Author: Thanyalaksaporn Tieoyong
ภาคเกษตรกรเลื่อนยื่นหนังสือถึงนายกฯจากวันที่ 24 เป็น 31 ก.ค.นี้
จากความเดือดร้อนของภาคเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการออกพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 629) พ.ศ.2560 จากเดิมที่กำหนดค่าใช้จ่ายแบบเหมาร้อยละ 80-85 แต่ได้กำหนดใหม่เป็นร้อยละ 60 นำสู่การจัดประชุมผู้แทนเกษตรกร องค์กรเกษตรกร ที่เดือดร้อนจากผลกระทบดังกล่าว เพื่อหารือทางออกร่วมกันเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2561 ณ อาคารวชิรานุสรณ์ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และในที่ประชุมได้มอบหมายให้นายณัฐวุฒิ ประทีปะวณิช ประธานสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนมโคกก่อ จำกัด จังหวัดมหาสารคาม สมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติ พร้อมกับตัวแทนเกษตรกรยื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรีในวันอังคารที่ 24 กรกฎาคม 2561 เวลา 10.00 น. ณ ทำเนียบรัฐบาล นั้น นายณัฐวุฒิ ประทีปะวณิช ในฐานะผู้แทนเกษตรกร ได้แจ้งว่า เมื่อนำเรื่องความเดือดร้อนและเรื่องแนวทางแก้ปัญหาผลกระทบเกษตรกรจาก พรฎ.ดังกล่าวปรึกษากับภาคเกษตรกรและเตรียมยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีทำให้ต้องเตรียมการให้รอบคอบ และนัดแนะกับภาคเกษตรกรและตัวแทนจากกลุ่มต่างๆ โดยลงความเห็นกันว่าจะขอเข้ายื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีจากวันที่ 24 กรกฎาคม 2561เลื่อน เป็นวันที่ 31 กรกฎาคม 2561 ที่ทำเนียบรัฐบาลเวลา 10.00 น.แทน ………………………………………………………………….. ข่าว […]
สภาเกษตรกรฯเตือนทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเตรียมรับศึกข้าวหอมมะลิ 3 สายพันธุ์อเมริกา ส่งเสริมปลูกปลายปีนี้ 1 สายพันธุ์
นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ เปิดเผยด้วยความกังวลว่า จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ที่แสดงสถิติการส่งออกข้าวช่วงระยะเวลา 10 ปี ที่ผ่านมา พบว่าประเทศไทยส่งออกข้าวหอมมะลิไปตลาดต่างประเทศคิดเป็นสัดส่วนเฉลี่ยร้อยละ 25 ของมูลค่าการส่งออกข้าวทั้งหมด มีบางปีที่สัดส่วนขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 30 โดยตลาดส่งออกข้าวหอมมะลิอันดับ 1 ของไทยตั้งแต่ปี 2545 จนถึงปัจจุบันคือสหรัฐอเมริกา แต่ตามข้อมูลมีแนวโน้มลดลงตั้งแต่ปี 2557 จากเดิมมูลค่าการส่งออกข้าวหอมมะลิปีละราว 50,000 ล้านบาท แต่ปัจจุบันมีแนวโน้มลดลงทุกปี ต้องเรียนให้ผู้บริหารเรื่องข้าวของประเทศพิจารณาและเตือนไปยังพี่น้องเกษตรกรผู้ปลูกข้าวหอมมะลิเตรียมปรับตัว ทั้งนี้ สาเหตุสำคัญของการส่งออกข้าวหอมมะลิที่ลดลงเพราะประเทศสหรัฐอเมริกาตลาดส่งออกข้าวหอมมะลิอันดับ 1 ของไทยตั้งแต่ปี 2545 จนถึงปัจจุบันปีละราว 10,000 ล้านบาทนั้น ได้ปรับปรุงพัฒนาข้าวหอมสายพันธุ์ใหม่ ถึง 3 สายพันธุ์ โดยมหาวิทยาลัยอาร์แคนซัสพัฒนาข้าวหอมสายพันธุ์จัสมิน“Aroma17” คุณสมบัติมีกลิ่นหอมทัดเทียมข้าวหอมมะลิของไทย ให้ผลผลิตสูง 7,740 ปอนด์/เอเคอร์ (1,388 กก./ไร่) มีอัตราการแปรสภาพข้าวเปลือกเป็นข้าวสารเฉลี่ยที่ระดับ 71% , มหาวิทยาลัยหลุยส์เซียนาพัฒนาข้าวหอมสายพันธุ์จัสมิน“CLJ 01” คุณสมบัติมีกลิ่นหอมทัดเทียมข้าวหอมมะลิของไทย เมล็ดข้าวสวย มีท้องไข่น้อย ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์ข้าวหอมที่มหาวิทยาลัยหลุยส์เซียนาพัฒนาก่อนหน้า […]
เสนอแนวทางแก้ปัญหาผลกระทบเกษตรกรจาก พรฎ.ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักเงินได้พึงประเมินฯ ต่อนายกฯ 24 ก.ค.นี้
นายสิทธิพร จริยพงศ์ รองประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวแถลงข่าวในการประชุมพิจารณากำหนดแนวทางในการขับเคลื่อนเพื่อแก้ปัญหาผลกระทบต่อเกษตรกรจากการออกพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 629) พ.ศ.2560 ณ ห้องประชุม 301 อาคารวชิรานุสรณ์ ชั้น 3 คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ว่า จากความเดือดร้อนของผลกระทบตามโครงสร้างภาษีใหม่ที่ให้เกษตรกรหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาจ่ายที่ร้อยละ 60 จากเดิมที่กำหนดร้อยละ 80-85 ซึ่งสภาเกษตรกรแห่งชาติได้เคยทำหนังสือเรียนนายกรัฐมนตรีไปแล้วเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2561 ซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบให้กระทรวงการคลังพิจารณาและกรมสรรพากรชี้แจงให้คงหลักเกณฑ์ตามเดิมโดยระบุว่าหากเกษตรกรมีค่าใช้จ่ายที่มากกว่าร้อยละ 60 สามารถแสดงหลักฐานเอกสารต่อเจ้าหน้าที่ประเมินได้ แต่เกษตรกรเห็นว่าในความเป็นจริงเป็นไปไม่ได้ ตัวแทนเกษตรกรจึงรวมตัวประชุมหารือหาทางออก ในการประชุมมีตัวแทนเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ ตัวแทนเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร ตัวแทนเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อ/โคนม ตัวแทนเกษตรกรชาวไร่อ้อย เป็นต้น ความเดือดร้อนที่ได้รับจาก พรฎ.ดังกล่าว อาทิ ผู้เลี้ยงสุกรต้องเสียภาษีซ้ำซ้อนจากหลายทาง เช่น ภาษีที่ดิน ภาษีโรงเรือน ภาษีสังคม ภาษีอาหารและยาซึ่งได้จัดเก็บจากต้นทางแล้ว อาจทำให้ผู้เลี้ยงรายย่อยเลิกอาชีพเลี้ยงสุกรในอนาคต / เกษตรกรผู้ปลูกอ้อยได้รับผลกระทบจากมาตรการเก็บภาษีในอัตรา 60:40 / เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม โคเนื้อได้รับผลกระทบจากมาตรการ FTA นำเข้าเนื้อจากออสเตรีย / […]
สภาเกษตรกรฯเสนอ 3 ประเด็นต่อ “ร่าง พรบ.คุ้มครองประชาชนในการทำสัญญาขายฝากที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัย พ.ศ…..”
ว่าที่ร้อยตรีสมพูนทรัพย์ กล้าวิกรณ์ เลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2561 ได้เข้าร่วมรับฟังและเสนอความคิดเห็น “ร่าง พรบ.คุ้มครองประชาชนในการทำสัญญาขายฝากที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัย พ.ศ…..” ณ โรงแรมเดอะเบอร์เคลี่ย์โฮต็ล ประตูน้ำ ซึ่งคณะกรรมการดำเนินการปฏิรูปกฎหมายในระยะเร่งด่วน ได้ถูกแต่งตั้งขึ้นตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี โดยคณะกรรมการฯพิจารณาเห็นว่ากฎหมายขายฝากตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ฉบับปัจจุบันพบว่าประชาชนโดยเฉพาะผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมไม่ได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญาขายฝากและเป็นสาเหตุสำคัญของการสูญเสียที่ดินทำกินอันเป็นอุปสรรคต่อการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพ คณะกรรมการฯจึงได้มีมติเห็นชอบให้จัดทำ “ร่าง พรบ.คุ้มครองประชาชนในการทำสัญญาขายฝากที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัย พ.ศ…..” โดยมีเจตนารมณ์ในการกำหนดมาตรการและกลไกพิเศษเพื่อคุ้มครองประชาชนจากสัญญาขายฝากที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัยที่ไม่เป็นธรรม ทางสภาเกษตรกรแห่งชาติเห็นว่าสาระของร่างกฎหมายน้ำหนักจะไปอยู่ที่“ผู้ซื้อฝาก”จึงได้เสนอความเห็นใน 3 ประเด็น คือ การกำหนดระยะเวลาในการขายฝาก ควรมีกำหนดเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี , ห้ามขายฝากที่ดินเพื่อเกษตรกรรมและที่อยู่อาศัยที่อยู่ในที่ดินประกอบอาชีพเกษตรกรรม , ในกรณีที่หลุดสัญญาการขายฝากไปแล้วสามารถให้“ผู้ขายฝาก”มีสิทธิ์ซื้อคืนได้ และควรกำหนดระยะซื้อคืนภายใน 1-3 ปี ในราคาเดิมบวกดอกเบี้ยตามกฎหมายกำหนด โดยประเด็นดังกล่าวสภาเกษตรกรฯได้เคยเสนอไปยังกระทรวงยุติธรรมแล้ว หลังจากนั้นมาก็ได้มีการพิจารณาเรื่องนี้หลายครั้งและเชิญทางสภาเกษตรกรฯไปชี้แจงล่าสุดคือครั้งนี้ หากร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวมีน้ำหนักการคุ้มครองไปทาง“ผู้ซื้อฝาก”มากกว่าหรือขั้นตอนการตรวจสอบจากหน่วยงานภาครัฐยุ่งยากและเอื้อต่อ“ผู้ซื้อฝาก”เมื่อเกษตรกรมีความจำเป็นก็จะทำให้เกิดกรณีการหลีกเลี่ยงสัญญาซื้อขายฝากเป็นการซื้อขายสิทธิ์เด็ดขาดแทน ปัญหาจะเกิดตามมาคือหนี้นอกระบบที่มีการทวงหนี้รูปแบบต่างๆ การสูญเสียที่ดินทำกินหรือที่อยู่อาศัยเกษตรกรก็จะเกิดความเดือดร้อนแน่นอน โดยจะมีการยกร่าง ปรับปรุง/แก้ไขและรับฟังความคิดเห็นอีกครั้งก่อนเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.)และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)พิจารณาตามขั้นตอนต่อไป ………………………………………………………………. ข่าว : วัฒนรินทร์ สุขีวัย […]
สภาเกษตรกรฯเดินหน้าปั้นเกษตรกรเป็นผู้ประกอบการ หลังพบเกษตรกรรากหญ้าส่วนใหญ่ไม่รู้จักการแปรรูปผลผลิตการเกษตร
นายเสน่ห์ วิชัยวงษ์ รองเลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวภายหลังลงพื้นที่เพื่อติดตามงานภายใต้“โครงการปั้นนักธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปไทย (SMEs เกษตร) ตามแนวประชารัฐ” ระหว่างวันที่ 5-7 กรกฎาคม 2561 ณ ห้องประชุมวังสามหมอ อ.วังสามหมอ /ศาลาวัดมหาธาตุเทพจินดา อ.กุมภวาปี และห้องประชุมเทศบาลตำบลหัวนาคำ อ.ศรีธาตุ จ.อุดรธานี ว่า จ.อุดรธานีเกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกมันสำปะหลัง อ้อย ข้าว ขายเป็นวัตถุดิบเรื่องราคาเป็นไปตามกลไกตลาด ไม่แน่นอน ไม่นิ่ง เรื่องการแปรรูปเป็นเรื่องใหม่มาก การจัดอบรมบ่มเพาะการเป็นผู้ประกอบการภายใต้ “โครงการปั้นนักธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปไทย (SMEs เกษตร) ตามแนวประชารัฐ” จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ โครงการดังกล่าวเป็นการร่วมมือกับหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหวังยกระดับกลุ่มเกษตรกร , เกษตรกรให้สามารถแปรรูปผลผลิตเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มโดยการปรับเปลี่ยนจากการขายผลผลิตในรูปวัตถุดิบที่ได้ราคาต่ำเป็นการทำเกษตรอุตสาหกรรมที่มีการเชื่อมโยงตั้งแต่การผลิต การแปรรูปจนถึงการตลาดอย่างครบวงจร ขณะเดียวกันยังมุ่งพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของกลุ่มเกษตรแปรรูปเพื่อให้มีความพร้อมที่จะเป็นผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปที่มีความรู้ในการดำเนินธุรกิจอย่างมีคุณภาพ เข้มแข็ง มั่นคง และมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยในระหว่างการอบรมได้สอบถามเกษตรกรพบว่าส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าผลผลิตของตนเองสามารถแปรรูปได้ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ภาครัฐต้องเร่งปฏิรูปเพื่อให้เกษตรกรไทยหลุดพ้นจากกับดักด้านราคาที่มีความเหลื่อมล้ำอยู่ในปัจจุบัน ทั้งนี้ สภาเกษตรกรฯมีเป้าหมายการอบรมบ่มเพาะการเป็นผู้ประกอบการให้กับตัวแทนองค์กรเกษตรกร จำนวน 600 […]