Author: Thanyalaksaporn Tieoyong
สภาเกษตรฯ Channel – โซนนิ่งยางพาราต้องใช้จริงร่วมกับพืชเศรษฐกิจอื่นจึงจะเกิดประโยชน์
นายธีรพงศ์ ตันติเพชราภรณ์ ประธานคณะกรรมการด้านยางพารา สภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวว่ากรณีที่ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะใช้อำนาจตามพ.ร.บ.เศรษฐกิจการเกษตร พ.ศ.2522 มาตรา 5 โดยคณะกรรมการสามารถพิจารณากำหนดเขตพืชเศรษฐกิจได้ ซึ่งจะนำมาใช้กับยางพาราเป็นชนิดแรกเพื่อการจัดการที่ลดต้นทุนและเพิ่มปริมาณอย่างมีคุณภาพ เกษตรกรและสภาเกษตรกรฯมีการหารือกันว่าจำเป็นต้องใช้ไหม ด้วยที่ผ่านมาปล่อยให้เกษตรกรปลูกได้ตามใจ ผลผลิตได้บ้าง ไม่ได้บ้าง คุณภาพมีบ้าง ไม่มีบ้าง การจัดโซนนิ่งเป็นสิ่งที่ดีไม่ว่าจะเป็นภาคเหนือภาคอีสานถ้าพื้นที่ไหนไม่เหมาะสมรัฐควรจะต้องมีนโยบายในเรื่องของการปรับเปลี่ยน แต่ในส่วนของการปรับเปลี่ยนถ้ายังไม่สามารถควบคุมได้ก็ต้องลดในเรื่องของการที่จะเข้าไปช่วยเหลือเยียวยาซึ่งนั่นหมายถึงว่าเกษตรกรที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์หรือไม่ปลูกในโซนนิ่งก็ไม่สามารถที่จะรับการช่วยเหลือได้ นั่นเป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้มาตรการเรื่องของการใช้โซนนิ่งเกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพ …………………………………… ข่าว : วัฒนรินทร์ สุขีวัย ภาพ/เทคนิค : วัชร มีแสงเงิน วิดีโอ : สมชาย มารศรี อำนวยการข่าว : ภาสันต์ นุพาสันต์
โซนนิ่งยางพาราต้องใช้จริงร่วมกับพืชเศรษฐกิจอื่นจึงจะเกิดประโยชน์
นายธีรพงศ์ ตันติเพชราภรณ์ ประธานคณะกรรมการด้านยางพารา สภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวว่า เรื่องของยางพาราในขณะนี้ คณะกรรมการด้านยางพารา สภาเกษตรกรแห่งชาติได้มีการนำเสนอโครงการลดการกรีดยางเพื่อเป็นการลดซัพพลายออกจากสวนยาง นโยบายนี้รัฐบาลนำไปปฏิบัติได้ก็จะเกิดประโยชน์ในเรื่องวัตถุดิบหรือซัพพลายออกมาน้อยจะทำให้เกิดการขาดแคลน ระบบราคา / ตลาด เพื่อหาซื้อวัตถุดิบจะเขยิบขึ้นเกิดประโยชน์กับเกษตรกรและรัฐบาลก็จะสามารถเขยิบราคายางภายในประเทศได้ ส่วนกรณีที่ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะใช้อำนาจตามพ.ร.บ.เศรษฐกิจการเกษตร พ.ศ.2522 มาตรา 5 โดยคณะกรรมการสามารถพิจารณากำหนดเขตพืชเศรษฐกิจได้ซึ่งจะนำมาใช้กับยางพาราเป็นชนิดแรก เกษตรกรและสภาเกษตรกรฯมีการหารือกันว่าจำเป็นต้องใช้ไหม ด้วยที่ผ่านมาปล่อยให้เกษตรกรปลูกได้ตามใจผลผลิตจึงได้บ้างไม่ได้บ้าง คุณภาพมีบ้างไม่มีบ้าง ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ทางภาครัฐต้องใช้ข้อมูลเชิงวิชาการให้ความรู้กับเกษตรกรแล้วกำหนดพื้นที่ที่สามารถปลูกได้อย่างเหมาะสมเพื่อการผลิตที่มีต้นทุนที่ต่ำได้ผลผลิตสูง แต่มองว่าจะใช้กับยางพาราอย่างเดียวไม่น่าจะเกิดประโยชน์อยากให้ครอบคลุมไปถึงพืชชนิดอื่น เช่น ปาล์มน้ำมัน ฯลฯ อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าเกษตรกรมีทั้งบุกรุกป่าและป่าบุกรุกพื้นที่เกษตรกรซึ่งต้องมีแนวทางในการช่วยเหลือเยียวยา ทั้งจากกรณีมีเอกสารสิทธิ์ไม่บุกรุกป่าและบุกรุกป่า กับไม่มีเอกสารสิทธิ์บุกรุกป่าและไม่บุกรุกป่า ส่วนที่เกษตรกรบุกรุกป่าจริงมาตรการเยียวยาอาจไม่ครอบคลุมและทั่วถึงซึ่งต้องเข้าไปแก้ปัญหาในเรื่องของสิทธิทำกินก่อน “ การประกาศโซนนิ่งจะทำให้เกษตรกรมีการจัดการอย่างมีคุณภาพ ผลผลิตมีปริมาณมากขึ้น ต้นทุนต่ำ คุณภาพสูงเพราะเป็นการปลูกในพื้นที่ที่เหมาะสม ภาคเหนือ ภาคอีสานถ้าเป็นพื้นที่ไม่เหมาะสมรัฐควรจะต้องมีนโยบายในเรื่องของการปรับเปลี่ยนถ้ายังไม่สามารถควบคุมได้ก็ต้องลดการช่วยเหลือ ซึ่งนั่นหมายถึงเกษตรกรที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์หรือว่าไม่ปลูกในโซนนิ่งก็ไม่สามารถรับการช่วยเหลือได้ การจัดโซนนิ่งจึงจะเกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพ แต่ถ้าประกาศแล้วพื้นที่ยังเหมือนเดิมไม่มีการปรับเปลี่ยนอะไรก็เปล่าประโยชน์ แต่ถ้าพื้นที่นั้นไม่เหมาะสมทางกยท.ก็จะมีทางเลือกให้ เช่น ปลูกปาล์มน้ำมัน ไม้เศรษฐกิจ เศรษฐกิจพอเพียงได้ เข้าใจว่ายางพาราใช้เวลาปลูก 25-30 ปี จะให้เกษตรกรโค่นยางขณะที่กำลังได้ผลผลิตก็เป็นไปได้ยาก […]
สภาเกษตรฯ Channel – ทส.เข้าร่วมประชุมสภาเกษตรกรแห่งชาติ ครั้งที่ 5/2561
พลเอกสุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เข้าร่วมการประชุมสภาเกษตรกรแห่งชาติ ครั้งที่ 5/2561 ณ ห้องประชุมพึ่งบุญ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรุงเทพฯ โดยได้ชี้แจงถึงแนวทางความร่วมมือในการทำงานร่วมกันระหว่างกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกับสภาเกษตรกรแห่งชาติ
กระทรวงทรัพยากรฯ พลิก 360 องศา ร่วมสภาเกษตรกรฯ เปิดป่าเพื่อชุมชน
ในการประชุมสภาเกษตรกรแห่งชาติ ครั้งที่ 5/2561 เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2561 ณ ห้องประชุมพึ่งบุญ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พลเอกสุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ ได้เข้าร่วมประชุมเพื่อชี้แจงถึงแนวทางความร่วมมือในการทำงานร่วมกันระหว่างกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.)กับสภาเกษตรกรแห่งชาติ โดยพลเอกสุรศักดิ์ ได้กล่าวว่า จากการทำงานที่ผ่านมาของ ทส.จะเป็นการบังคับ จับกุมผู้ที่บุกรุกพื้นที่ป่า ปัจจุบัน ทส.หันหลังกลับแบบ 360 องศาปรับเปลี่ยนการทำงานเป็นลักษณะส่งเสริมการอยู่ร่วมกันระหว่างป่ากับชุมชน และจากข้อเสนอสภาเกษตรกรฯที่ให้มีการปลูกไม้เศรษฐกิจได้ ทส.กำลังแก้ไขเพิ่มเติม เมื่อเปิดมาตรา 7 ในพ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2489 เพื่อให้กฎหมายเข้าสู่สภานิติบัญญัติแห่งชาติน่าจะไม่เกินสิ้นเดือนตุลาคม 2561 เพียงแต่จะเพิ่มเติมเพื่อให้กฎหมายฉบับนี้ครอบคลุมพื้นที่ สปก.และพื้นที่อนุญาตอื่นๆด้วย …………………………………… ข่าว : วัฒนรินทร์ สุขีวัย ภาพ/เทคนิค : วัชร มีแสงเงิน วิดีโอ : สมชาย มารศรี อำนวยการข่าว : ภาสันต์ นุพาสันต์
ทส.พลิก 360 องศา ร่วมสภาเกษตรกรฯ เปิดป่าเพื่อชุมชน
ในการประชุมสภาเกษตรกรแห่งชาติ ครั้งที่ 5/2561 เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2561 ณ ห้องประชุมพึ่งบุญ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรุงเทพฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พลเอกสุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ ได้เข้าร่วมประชุมเพื่อชี้แจงถึงแนวทางความร่วมมือในการทำงานร่วมกันระหว่างกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.)กับสภาเกษตรกรแห่งชาติ โดยพลเอกสุรศักดิ์ กล่าวว่า จากการทำงานที่ผ่านมาของ ทส.เมื่อก่อนจะเป็นการบังคับ จับกุมผู้ที่บุกรุกพื้นที่ป่า ปัจจุบัน ทส.หันหลังกลับแบบ 360 องศาปรับเปลี่ยนการทำงานมาเป็นลักษณะส่งเสริมการอยู่ร่วมกันระหว่างป่ากับชุมชน ซึ่งจะทำให้เมื่อเผชิญหน้ากันระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับประชาชนจะเปลี่ยนเรื่องคุยจากเรื่องการบุกรุกที่ดิน บทกำหนดโทษ เป็นการคุยกันถึงเรื่องการปลูกอะไรดี เพาะพันธุ์อย่างไร ขายอย่างไร ซึ่งต้องทำความเข้าใจกับข้าราชการที่ปลูกฝังกันมานานให้เปลี่ยนแนวคิดตามนโยบายของรัฐบาล “จากข้อเสนอสภาเกษตรกรฯที่ให้มีการปลูกไม้เศรษฐกิจได้ ทส.กำลังแก้ไขเพิ่มเติม เมื่อเปิดมาตรา 7 ในพ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2489 เพื่อให้กฎหมายเข้าสู่สภานิติบัญญัติแห่งชาติน่าจะไม่เกินสิ้นเดือนตุลาคม 2561 เพียงแต่จะเพิ่มเติมเพื่อให้กฎหมายฉบับนี้ครอบคลุมพื้นที่ สปก.และพื้นที่อนุญาตอื่นๆด้วย คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ(คทช.)จะได้เปิดโอกาสให้ดำเนินการใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ สำหรับข้อติดขัดในการทำธุรกิจต่อเนื่องจากไม้ จึงต้องมีการปรับเรื่องการอนุญาตให้มีความง่ายสะดวก รวดเร็วขึ้น และนั่นเป็นนโยบายของรัฐบาลในการอำนวยความสะดวกทุกกระทรวงต้องอำนวยความสะดวกให้ การจดทะเบียนหรืออนุญาตตามกฎหมายจะไม่เกิน 15 วัน แต่ต้องคุยกับพี่น้องเกษตรกรว่าทำอย่างไรถึงจะสะดวกรวดเร็วและควบคุมเท่าที่จำเป็น หมายความว่าต่อไปนี้ใครมีที่กรรมสิทธิ์สามารถปลูกต้นไม้ได้ ตัดได้ ให้เลือกปลูกไม้ที่มีอนาคตตรงกับความต้องการตลาด หลักก็คือ “ ปลูกง่าย […]
การประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนการปฏิบัติงานตามแผ่แม่บท เพื่อพัฒนาเกษตรกรรมและบูรณาการกับหน่วยงานอื่นในปี 2562
สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ จัดสัมมนาพนักงานสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัด ระหว่างวันที่ 21 – 23 กันยายน 2561 ณ ชลพฤกษ์รีสอร์ท จ.นครนายก เพื่อประสานบูรณาการทำงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และกำหนดทิศทางการปฏิบัติงานในปีงบประมาณ 2562 …………………………………………… ข่าว : ภาสันต์ นุพาสันต์ ภาพ : วัชร มีแสงเงิน อำนวยการข่าว : ภาสันต์ นุพาสันต์
ปี 62 กรมเจรจาการค้าฯ จับมือสภาเกษตรกรฯ ร่วมพาสินค้าเกษตรท้องถิ่นสู่ตลาดโลก
วันนี้ (20 กันยายน 2561) เวลา 09.30 น. นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ(MOU) เรื่อง “ ความร่วมมือในการสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการเปิดเสรีทางการค้า” กับสำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ โดยว่าที่ร้อยตรีสมพูนทรัพย์ กล้าวิกรณ์ เลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ โดยมีนายอภิศักดิ์ อังคสิทธิ์ รองประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ นายเสน่ห์ วิชัยวงษ์ รองเลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ นางสาวบุณิกา แจ่มใส ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาความพร้อมทางการค้า ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ โรงแรมริชมอนด์ สไตล์ลิช คอนเวนชั่น นนทบุรี ภายหลังพิธีลงนาม นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม ได้กล่าวว่า กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศและสภาเกษตรกรแห่งชาติ มีความร่วมมือกันมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2555 อย่างต่อเนื่องในการสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับเกษตรกรและบุคลากรที่เกี่ยวข้องให้มีศักยภาพในการจัดการตลาดสินค้าและมีความพร้อมต่อการเปิดเสรีทางการค้าในรูปแบบของการจัดสัมมนาให้ความรู้กับสมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติทั่วประเทศ โดยที่ผ่านมานั้นทั้ง 2 หน่วยงานไม่มีการลงนามร่วมกัน ในการลงนามครั้งนี้จึงถือเป็นการกระชับความร่วมมือให้เหนียวแน่นยิ่งขึ้น โดยเฉพาะความร่วมมือในการส่งเสริมเกษตรกรให้มีความรู้ ความเข้าใจในการตกลงทางการค้าเสรีร่วมกับประเทศต่างๆทั้งความตกลงFTAที่มีผลบังคับใช้แล้ว 12 ฉบับ ใน 17 ประเทศรวมทั้งความตกลงทางการค้าที่อยู่ระหว่างเจรจา “อาเซียน-ฮ่องกง” […]