติในการประชุม ครั้งที่ 7/2560 เมื่อวันที่ 14-15 ธันวาคม 2560 ให้แต่งตั้งคณะทำงานศึกษาผลกระทบต่อเกษตรกรจากการออกพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน(ฉบับที่ 629) พ.ศ. 2560 ซึ่งคณะทำงานฯได้ดำเนินการจัดประชุม ครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2561 เพื่อพิจารณาผลกระทบต่อเกษตรกรจากการออกกฎหมายดังกล่าว โดยได้เชิญผู้แทนกรมสรรพากร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้ข้อมูลและร่วมกันพิจารณา ซึ่งในที่ประชุมเห็นว่า พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน(ฉบับที่ 629) พ.ศ. 2560 มาตรา 8 กำหนดให้หักค่าใช้จ่ายโดยเหมาร้อยละ 60 เว้นแต่ผู้มีเงินได้จะแสดงหลักฐานต่อเจ้าพนักงานประเมินและพิสูจน์ได้ว่ามีค่าใช้จ่ายมากกว่านั้นก็ยอมให้หักค่าใช้จ่ายได้ตามความจำเป็นและสมควร แต่ภาคเกษตรกรรมมีข้อจำกัดในการแสดงหลักฐานต่อเจ้าพนักงานประเมินและพิสูจน์ได้ว่ามีค่าใช้จ่ายมากกว่านั้น ประกอบกับจากข้อเท็จจริงจากข้อมูลเศรษฐกิจสังคมครัวเรือนเกษตร ปี 2555–2559 ของศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ระบุว่าเกษตรกรมีค่าใช้จ่ายจริงต่อรายได้เฉลี่ย 5 ปี คิดเป็นร้อยละ 82.56 ซึ่งใกล้เคียงกับค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมินตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน(ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502 ที่กำหนดให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ […]
ระหว่างวันที่ 26 – 28 มกราคม 2561 สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ได้มอบหมายให้สำนักส่งเสริมการมีส่วนร่วมและขับเคลื่อนแผนพัฒนาการเกษตรเข้าอบรมเพื่อเป็นสายสืบผักสดร่วมกับหน่วยงานอื่น โดยจะลงสุ่มตรวจแปลงเกษตรกรและตลาดในจังหวัดนครปฐม จังหวัดราชบุรี และจังหวัดเพชรบุรี
เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2561 ว่าที่ร้อยตรีสมพูนทรัพย์ กล้าวิกรณ์ เลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ ได้เดินทางไปเปิดงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการโครงการ SMEs เกษตร ณ โรงแรมสาเกต จังหวัดร้อยเอ็ด ของสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดร้อยเอ็ด
นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ เผยว่า นับเป็นข่าวดีสำหรับพี่น้องเกษตรกรไทยทั้งประเทศ จากการได้พูดคุยหารือกันถึง 2 ครั้งกับพลเอกสุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในเรื่องของการส่งเสริมการปลูกไม้เศรษฐกิจ รัฐมนตรียืนยันว่ากำลังแก้กฎหมายในมาตรา 7 ของพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 เพื่อจะให้เกษตรกรสามารถปลูกไม้ได้ทุกชนิดบนพื้นที่กรรมสิทธิ์ของตนเอง ทั้งโฉนด น.ส.3 , ส.ป.ก. , น.ค. และอื่นๆ ซึ่งจะทำให้พื้นที่เหล่านั้นได้ใช้ประโยชน์ได้หลากหลายมากกว่าพืชเกษตร 3 – 4 ชนิด เช่น ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง อ้อย ทั้งหมดมีราคาถูก ทำเท่าไหร่ก็มีแต่หนี้ ไม้ที่ปลูกในพื้นที่กรรมสิทธิ์ของเกษตรกรทั้งหมดสามารถจะใช้ประโยชน์ได้อย่างเสรี พืชผล,ต้นไม้บนที่ทำกินของเกษตรกรต้องเป็นของเกษตรกร กฎหมายต้องละเว้นให้สามารถ ตัด ฟัน แปรรูป ทำการค้า ขายได้ โดยเจ้าหน้าที่ป่าไม้จะเข้ามาดูแลอำนวยความสะดวกให้ ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยมีป่าไม้เพิ่มขึ้นจำนวนมากมาย สามารถสร้างเศรษฐกิจให้ไทยโดยรวมได้มหาศาล เกษตรกรสามารถทำการผลิตในพื้นที่ของตนเองได้มั่นคงมากยิ่งขึ้น โดยในขณะนี้กำลังมีการรับฟังความคิดเห็นในการแก้ไขกฎหมายดังกล่าว สำหรับการส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาปลูกไม้ยืนต้นโดยรัฐบาลจัดโครงสร้างสินเชื่อระยะยาวให้ เชื่อมั่นได้ว่าจะทำให้เกษตรกรหันมาปลูกไม้ยืนต้นมากขึ้น ยังมีไม้อีกหลายชนิดให้ปลูกที่น่าสนใจ เช่น ภาคอีสาน ไม้พยุง ภาคใต้ […]
เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2561 เวลา 13.00 น. สำนักงาน ปปส. นำโดย ม.ล.พรวิศิษฎ์ วรวรรณ ผู้อำนวยการส่วนพัฒนาและประสานการป้องกัน 1 (สังคม) สำนักพัฒนาการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด และเจ้าหน้าที่สำนักงาน ปปส. เข้าเยี่ยมคารวะสวัสดีปีใหม่ ว่าที่ร้อยตรีสมพูนทรัพย์ กล้าวิกรณ์ เลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ ณ ห้องประชุม 1 สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ