Author: Thanyalaksaporn Tieoyong
สภาเกษตรกรแห่งชาติบูรณาการร่วมกระทรวงอุตสาหกรรม/ ธนาคาร SME.ชี้เกษตรกร ต้องผลิต แปรรูป การตลาด ให้ครบวงจร
สภาเกษตรกรแห่งชาติได้ร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรมและธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย(SME Development Bank)จัดสัมมนาเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2561 ณ โรงแรมบรรจงบุรี เรื่อง “มาตรการสนับสนุนด้านสินเชื่อแก่กลุ่มเกษตรและเกษตรแปรรูป SME เกษตร” ภายใต้โครงการ “ปั้นนักธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป(SMEเกษตร)ตามแนวประชารัฐ” โดยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมนายสมชาย หาญหิรัญ ได้พบปะกลุ่มเกษตรแปรรูปในโครงการดังกล่าว พร้อมเปิดเผยว่า ประเทศไทยมีผลผลิตทางเกษตรค่อนข้างเยอะมากประเด็นปัญหาก็เยอะตามเช่นกัน ถ้าสามารถจัดการพืชผลทางการเกษตรให้มีมูลค่าที่สูงขึ้นได้เกษตรกรต้องเปลี่ยนวิธีคิด ต้องรอบรู้ว่าการผลิต , แปรรูป , การตลาดทำอย่างไร ความสำเร็จจะเกิดขึ้นได้ไม่ยาก กระทรวงอุตสาหกรรมเองพร้อมเป็นศูนย์กลางประสานงานให้กับเกษตรกรที่พร้อมจะปรับเปลี่ยน นายสิทธิพร จริยพงศ์ รองประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ และประธานสภาเกษตรกรจังหวัดสุราษฎร์ธานี เปิดเผยภายหลังร่วมเปิดโครงการว่า สภาเกษตรกรแห่งชาติทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมประสานเพื่อให้สภาเกษตรกรจังหวัดต่างๆขับเคลื่อนตามแนวทางที่ได้ตกลงกับหน่วยงานนั้นๆกลุ่มเกษตรกรที่ต้องการยกฐานะเป็นผู้ประกอบการต้องเตรียมตัว กลุ่มไหนที่พร้อมกลุ่มนั้นเดินไปก่อนเพื่อเป็นแบบอย่าง กลุ่มไหนที่ยังไม่พร้อมก็เตรียมตัวเพื่อให้เข้าสู่โครงการฯได้ หากเกษตรกรทำการเกษตรแบบครบวงจรคือผลิต,แปรรูปและการตลาดด้วยตนเองก็สามารถที่จะสร้างมูลค่าและความยั่งยืนในการประกอบอาชีพได้ ปัญหาอุปสรรคอันดับแรกคือความพร้อมของเกษตรกร ในอนาคตจะมุ่งผลิตอย่างเดียวไม่ได้ หากติดขัดสภาเกษตรกรแห่งชาติ สภาเกษตรกรจังหวัดจะเป็นพี่เลี้ยงประสานหน่วยงานคอยช่วยเหลือเกษตรกรให้เดินได้ด้วยความมั่นใจและยั่งยืน ด้านนายวรมิตร ครุฑโต รองกรรมการผู้จัดการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย(SME Development Bank) กล่าวปิดท้ายว่า SME BANK สนับสนุนกลุ่มเกษตรกรให้ทำการแปรรูปผลิตผลการเกษตร โดยรัฐบาลได้มอบให้ธนาคารฯจัดวงเงิน “สินเชื่อเศรษฐกิจติดดาว” วงเงินทั้งหมด 5 หมื่นล้านบาทและระบุเลยว่า […]
สภาเกษตรกรแห่งชาติบันทึกความร่วมมือกับมูลนิธิพัฒนาเทคโนโลยีการเกษตรไทย
เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2561 ณ ห้องประชุมสำนักงานงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ว่าที่ร้อยตรีสมพูนทรัพย์ กล้าวิกรณ์ เลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ และนางสาวรัชนีกร แซ่ต้วน ประธานมูลนิธิพัฒนาเทคโนโลยีการเกษตรไทย ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อการพัฒนาความรู้และเทคโนโลยีทางการเกษตรสมัยใหม่ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาด้านการเกษตรในประเทศไทย เสริมสร้างความเข้มแข็งและพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรโดยรวม ภายใต้กรอบความร่วมมือการบูรณาการบุคลากร ข้อมูล เครื่องมือ อุปกรณ์ เพื่อสนับสนุนการดำเนินกิจกรรม ร่วมมือกันในการพัฒนาศักยภาพความพร้อมของบุคลากรทั้ง 2 ฝ่าย เพื่อสามารถดำเนินความร่วมมือตามบันทึกข้อตกลงอย่างมีประสิทธิภาพ และร่วมมือกันดำเนินกิจกรรมและโครงการอื่นที่ทั้งสองฝ่ายเห็นสมควรเกิดประโยชน์แก่เกษตรกร โดยมีนายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ และนายเหอ หยุนหนาน ที่ปรึกษาอาวุโสมูลนิธิพัฒนาเทคโนโลยีการเกษตรไทย ร่วมเป็นสักขีพยาน
สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติจดอนุสิทธิบัตรการเลี้ยงกุ้งอิงธรรมชาติ
ว่าที่ร้อยตรีสมพูนทรัพย์ กล้าวิกรณ์ เลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า เนื่องจากนายเดชา บรรลือเดช ผู้ทรงคุณวุฒิด้านประมง สมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติได้ศึกษา ค้นคว้า ทดลองเรื่องการเลี้ยงกุ้งที่สามารถแก้ไขปัญหาโรคต่างๆในระบบเลี้ยงกุ้ง โดยเฉพาะโรคกุ้งตายด่วน(EMS)ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังได้ผลผลิตกุ้งเพิ่มขึ้น ปลอดภัยจากสารเคมีตกค้าง ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ช่วยให้เกษตรกรรายย่อยประกอบอาชีพเลี้ยงกุ้งได้อย่างยั่งยืน โดยเมื่อวันที่ 13-14 มีนาคม 2559 ในงาน “สานพลังประชารัฐสร้างเศรษฐกิจฐานรากขับเคลื่อนการพัฒนาเกษตรกรและภาคเกษตรกรรม สู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” จัดโดยสภาเกษตรกรแห่งชาติที่เมืองทองธานี รองนายกรัฐมนตรีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เป็นประธานพิธีเปิด ภายในงานสภาเกษตรกรฯได้จัดแสดงการเลี้ยงกุ้งรูปแบบอิงธรรมชาติและได้รับการแนะนำจากรองนายกรัฐมนตรีว่าการเลี้ยงกุ้งรูปแบบอิงธรรมชาติเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาการเลี้ยงกุ้งที่สำคัญและยั่งยืน เห็นควรให้สภาเกษตรกรแห่งชาติดำเนินการจดสิทธิบัตรเป็นทรัพย์สินทางปัญญา สภาเกษตรกรแห่งชาติจึงได้นำเรื่องดังกล่าวเข้าที่ประชุมและมีมติแต่งตั้งคณะอนุกรรมการดำเนินงานการจดสิทธิบัตรทรัพย์สินทางปัญญาบ่อสาธิตวิธีการเลี้ยงกุ้งรูปแบบอิงธรรมชาติ ซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิด้านประมงจากสภาเกษตรกรแห่งชาติ ผู้แทนจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา ผู้แทนคณะประมงจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้แทนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย และผู้แทนจากกรมประมง โดยสำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติเป็นเลขานุการดำเนินการจัดประชุม และดำเนินการยื่นคำขอจดอนุสิทธิบัตรทรัพย์สินทางปัญญา โดยการดำเนินงานนั้นสภาเกษตรกรฯได้ดำเนินการขอยกเว้นการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมสำหรับการขอรับสิทธิบัตร หรืออนุสิทธิบัตร ซึ่งได้รับการยกเว้นเรียบร้อยแล้ว เนื่องจากสำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติเป็นหน่วยงานของรัฐ และการดำเนินการยื่นคำขอรับอนุสิทธิบัตรการประดิษฐ์ในชื่อ “บ่อเลี้ยงกุ้งและกระบวนการเลี้ยงกุังอิงธรรมชาติระบบน้ำหมุนเวียนแบบปิด” ได้รับการตรวจสอบการประดิษฐ์จากกรมทรัพย์สินทางปัญญาเรียบร้อยแล้ว พร้อมทั้งได้แก้ไขข้อถือสิทธิเพิ่มเติมจากเดิมคือ 2 ข้อถือสิทธิ เป็น 5 ข้อถือสิทธิ เพื่อให้ครอบคลุมสิทธิมากที่สุด ซึ่งสภาเกษตรกรฯได้จัดทำข้อเสนอเพิ่มเติมเสร็จเรียบร้อยแล้ว และเตรียมเสนอกรมทรัพย์สินทางปัญญาจดอนุสิทธิบัตรเพื่อให้เป็นสมบัติของสภาเกษตรกรฯนำเผยแพร่ให้กับพี่น้องเกษตรกรที่สนใจการเลี้ยงกุ้งด้วยวิธีอิงธรรมชาติดังกล่าวดำเนินการต่อไป ด้านนายเดชา […]
สภาเกษตรกรฯขับเคลื่อนโครงการ “1 ตำบล 1 นวัตกรรมเกษตร” ร่วม วว. ต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น EP.17
สภาเกษตรกรฯขับเคลื่อนโครงการ “ 1 ตำบล 1 นวัตกรรมเกษตร ” ร่วม วว. ต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น ต้นทุนลด ผลผลิตเพิ่ม ยืดอายุเก็บรักษา _________________________________________________________________ ว่าที่ร้อยตรีสมพูนทรัพย์ กล้าวิกรณ์ เลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ ได้กล่าวว่า สภาเกษตรกรแห่งชาติร่วมกับสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ดำเนินโครงการ “1 ตำบล 1 นวัตกรรมเกษตร” ตั้งแต่เดือนมีนาคม – กันยายน 2561 เพื่อผนวกการใช้ทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ากับความคิดสร้างสรรค์ และองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อสร้างนวัตกรรมทางการเกษตรที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว รวมทั้งพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานให้กับสินค้าและบริการจนสามารถยกระดับจากผู้ผลิตที่ตอบสนองความต้องการระดับท้องถิ่น สู่ผู้ผลิตระดับ SMEs ที่สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดในระดับสากลได้ นำไปสู่การสร้างงาน สร้างรายได้ สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับชุมชน ท้องถิ่น รวมทั้งเป็นกลไกในการพัฒนาเศรษฐกิจระดับฐานรากของประเทศ สัมภาษณ์ว่าที่ร้อยตรีสมพูนทรัพย์ ด้าน ดร.รจนา ตั้งกุลบริบูรณ์ นักวิจัยอาวุโส ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการ “1 ตำบล 1 […]
สภาเกษตรกรฯขับเคลื่อนโครงการ “ 1 ตำบล 1 นวัตกรรมเกษตร ” ร่วม วว. ต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น ต้นทุนลด ผลผลิตเพิ่ม ยืดอายุเก็บรักษา
ว่าที่ร้อยตรีสมพูนทรัพย์ กล้าวิกรณ์ เลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ ได้กล่าวว่า ในปี 2561 สภาเกษตรกรแห่งชาติร่วมกับสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) พัฒนาต่อยอดจากการทำแผนตำบลกับองค์กรเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับสภาเกษตรกรจังหวัดทุกจังหวัด ด้วยโครงการ “1 ตำบล 1 นวัตกรรมเกษตร” เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม – กันยายน 2561 เพื่อผนวกการใช้ทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ากับความคิดสร้างสรรค์ และองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อสร้างนวัตกรรมทางการเกษตรที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว รวมทั้งพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานให้กับสินค้าและบริการจนสามารถยกระดับจากผู้ผลิตที่ตอบสนองความต้องการระดับท้องถิ่น สู่ผู้ผลิตระดับ SMEs ที่สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดในระดับสากลได้ นำไปสู่การสร้างงาน สร้างรายได้ สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับชุมชน ท้องถิ่น รวมทั้งเป็นกลไกในการพัฒนาเศรษฐกิจระดับฐานรากของประเทศ ด้วยเป้าหมายเพื่อต้นทุนการผลิตลดลง ผลผลิตเพิ่มขึ้น 20% , อายุการเก็บรักษาผลิตผลนานขึ้น 10% ใน 878 ตำบล 300 องค์กรเกษตร 200 นวัตกรรม เกษตรกร 10,000 รายทั่วประเทศ เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการควรใช้โอกาสนี้ด้วยความตั้งใจแล้วนำเอานวัตกรรมที่ วว.ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้ไปใช้ประโยชน์ โดยสภาเกษตรกรตั้งเป้าอย่างน้อย 20% มากกว่านั้นยิ่งดี ขอให้เกษตรกรทำให้บรรลุผลสำเร็จตามที่ทางสภาเกษตรกรฯและวว.ได้ร่วมกันจัดโครงการดังกล่าวให้กับพี่น้องเกษตรกรทั่วประเทศ ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมให้ประเทศไทยยังคงเป็นประเทศเกษตรกรรมและเป็นฐานการผลิตสำคัญในการป้อนผลิตผลเกษตรสู่ครัวโลกต่อไป […]