Author: Thanyalaksaporn Tieoyong
“ให้ตลาดนำการผลิต” กระทรวงพาณิชย์พร้อมทำงานร่วมสภาเกษตรกรฯ
นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์ได้เปิดโอกาสให้สภาเกษตรกรมีส่วนร่วมในการนำเสนอประเด็นปัญหาและแนวทางพัฒนาของภาคเกษตรกรรมมาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ในการประชุมสภาเกษตรกรแห่งชาติ ครั้งที่ 4/2561 ณ ห้องประชุมพึ่งบุญ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2561 สภาเกษตรกรแห่งชาติจึงได้เรียนเชิญนายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ มาชี้แจงถึงแนวทางความร่วมมือในการทำงานระหว่างกระทรวงพาณิชย์กับสภาเกษตรกรแห่งชาติ โดยรัฐมนตรีชี้แจงว่าประเทศไทยมีจุดแข็งหลัก 2 ด้าน คือการเกษตร และการบริการ ตอนนี้ด้านการบริการเป็นไปได้ดีโดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยวที่ทำรายได้ให้กับประเทศ แต่ด้านการเกษตรยังไม่ดีนัก GDP (Gross Domestic Product) หรือ “ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ” โตไม่ถึง 10 % วังวนของเกษตรกรคือเรื่องราคาผลผลิตการเกษตรที่สภาเกษตรกรฯและกระทรวงพาณิชย์ต้องช่วยกัน ปัจจุบันกระทรวงพาณิชย์ขับเคลื่อนงานเพื่อเกษตรกรอย่างเต็มที่ แต่ปัญหาของภาคเกษตรไทยคือไม่สามารถจัดการได้ทั้งระบบ เช่น ปาล์มที่ปลูกในพื้นที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ต้องประสานกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในการจัดโซนนิ่งปลูก ในการผลิตต้องประสานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้ได้ผลปาล์มมีคุณภาพเปอร์เซ็นต์น้ำมันไม่ต่ำกว่า 18 % ต้องประสานกระทรวงอุตสาหกรรมเพื่อให้โรงงานไม่รับซื้อผลปาล์มที่ไม่ได้คุณภาพ การมีโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มมาตรฐานเดียว เป็นต้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าต่างกับประเทศมาเลเซียที่บริหารจัดการปาล์มทั้งระบบจบที่กระทรวงเดียว ส่วนของระบบการค้าในโลกเสรีที่ไม่สามารถห้ามการนำเข้าได้ก็มีผลตัวอย่างในขณะนี้ เช่น […]
สภาเกษตรกร ร่วมกับ กรมคุ้มครองสิทธิฯ เตรียมจัดตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทชุมชน
เมื่อวันที่ 21 – 22 ส.ค.2561 กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ร่วมกับ สภาเกษตรกรแห่งชาติ ได้จัดอบรมหลักสูตร “อาสาสมัครคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ สำหรับสมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติ” ณ โรงแรมกานต์มณี พาเลซ กรุงเทพฯ โดยประธานสภาเกษตรกรจังหวัดหรือผู้แทน 77 จังหวัด เข้าร่วมอบรม วัตถุประสงค์เพื่อให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท การบูรณาการงานช่วยเหลือประชาชน การให้คำปรึกษาในระบบเกษตรพันธสัญญา เป็นการสร้างเครือข่ายให้ครอบคลุมในระดับพื้นที่ทุกจังหวัด เพื่อเตรียมจัดตั้งเป็นอาสาสมัครคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ และการดำเนินงานศูนย์ไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทชุมชน ………………………………………………………………….. ข่าว : วัฒนรินทร์ สุขีวัย ภาพ : ศูนย์ไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทชุมชน อำนวยการข่าว : ภาสันต์ นุพาสันต์
“มหกรรมวิทย์สร้างชีพ ยกระดับภูมิภาค”
วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม 2561 ว่าที่ร้อยตรีสมพูนทรัพย์ กล้าวิกรณ์ เลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ ได้เข้าร่วมพิธีเปิดโครงการ “มหกรรมวิทย์สร้างชีพ ยกระดับภูมิภาค” โดยมี ดร.อภิชัย สมบูรณ์ปกรณ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานในพิธี พร้อมทั้งยังได้เยี่ยมชมบูธต่างๆ ภายในงาน ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เพาะเห็ดถั่งเช่าสีทองของวิสาหกิจชุมชนเห็ดถั่งเช่าจังหวัดเพชรบุรี การผลิตวุ้นจากน้ำมะพร้าวด้วยจุลินทรีย์ การทำขนมหวานเมืองเพชรโดยใช้เตาชีวมวล และการผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงและการใช้เครื่องอัดเม็ดปุ๋ย นอกจากนี้ยังมีการเปิดห้องเรียนสำหรับอบรมเกษตรกรในเรื่องเทคโนโลยีการเพาะเห็ดในระบบถุงพลาสติก การแปรูปผลิตผลทางการเกษตร-มะนาวดองเค็ม, มะนาวแช่อิ่ม, มะนาวสามรส และการสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตรเพื่อสุขภาพและความงาม เป็นต้น ในการนี้เลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติได้มอบกระเช้าที่ระลึกให้กับ ดร.อภิชัย สมบูรณ์ปกรณ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทย์ฯ และนายสายันต์ ตันพานิช รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ (วว.) ณ โรงเรียนวัดหนองจอก (ศรีสรรค์พานิช) อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ………………………………………………………………….. ข่าว : วัชร มีแสงเงิน ภาพ : วัชร มีแสงเงิน
สภาเกษตรกรแห่งชาติเพิ่มมูลค่าถ่าน 400% ด้วย “ไวท์ชาโคล” ตัวอย่างเกษตรอุตสาหกรรม
นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวว่า สภาเกษตรกรฯได้ส่งเสริมชาวบ้านให้ปลูกไผ่ ด้วย “ไผ่” มีคุณสมบัติที่เหมาะสมแปรรูปทำเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลากหลายมากกว่าไม้ชนิดอื่น อาทิ อุตสาหกรรมก่อสร้าง งานหัตถกรรม เรื่องสิ่งแวดล้อม เฟอร์นิเจอร์ และจากการวิจัยพบว่าไผ่มีรูพรุนมากกว่าไม้ชนิดอื่นประมาณ 10 เท่า ประโยชน์ของการมีรูพรุนมากจะช่วยดูดซับอนุมูลทั้งหลายได้มากขึ้น และขณะนี้สภาเกษตรกรฯมาถึงขั้นการพัฒนาต่อยอดทำถ่านขาวหรือ “ไวท์ชาโคล(White Charcoal)” ซึ่งเป็นถ่านคุณภาพเพื่ออุตสาหกรรมอีกเกรดหนึ่ง หากถ่านคุณภาพสูงจะมีคาร์บอนที่มีการนำไฟฟ้าที่ดีวัดได้จากค่าการนำไฟฟ้าหรือโอห์มมิเตอร์จะต่ำประมาณ 2-4 โอม เป็นอุตสาหกรรมอีกหนึ่งแขนงที่สภาเกษตรกรฯจะผลักดันให้รัฐบาลแก้ไขในเรื่องกฎหมายเพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรสามารถแปรรูปไผ่ของตัวเองเข้าสู่อุตสาหกรรมได้ ที่ผ่านมาเกษตรกรเผาถ่านเพื่อใช้ในการหุงต้ม ทำอาหารหรือปิ้งย่างทั่วไปหากมีการพัฒนาผลิตเป็นถ่าน “ไวท์ชาโคล” เวลาปิ้งย่างจะไม่มีควันและสารพิษ ดังเช่น ประเทศญี่ปุ่น เกาหลี ที่ส่งเสริมร้านปิ้งย่างให้ใช้ถ่านไวท์ชาโคลจึงไม่ส่งผลต่อสุขภาพของผู้บริโภค ประกอบกับขายได้ราคาดีกว่าถึงกิโลกรัมละ 40-50 บาท ขณะที่ถ่านเผาธรรมดาขายอยู่ที่ราคากิโลกรัมละ 10-15 บาท ทั้งนี้ ถ่าน “ไวท์ชาโคล” เกิดจากการนำไม้ไผ่ไปผ่านการเผาในอุณหภูมิความร้อนที่สูงมาก ผลถ่านที่ได้สามารถนำมาใช้ในอุตสาหกรรม เครื่องอุปโภค บริโภคต่างๆ โดยสภาเกษตรกรแห่งชาติร่วมกับหน่วยงานพัฒนาขึ้นด้วยมุ่งหวังให้เป็นผงถ่านไผ่เผาคุณภาพสูง การเผาด้วยคุณภาพสูงจะได้ผงคาร์บอนที่บริสุทธิ์ไม่มีสิ่งเจือปนไม่มีสารตกค้างซึ่งจะมีผลต่อมนุษย์ เช่น สารก่อมะเร็ง พยายามทำให้ถ่านเกิดความบริสุทธิ์ให้ได้มากที่สุดเพื่อคุณสมบัติในการช่วยลดความชื้น ดูดซับอนุมูลอิสระ กลิ่น […]