ผู้แทนสหกรณ์โคนมร้องสภาเกษตรกรแห่งชาติ หากคงเกณฑ์ภาษีตามเดิมเกษตรกรไปไม่รอด

ในการประชุมสภาเกษตรกรแห่งชาติครั้งที่ 3/2561 เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2561 ผู้แทนสหกรณ์โคนมทั่วประเทศขอเข้าพบนายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อนำเสนอปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมจากกรณีการออกพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 629) พ.ศ. 2560 ที่กำหนดให้เงินได้เกษตรกรหักค่าใช้จ่ายเหมาได้ไม่เกินอัตราร้อยละ 60 ซึ่งประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติได้ให้ผู้แทนสหกรณ์โคนมจากอำเภอไชยปราการ อำเภอแม่วาง อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ ,  สหกรณ์โคนมจากอำเภอสีคิ้ว อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา , สหกรณ์โคนมจากลำพญากลาง จังหวัดสระบุรี  ,  จังหวัดลพบุรี ,จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เสนอเรื่องนี้เข้าพิจารณาในการประชุม โดยนายสมพงษ์ ภูพานเพชร ตัวแทนสหกรณ์โคนม เข้าชี้แจงว่า เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมเดือดร้อนมากจากเรื่องภาษีที่กรมสรรพากรกำหนดให้หักค่าใช้จ่ายร้อยละ 60 ในส่วน 40 นำไปคำนวณภาษี พอเงินค่าน้ำนมออกเกษตรกรถูกหักค่าอาหารรวมกับค่าใช้จ่ายอื่นๆบางคนไม่เหลือเงินเลยจึงต้องติดหนี้ภาษีที่ถูกจัดเก็บ ซึ่งสะท้อนถึงต้นทุนที่แท้จริงมากกว่าที่กรมสรรพากรกำหนด โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเคยสำรวจข้อมูลที่พบว่านมผง 1 กิโลกรัม ต้นทุนประมาณ 15 บาท ในขณะที่ราคาขายอยู่ที่กิโลกรัมละ 18 บาท  คิดเป็นร้อยละ 83 มากกว่าที่กรมสรรพากรกำหนด เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมต้องมีต้นทุนโรงเรือน […]

ปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ณ วิทยาลัยเกษตรกรรมศรีสะเกษ

เมื่อวันศุกร์ ที่ 29 มิถุนายน 2561 ว่าที่ร้อยตรีสมพูนทรัพย์ กล้าวิกรณ์ เลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ ได้เดินทางไปเป็นประธานในพิธีปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ณ วิทยาลัยเกษตรกรรมศรีสะเกษ และและร่วมพิธีเปิดงานเงาะ ทุเรียนจังหวัดศรีสะเกษ ประจำปี 2561 ณ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ ……………………………………………………………………………. ภาพ : สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดศรีสะเกษ

สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “เทคนิคการเขียนหนังสือราชการและการจดรายงานการประชุม” รุ่นที่ 1 ณ จังหวัดนครปฐม

สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “เทคนิคการเขียนหนังสือราชการและการจดรายงานการประชุม” 3 รุ่น ณ จังหวัดนครปฐม ว่าที่ร้อยตรีสมพูนทรัพย์ กล้าวิกรณ์ เลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ เผยว่า สำนักกิจการสภาและวิชาการ สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “เทคนิคการเขียนหนังสือราชการและการจดรายงานการประชุม” เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเขียนหนังสือราชการและการจดบันทึกรายงานการประชุมให้ผู้เข้าอบรมสามารถอธิบายความหมาย ความสำคัญและความแตกต่างของหนังสือราชการและรายงานการประชุมประเภทต่างๆ ได้ , เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับเทคนิคการใช้ภาษา การสรุปเนื้อหา การย่อความ และอื่นๆ และเพื่อพัฒนาทักษะสมรรถนะและฝึกปฏิบัติการจัดทำให้ถูกต้อง ชัดเจน อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยกลุ่มเป้าหมายเป็นพนักงานของสำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ(สกช.) และสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัด (สกจ.) 3 รุ่น จำนวน 136 คน โดยรุ่นที่ 1ฝึกอบรมระหว่างวันที่ 26-29 มิถุนายน 2561 รุ่นที่ 2 ระหว่างวันที่ 17-20 กรกฎาคม 2561 รุ่นที่ 3 ระหว่างวันที่ 22-25 กรกฎาคม 2561 ณ โรงแรมเดอะรอยัลเจมส์ กอล์ฟ […]

สภาเกษตรกรแห่งชาติดัน “ไผ่” อยู่ร่วมป่ากับชุมชน

จากการที่รัฐบาลได้เดินหน้าแก้ปัญหาเรื่องที่ดินทำกินของเกษตรกรในพื้นที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ สภาเกษตรกรแห่งชาติได้เสนอแนวทางให้ประชาชนอยู่ร่วมกับป่าโดยใช้ “ไผ่” เป็นพืชสร้างป่าและสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร โดยเสนอให้พื้นที่บ้านไผ่แพะ ต.เมืองมาย อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง เป็นกรณีตัวอย่างต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง      นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวว่า ด้วยข้อมูลส่วนหนึ่งจากนายสมบัติ อ่อนหวาน ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 5 บ้านไผ่แพะ ต.เมืองมาย อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง ระบุว่าพื้นที่หมู่ 5 เมืองมาย ต.เมืองมาย อ.แจ้ห่ม ส่วนใหญ่ติดกับเขตอุทยานแห่งชาติและป่าสงวนของกรมป่าไม้ เดิมเกษตรกรในพื้นที่ปลูกข้าวไร่สลับถั่วลิสงและข้าวโพดเป็นหลัก ที่ดินทำกินและอยู่อาศัยไม่มีเอกสารสิทธิ์เมื่อภาครัฐเข้าขอคืนพื้นที่ป่าจึงเกิดความเดือดร้อน จึงนำเรื่องนี้หารือร่วมกันกับพล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในโอกาสตรวจติดตามการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าของจังหวัดลำปาง ณ หมู่บ้านไผ่แพะ ต.เมืองมาย อ.แจ้ห่ม  พื้นที่ อ.แจ้ห่มส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ป่าเขา ชาวบ้านส่วนมากยังชีพด้วยการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ที่ผ่านมาได้มีการบุกรุกพื้นที่ป่านำมาเป็นพื้นที่ทำกิน ท่านเข้าใจปัญหาและเรื่องนี้นายกรัฐมนตรีได้มีการพูดคุยร่วมกับคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติว่าน่าจะมีมาตรการในการผ่อนปรน แล้วก็มีมาตรการรองรับในเรื่องของเกษตรกรที่ยังชีพทำมาหากินอยู่ในพื้นที่ของรัฐทั้งหลาย  สภาเกษตรแห่งชาติได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการที่จะดูแลรักษาพื้นที่ป่า ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมให้กลับฟื้นคืนสภาพมีความอุดมสมบูรณ์และให้เกษตรกรชาวบ้านมีรายได้เพิ่มจากการมีป่า โดยสภาเกษตรกรฯได้เสนอแนวทางนำ “ไผ่” มาปลูกทดแทนหรือร่วมในพื้นที่ทำการเกษตร เนื่องจาก “ไผ่” เป็นพืชโตเร็ว ใช้น้ำน้อย […]

สภาเกษตรฯ Channel – สภาเกษตรกรฯรวม “คน มัน โค” มหาสารคาม สู่วิถีเกษตรยั่งยืน EP.23

สภาเกษตรกรฯรวม “ คน มัน โค ” มหาสารคาม สู่วิถีเกษตรยั่งยืน _________________________________________________________________ นายคงฤทธิ์ บัวบุญ ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดมหาสารคาม เปิดเผยว่า จ.มหาสารคาม มีพืชเศรษฐกิจที่สำคัญคือ มันสำปะหลัง เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นไม่มีหน่วยงานไหนเข้ามาดูแลทำให้สุดท้ายประโยชน์ตกเป็นของพ่อค้าลานมันและโรงแป้ง ด้วยเหตุนี้สภาเกษตรกรจังหวัดมหาสารคามซึ่งมีการรับขึ้นทะเบียนองค์กรเกษตรกรอยู่และมีกลุ่มองค์กรที่ผลิตมันสำปะหลัง 8 องค์กร ได้ปรึกษาศึกษาค้นคว้าหาทิศทางในการที่จะพัฒนามันสำปะหลังอยู่เป็นปีว่าหากจะปลูกมันสำปะหลังแล้วขายหัวมันสดไม่มีทางจะแก้ปัญหาความยากจนได้ยังไงก็ขาดทุน สัมภาษณ์นายคงฤทธิ์ ในพื้นที่ จ.มหาสารคาม มีสหกรณ์โคนม 2 แห่ง คือ สหกรณ์โคนมมหาสารคาม จำกัด และสหกรณ์โคนมโคกก่อ จำกัด ทั้ง 2 แห่งซื้อมันเส้นหรือมันสำปะหลังตากแห้งจากพื้นที่อื่นและต่างประเทศ จึงได้เชิญตัวแทนจากทั้ง 2 สหกรณ์ และเกษตรกรผู้ผลิตมันสำปะหลังร่วมพูดคุยและตกลงกันว่าจะซื้อผลผลิตมันเส้นตากแห้งจากกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดเพื่อนำมาทำอาหารโค สัมภาษณ์นายคงฤทธิ์ การขึ้นทะเบียนกับสภาเกษตรกรฯเพื่อขับเคลื่อนงานเกษตรให้เกิดความยั่งยืนในอาชีพก็เป็นมูลเหตุหนึ่งที่จะทำให้เกษตรกรรวมกลุ่มในรายสินค้าอื่นๆหันมาขึ้นทะเบียนกับสภาเกษตรกรฯให้มากขึ้น เพื่อให้เกิดความสำเร็จในการประสานความช่วยเหลือแก้ปัญหาด้านการเกษตรต่อไป สัมภาษณ์นายคงฤทธิ์ _________________________________________________________________ ข่าว : วัฒนรินทร์ สุขีวัย เทคนิค : วัชร มีแสงเงิน อำนวยการข่าว : ภาสันต์ […]

สภาเกษตรกรฯรวม “ คน มัน โค ” มหาสารคาม สู่วิถีเกษตรยั่งยืน

         นายคงฤทธิ์ บัวบุญ ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดมหาสารคาม เปิดเผยว่า จ.มหาสารคาม มีพืชเศรษฐกิจที่สำคัญคือ ข้าว มันสำปะหลัง และอ้อย สัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญคือโคเนื้อ และโคนม สำหรับข้าว , อ้อย เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีหน่วยงานดูแลอยู่แล้ว แต่มันสำปะหลังยังไม่มีหน่วยงานไหนเข้ามาดูแลทำให้สุดท้ายประโยชน์ตกเป็นของพ่อค้าลานมันและโรงแป้ง ด้วยเหตุนี้สภาเกษตรกรจังหวัดมหาสารคามซึ่งมีการรับขึ้นทะเบียนองค์กรเกษตรกรอยู่ โดยมีกลุ่มองค์กรที่ผลิตมันสำปะหลัง 8 องค์กร จาก 3 อำเภอ ได้ปรึกษาศึกษาค้นคว้าหาทิศทางในการที่จะพัฒนามันสำปะหลังอยู่เป็นปีก็ได้ข้อสรุปว่าหากจะปลูกมันสำปะหลังแล้วขายหัวมันสดไม่มีทางจะแก้ปัญหาความยากจนได้ยังไงก็ขาดทุน ทั้งนี้ จังหวัดมหาสารคามมีสหกรณ์โคนม 2 แห่ง คือ สหกรณ์โคนมมหาสารคาม จำกัด และสหกรณ์โคนมโคกก่อ จำกัด ทั้ง 2 แห่งซื้อมันเส้นหรือมันสำปะหลังตากแห้งจากพื้นที่อื่นและต่างประเทศ จึงได้เชิญตัวแทนจากทั้ง 2 สหกรณ์ และเกษตรกรผู้ผลิตมันสำปะหลังร่วมพูดคุยและตกลงกันว่าสหกรณ์ทั้ง 2 แห่ง จะซื้อผลผลิตมันเส้นตากแห้งจากกลุ่มเกษตรกรในจังหวัด ช่วงแรกเกษตรกรใช้วิธีขุดหัวมันมาสับแล้วตาก สหกรณ์โคนมทั้ง 2 แห่งเห็นว่าเป็นมันคุณภาพดีจึงตกลงซื้อ แต่เมื่อซื้อปริมาณมากๆเกรงว่ากลุ่มเกษตรกรจะทำในปริมาณที่สหกรณ์ต้องการไม่ได้ จึงมีเงื่อนไขว่าจะซื้อมันจากองค์กรเกษตรกร,กลุ่มเกษตรกรเท่านั้นไม่ซื้อจากเกษตรกรรายย่อยหรือรายบุคคลด้วยเกรงเรื่องการควบคุมมาตรฐานและปริมาณการผลิต ทั้ง 8 […]

1 66 67 68 69 70 90