Author: Thanyalaksaporn Tieoyong
เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2561 เวลา 09.30 น. นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ(MOU) เรื่อง “ ความร่วมมือในการสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการเปิดเสรีทางการค้า” กับสำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ โดยว่าที่ร้อยตรีสมพูนทรัพย์ กล้าวิกรณ์ เลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ โดยมีนายอภิศักดิ์ อังคสิทธิ์ รองประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ นายเสน่ห์ วิชัยวงษ์ รองเลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ นางสาวบุณิกา แจ่มใส ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาความพร้อมทางการค้า ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ โรงแรมริชมอนด์ สไตล์ลิช คอนเวนชั่น นนทบุรี …………………………………………… ข่าว : วัฒนรินทร์ สุขีวัย ภาพ : วัชร มีแสงเงิน อำนวยการข่าว : ภาสันต์ นุพาสันต์
นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า เมื่อครั้งความตกลง “หุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (TPP)” อดีตประธานาธิบดีอเมริกาพยายามผลักดันเรื่องนี้ กรอบความร่วมมือในครั้งนั้นทราบกันดีว่าไทยเสียเปรียบในหลายเรื่องโดยเฉพาะเรื่องการเกษตร ต่อมาประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ยกเลิกจึงไม่ต่อเนื่อง แต่ประเทศที่เป็นสมาชิกที่เหลือพยายามผลักดันฟื้นฟูเรื่อง TPP ขึ้นมาใหม่โดยเปลี่ยนชื่อเป็น CPTPP ซึ่งกรอบความร่วมมือใกล้เคียงเดิม บทบัญญัติบางประการที่จะก่อให้เกิดผลกระทบไม่ได้ตัดออกจากความตกลง เรื่องน่ากังวลคือการให้นักลงทุนเข้าถึงพันธุกรรมพืชและชิ้นส่วนซึ่งจะเป็นการผูกขาดด้านพันธุ์พืช ตั้งแต่ส่วนที่ใช้ขยายพันธุ์จนถึงผลิตภัณฑ์แปรรูป ผลคือวิถีชีวิตของเกษตรกรจะเปลี่ยน ซื้อหาพันธุ์พืชในระดับราคาที่แพงและไม่สามารถเก็บพันธุ์ไว้ปลูกต่อ เป็นความเดือดร้อนยาวนาน 20-25 ปี รวมถึงการนำเข้าชิ้นส่วนสุกรที่จะส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ถึงเกษตรกรผู้ผลิตพืชวัตถุดิบอาหารสัตว์และผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องอีกเป็นจำนวนมาก หากกรอบความร่วมมือนี้สัมฤทธิ์ผลเกิดผลกระทบกับประเทศไทยด้านเศรษฐกิจมหาศาลแน่นอน …………………………………………………… ข่าว : วัฒนรินทร์ สุขีวัย เทคนิค : วัชร มีแสงเงิน อำนวยการข่าว : ภาสันต์ นุพาสันต์
นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ เปิดเผยด้วยความกังวลใจว่า เมื่อครั้งความตกลง “หุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Trans-Pacific Partnership : TPP) อดีตประธานาธิบดีอเมริกาพยายามผลักดันเรื่องนี้ กรอบความร่วมมือในอดีตนั้นเป็นห่วงกันมากเพราะทราบดีว่าไทยเสียเปรียบในหลายเรื่อง อาทิ เรื่องการเกษตร ต่อมาประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ยกเลิกจึงไม่ต่อเนื่อง แต่ประเทศที่เป็นสมาชิกที่เหลือพยายามผลักดันฟื้นฟูเรื่อง TPP ขึ้นมาใหม่โดยเปลี่ยนชื่อเป็น CPTPP (Comprehensive and Progressive Agreement for Trans-Pacific Partnership )กรอบความร่วมมือใกล้เคียงเดิม บทบัญญัติบางประการที่มีแนวโน้มจะก่อให้เกิดผลกระทบเชิงลบยังคงมีไม่ใช่การตัดออกจากความตกลง เพียงแต่ยังไม่นำมาบังคับใช้ขณะนี้จึงไม่มีหลักประกันที่แน่นอนว่าจะไม่นำกลับมาบังคับใช้ใหม่ และสิ่งที่เป็นข้อกังวลใจอย่างมากของสภาเกษตรกรแห่งชาติที่วนกลับมาอีกครั้งคือเรื่อง การให้นักลงทุนเข้าถึงพันธุกรรมพืชและชิ้นส่วนซึ่งจะเป็นการผูกขาดด้านพันธุ์พืช รวบตั้งแต่ส่วนที่ใช้ขยายพันธุ์จนถึงผลผลิตและผลิตภัณฑ์แปรรูป ผลคือวิถีชีวิตของเกษตรกรจะเปลี่ยนแปลง ซื้อหาพันธุ์พืชในระดับราคาที่แพงและไม่สามารถเก็บพันธุ์ไว้ปลูกต่อ เป็นความเดือดร้อนที่มีระยะเวลายาวนานด้วยการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่จะมีระยะเวลา 20-25 ปี อีกหนึ่งเรื่องที่น่ากังวลใจและมีบทเรียนจากหลายประเทศมาแล้วคือการนำเข้าชิ้นส่วนสุกร อาทิเช่น เวียดนาม หลังจากเข้าร่วมกรอบทีพีพีแล้วอเมริกาก็ผลักดันการนำเข้าชิ้นส่วนสุกร ปรากฏว่า Sector ภาคการเลี้ยงสุกรของเวียดนามแทบจะล่มสลายหมดเลย หากประเทศไทยไม่เป็นประเทศเกษตรกรรมเรื่องนี้จะไม่น่ากังวล แต่ภาคการเลี้ยงสุกรของประเทศไทยเข้มแข็งมาก มีเกษตรกรที่เลี้ยงสุกรและส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายกลางและรายย่อยกว่า 180,000 ครัวเรือน และจะส่งผลกระทบต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ถึงเกษตรกรผู้ผลิตพืชวัตถุดิบอาหารสัตว์และผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องอีกเป็นจำนวนมาก อาทิ […]
นายธีระ วงษ์เจริญ สมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติ และที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า เมื่อ พ.ศ.2558 สภาเกษตรกรแห่งชาติได้เสนอร่างพระราชบัญญัติสถาบันพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืน พ.ศ….. ถึงรัฐบาล โดยรัฐบาลได้มอบให้สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สภาพัฒน์) พิจารณาและเป็นเจ้าภาพในการขับเคลื่อน ซึ่งสภาพัฒน์ได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นผู้เกี่ยวข้องและมีการปรับปรุงแก้ไขร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวโดยเปลี่ยนชื่อเป็นร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืน พ.ศ….. และเตรียมนำสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีคาดว่าจะเสร็จสิ้นภายในรัฐบาลชุดนี้ โดยร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้เกษตรกรจะได้รับประโยชน์คือมีหลักประกันความคุ้มครองในอาชีพ มีสวัสดิการ มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน เพราะมีการศึกษาวิจัยจะเข้ามาช่วยดูแลให้มีความเป็นอิสระมากขึ้น องค์ความรู้จับต้องได้ง่ายขึ้น จึงอยากให้พี่น้องเกษตรกรติดตามร่างพ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในฉบับนี้ แล้วร่วมกันสนับสนุนเพราะเป็นร่างของประชาชน เป็นร่างของเกษตรกรอย่างแท้จริง ข่าว : วัฒนรินทร์ สุขีวัย เทคนิค : วัชร มีแสงเงิน อำนวยการข่าว : ภาสันต์ นุพาสันต์
นายธีระ วงษ์เจริญ สมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติ และที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า เมื่อ พ.ศ.2558 สภาเกษตรกรแห่งชาติได้เสนอร่างพระราชบัญญัติสถาบันพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืน พ.ศ….. ถึงรัฐบาล โดยรัฐบาลได้มอบให้สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สภาพัฒน์)พิจารณาและเป็นเจ้าภาพในการขับเคลื่อน ซึ่งสภาพัฒน์ได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นผู้เกี่ยวข้องและมีการปรับปรุงแก้ไขร่างพ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวโดยเปลี่ยนชื่อเป็น ร่างพ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืน พ.ศ….. และเตรียมนำสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี(ครม.)เมื่อครม.ลงมติเห็นชอบจึงนำสู่คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาก่อนนำเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) คาดหวังว่าจะเสร็จสิ้นภายในรัฐบาลชุดนี้ ปัจจุบันการเป็นอยู่ของเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อยและถูกโดดเดี่ยวถ้าระบบเกษตรกรรมยั่งยืนเข้ามา รัฐต้องเข้าไปคุ้มครองดูแลในเรื่องของการจัดระบบ ทั้งเกษตรอินทรีย์ เกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรผสมผสาน วนเกษตร เกษตรกรรมรูปแบบอื่น ทั้งนี้ ระบบเกษตรกรรมยั่งยืนตามแนวของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นวิถีเกษตรกรรมที่เอื้ออำนวยต่อการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ และดำรงรักษาไว้ซึ่งความสมดุลของระบบนิเวศและสภาพแวดล้อม ตลอดจนสร้างความมั่นคงด้านอาหารให้กับเกษตรกรและสังคมไทย การพัฒนาและส่งเสริมระบบเกษตรกรรมยั่งยืนจำเป็นต้องอาศัยการทำงานในเชิงระบบเป็นองค์รวมและต่อเนื่อง ตลอดจนต้องกำหนดนโยบายและแผนการพัฒนามาจากการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างแท้จริง และเพื่อให้เกิดระบบและกลไกที่มีประสิทธิภาพในการประสานการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานในทุกระดับ และทุกภาคส่วนที่เอื้อต่อการพัฒนาและส่งเสริมระบบเกษตรกรรมยั่งยืนและแปลงนโยบายด้านเกษตรกรรมยั่งยืนไปสู่การปฏิบัติที่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และนิเวศน์ของแต่ละชุมชนจึงจำเป็นต้องตรา พ.ร.บ.ฉบับนี้ อย่างไรก็ตาม จากการรับฟังความคิดเห็นประเด็นหลักใหญ่อยู่ที่เรื่องของการกำหนดนิยาม องค์ประกอบของคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาระบบ รวมทั้งประเด็นความเข้าใจคลาดเคลื่อนไม่ตรงกันซึ่งได้ตรวจสอบแล้วว่า ร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้มีการวิจัยและพัฒนาที่ชัดเจนเป็นไปตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 คณะกรรมการตามพ.ร.บ.นี้มาจากทุกภาคส่วนมี สตง.รวมทั้งหน่วยงานติดตามตรวจสอบภายใต้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยได้ชี้แจงไปเรียบร้อย นายธีระ กล่าวอีกว่า ถ้าระบบเกษตรกรรมยั่งยืนเข้ามารัฐต้องเข้าไปคุ้มครองดูแลในเรื่องของการจัดระบบ ในตัวบทกฎหมายของสภาเกษตรกรแห่งชาติจะดูเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียงคล้ายสมัชชาเกษตรกรรมยั่งยืนเป็นส่วนนโยบาย สำนักงานเกษตรกรรมยั่งยืนจะเป็นตัวปฏิบัติเป็น Action หาก 2 […]