สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติร่วมพิธีวันพระบิดาแห่งฝนหลวง ประจำปี 2561

เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2561 ว่าที่ร้อยตรีสมพูนทรัพย์ กล้าวิกรณ์ เลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ เข้าร่วมพิธีถวายราชสักการะ น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอันหาที่สุดมิได้ แด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เนื่องในโอกาสวันพระบิดาแห่งฝนหลวง ประจำปี 2561 ณ ลานอเนกประสงค์ อาคารรัฐประศาสนภักดี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ถนนแจ้งวัฒนะ ………………………………………………………………… ข่าว : วัฒนรินทร์ สุขีวัย ภาพ : อุดมศักดิ์ ทองสดุดี อำนวยการข่าว : เดชา บุญโต

สภาเกษตรฯ ตั้งองค์กรดันกัญชาถึงมือเกษตรกร

            นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า สภาเกษตรกรฯสนใจเรื่องกัญชารักษาโรคมาหลายปี เพราะเกษตรกรเป็นโรคเรื้อรังยิ่งเกษตรกรใช้ยาเคมีสารเคมีเกษตรเยอะก็ยิ่งเจ็บป่วยและเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลสูงมาก สภาเกษตรกรฯอยากเห็นเกษตรกรสามารถที่จะบำบัดตนเองได้ด้วยกัญชา เพราะว่าพิสูจน์มาช้านานแล้วว่าได้ผล ที่สำคัญคือต้นทุนไม่แพงและกัญชายังเป็นโอกาสของเกษตรกรสามารถสร้างอาชีพที่มั่นคง สร้างรายได้ให้กับตนเองและประเทศชาติ กัญชาที่ซื้อ-ขายในตลาดโลกคุณภาพดีกิโลกรัมละหลายหมื่นบาท กัญชาที่ผลิตจาก สปป.ลาว อย่างน้อยกิโลกรัมละ 5,000 บาท ประเทศไทยสามารถสร้างความมั่งคั่งได้จากพืชเกษตรกัญชาได้  หลายเดือนที่ผ่านมานี้ภาครัฐเหมือนจะยอมรับ เหมือนจะปลดล็อกแต่ตามลึกๆหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีหน้าที่โดยตรงพยายามบิดเบือนเรื่องที่สภาเกษตรกรแห่งชาติพยายามนำเสนอมาตลอด และจะเป็นการเปิดโอกาสให้กับบริษัทยักษ์ใหญ่เข้ามาหาประโยชน์จากสารสกัดกัญชารักษาโรค  รวมทั้งการเปลี่ยนกัญชา , กระท่อม จากยาเสพติดประเภท 5 ให้เป็นยาเสพติดตามบัญชีรายชื่อประเภท 2 นั้น หลังจากที่ศึกษาแล้วก็ต้องตกใจกัญชากลับกลายเป็นสารเสพติดประเภทเดียวกับมอร์ฟีนซึ่งโทษแรงมากและสั่งโดยแพทย์แผนปัจจุบันสกัดโดยบริษัทข้ามชาติเท่านั้นจึงจะสามารถขึ้นทะเบียนได้  ซึ่งตรงนี้สภาเกษตรกรแห่งชาติไม่เห็นด้วย ชัดเจนว่าเอื้อประโยชน์ต่อทุนใหญ่และบริษัทข้ามชาติ มีรายละเอียดเยอะมากที่สามารถจะคิดได้อย่างนั้น ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนการขึ้นทะเบียนยา การขออนุญาต ยุ่งยากเกินกว่าเกษตรกรและผู้ประกอบการในประเทศไทยจะเข้าถึงได้ ถ้าปล่อยไปผู้ป่วย , ลูกหลานในอนาคตจะเสียใจเพราะจะไม่มีโอกาสเข้าถึงยากัญชารักษาโรคเลยนอกจากคนมีเงินเท่านั้น   อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 12 พ.ย.2561 เวลา 13.30 น. สภาเกษตรกรแห่งชาติได้จัดประชุมเครือข่ายที่สนใจเรื่องกัญชารักษาโรค ทั้งแพทย์ ผู้มีความชำนาญ […]

คณะทำงานพิจารณาร่างพ.ร.บ.ข้าว พ.ศ….. สภาเกษตรกรแห่งชาติประชุมเสริมทัพร่าง พ.ร.บ.ข้าวฯ

          เมื่อวันที่ 6 พ.ย.61 คณะทำงานพิจารณาร่างพระราชบัญญัติข้าว พ.ศ…..นำโดยนายสมศักดิ์ คุณเงิน ประธานคณะทำงานพิจารณาร่างพ.ร.บ.ข้าว พ.ศ….. สภาเกษตรกรแห่งชาติ พร้อมคณะทำงานร่วมพิจารณาร่างพระราชบัญญัติข้าว พ.ศ….. ณ ห้องประชุม 201 อาคารวชิรานุสรณ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมีนายกฤชธนา ทองประเสริฐ ผู้อำนวยการกลุ่มมาตรการค้าข้าว กระทรวงพาณิชย์ ร่วมให้ความคิดเห็น โดยคณะทำงานฯเตรียมเสนอข้อมูลเพิ่มเติม ในประเด็นเขตเศรษฐกิจพิเศษปลูกข้าวแบบเกษตรกรรมยั่งยืนในแต่ละอำเภอที่มีพื้นที่ทำนาเกิน 25,000 ไร่ขึ้นไป และเสนอจัดตั้งกองทุนพัฒนาข้าวและชาวนาทุนประเดิม 20,000ล้านบาท  ให้ชาวนามีสวัสดิการ บำนาญให้เสร็จสิ้นภายใน 2 ปี และจะรีบเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติ( สนช.)พิจารณาประกบร่างพ.ร.บ.ข้าวฯของรัฐบาลและ สนช.ต่อไป ……………………………………………….. ข่าว : วัฒนรินทร์ สุขีวัย ภาพ : วัชร มีแสงเงิน อำนวยการข่าว : เดชา บุญโต

ข่าวประชาสัมพันธ์ ประจำวันพุธที่ 7 พฤศจิกายน 2561

ข่าวประชาสัมพันธ์ ประจำวันพุธที่ 7 พฤศจิกายน 2561 สภาเกษตรกรจังหวัดสุราษฎร์ธานีร่วมวางมาตรการขับเคลื่อนปาล์มน้ำมันคุณภาพและการพัฒนาปาล์มน้ำมันคุณภาพจังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 4 พ.ย.61 นายสิทธิพร จริยพงศ์ รองประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ และประธานสภาเกษตรกรจังหวัดสุราษฎร์ธานี เข้าร่วมการวางมาตรการขับเคลื่อนปาล์มน้ำมันคุณภาพและการพัฒนาปาล์มน้ำมันคุณภาพจังหวัดสุราษฎร์ธานี ณ ห้องประชุมตาปี ศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี ด้วยเหตุราคาปาล์มน้ำมันได้ปรับลดลงอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มจะลดลงอีก ทั้งนี้ จ.สุราษฎร์ธานีได้ยกระดับคุณภาพปาล์มโดยมีเจ้าหน้าที่จากสำนักงานเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานีและทหารทำหน้าที่ร่วมคัดเลือกกรณีมีปัญหาปาล์มที่มีคุณภาพต่ำกว่า 18% ตามประกาศจังหวัดเพื่อกักเก็บรอคณะทำงานตรวจสอบ เพื่อดูแลการนำผลผลิตเข้าสู่โรงงานให้มีคุณภาพตรงตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และจัดตั้งคณะทำงานปฏิบัติงาน ณ โรงงานสกัดน้ำมันปาล์มแบบแยกเมล็ด 20 โรง ในพื้นที่ 8 อำเภอ เพื่อเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาราคาปาล์มน้ำมันคุณภาพจังหวัดสุราษฎร์ธานี จากการดำเนินการตามมาตรการดังกล่าวส่งผลให้อัตราการสกัดน้ำมันปาล์มจากเดิม 17.34% ณ 3 พ.ย.61 ทุกโรงสกัดได้เกิน 18% รับซื้อปาล์มคุณภาพที่ 18% ขึ้นไปราคาโดยรวมที่ 3.10 – 3.30 บาท/กก. และจากมติที่ประชุมการขับเคลื่อนปาล์มน้ำมันคุณภาพจังหวัดสุราษฎร์ธานี พาณิชย์จังหวัดจะเสนอกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรมเร่งรัด/ส่งเสริมใช้ B20 ให้แพร่หลาย และโรงงานไฟฟ้าฝ่ายผลิตใช้น้ำมันปาล์มผลิตเมื่อเดือน ก.ย – ต.ค.ที่ผ่านมา […]

ธกส.เข้าหารือสภาเกษตรกรแห่งชาติเพื่อเตรียมนำ 600 องค์กรเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเข้าสู่กระบวนการพัฒนาก่อนเข้าถึงแหล่งทุน

เมื่อวันที่ 5 พ.ย.61 ว่าที่ร้อยตรีสมพูนทรัพย์ กล้าวิกรณ์ เลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ และ นายภาสันต์ นุพาสันต์ ผู้ช่วยเลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ ให้การต้อนรับ นายสมศักดิ์ บุษยะกนิษฐ์    ผู้ช่วยผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ณ ห้องประชุม 3 อาคารวชิรานุสรณ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในโอกาสเข้าหารือเพื่อเตรียมนำ 600 องค์กรเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับสภาเกษตรกรแห่งชาติเข้าสู่กระบวนการพัฒนากับ ธกส.ก่อนเข้าถึงแหล่งเงินทุน  และในโอกาสนี้ ธกส.ได้เชิญให้สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติร่วมจัดงาน “สานพลังปฏิรูปภาคเกษตรไทย โดยกลไกตลาดอย่างยั่งยืน” โดยนำผลิตภัณฑ์จากเกษตรกรเข้าร่วมออกบูธ ระหว่างวันที่ 23 – 25 พ.ย.61 ณ เมืองทองธานี ด้วย …………………………………………………………………………………….. ข่าว : วัฒนรินทร์ สุขีวัย ภาพ : วัชร มีแสงเงิน อำนวยการข่าว : เดชา บุญโต

สภาเกษตรกรแห่งชาติเข้ารับรางวัลส่งเสริมการออมดีเด่น ประจำปี 2561 เนื่องในวันออมแห่งชาติ

ว่าที่ร้อยตรีสมพูนทรัพย์ กล้าวิกรณ์ เลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ เข้ารับโล่เกียรติคุณ รางวัลสนับสนุนและส่งเสริมการออมดีเด่น ประจำปี 2561 เนื่องในวันออมแห่งชาติ 31 ตุลาคม 2561 จากนายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ณ ห้องประชุมวายุภักษ์ กระทรวงการคลัง           ว่าที่ร้อยตรีสมพูนทรัพย์ กล่าวภายหลังเข้ารับรางวัลว่า อาชีพเกษตรกรทำงานเหนื่อยหนักทั้งชีวิตแต่ไม่มีสวัสดิการเหมือนกับอาชีพอื่น การออมกับกองทุนการออมแห่งชาติ(กอช.)เป็นวิธีการที่เกษตรกรสามารถใช้เป็นหลักประกันในชีวิตหลังวัย 60 ปีได้ รวมทั้งแรงงานนอกระบบ ที่มีอายุ 15 –  60 ปี  ผู้ที่ไม่ได้เป็นผู้ประกันตน มาตรา 33, มาตรา 39, มาตรา 40 ทางเลือก 2, มาตรา 40 ทางเลือก 3 ไม่เป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ไม่เป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ยังไม่ได้รับสิทธิสวัสดิการบำนาญจากรัฐบาลสามารถร่วมออมกับ กอช. และยังได้รับเงินสมทบจากรัฐบาลเพิ่ม 50 – 100% […]

ข่าวประชาสัมพันธ์ ประจำวันพุธที่ 31 ตุลาคม 2561

ข่าวประชาสัมพันธ์ ประจำวันพุธที่ 31 ตุลาคม 2561 สภาเกษตรกรแห่งชาติจี้รัฐบาลเร่งแก้ราคาสินค้าเกษตรภาคใต้ร่วงยกแผง ทั้งปาล์ม-มะพร้าว-ยางพารา นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวว่า ขณะนี้สินค้าเกษตรที่สำคัญของทางภาคใต้ ทั้งปาล์มน้ำมัน-มะพร้าว-ยางพาราต่างมีราคาตกต่ำส่งผลให้เกษตรกรขาดทุนและแม้ว่ารัฐบาลจะมีนโยบายด้าน “การตลาดนำการผลิต” แต่ก็ยังไม่เห็นผลอย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม หากรัฐไม่เร่งแก้ไขสถานการณ์จะส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อของประชาชนในภาคใต้ในช่วงปลายปีปรับลดลงแน่นอน ทั้งนี้ ปัจจุบันปาล์มน้ำมันเกษตรกรขายได้เพียง กก.ละ 2 – 2.60 บาท / ยางพาราราคาน้ำยางเหลือ 3 กิโลกรัม ราคา 100 บาท ขณะที่มะพร้าวเกษตรกรหน้าสวนขายได้ราคา กก.ละ 2.50 บาทถึง 3 บาทเท่านั้น ส่วนแนวทางการแก้ไขปัญหานั้น ปาล์มน้ำมัน จะต้องสร้างดีมานด์เพื่อดึงซัพพลายออกจากตลาด ทั้งการผลักดันการส่งออกและการเร่งผลิตไบโอดีเซล B20 ขณะที่มะพร้าวรัฐบาลควรเร่งแก้ไขปัญหาโดยการเช็คสต๊อกและสั่งให้ระงับการนำเข้าเป็นเวลา 1 ปี ยางพาราเป็นสินค้าที่น่าเป็นห่วงที่สุด เพราะมีปัญหาอย่างรุนแรงและยืดเยื้อมาเป็นเวลานาน ปัจจุบันปริมาณสต๊อกยางพาราเก่าของรัฐบาลส่งผลในแง่จิตวิทยาต่อราคาตลาดทำให้การส่งออกลดลง ส่วนการกระตุ้นความต้องการใช้ยางพาราภายในประเทศยังไม่ได้เกิดผล รัฐบาลต้องกระตุ้นการใช้ยางภายในประเทศให้มากขึ้น สภาเกษตรกรจังหวัดชัยนาทประสานมูลนิธิชัยพัฒนาขอรับแพะพระราชทาน “พันธุ์แบล็คเบงกอล” พันจ่าเอกเทียนชัย หัตถินาท ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดชัยนาท กล่าวว่า […]

เกษตรกรชุมชนตะเคียนเตี้ย จ.ชลบุรี กินกะลามะพร้าว ขายกิโลละพัน!

          นายภาสันต์ นุพาสันต์ ผู้ช่วยเลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า จากการนำปฏิรูปภาคการเกษตรของสภาเกษตรกรแห่งชาติโดยให้เกษตรกรแปรรูปผลผลิตเป็นผลิตภัณฑ์แล้วจึงขาย เป้าหมายต่อไปคือการตลาดของผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปซึ่งเห็นว่าการทำให้พื้นที่การเกษตรเป็นแหล่งท่องเที่ยว เป็นการตลาดที่ดีช่องทางหนึ่งจึงประสานงานกับสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดชลบุรีเพื่อเรียนรู้การบูรณาการร่วมกับองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน(องค์การมหาชน)(อพท.) ณ วิสาหกิจชุมชนตะเคียนเตี้ย (บ้านร้อยเสา) อ.บางละมุง จ.ชลบุรี ซึ่งได้พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม  ในอดีตชุมชนตะเคียนเตี้ยมีอาชีพทำนา น้ำสมบูรณ์ตลอดทั้งปีแต่ต่อมาน้ำที่ใช้ทำนาเริ่มไม่เพียงพอ ชาวบ้านส่วนใหญ่จึงหันไปปลูกมะพร้าวเพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัว จนปัจจุบันมีการทำเกษตรผสมผสานมากขึ้น แต่มะพร้าวยังถือเป็นพืชหลักของชุมชนโดยสามารถใช้ภูมิปัญญาสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากมะพร้าวได้หลากหลายและที่สร้างชื่อให้กับชุมชนคือ “แกงไก่กะลา” โดยนางอภิญญา ทิพนาค (ป้าแป๊ด) อายุ 54 ปี ชาวบ้านตะเคียนเตี้ยผู้ปลูกมะพร้าวพันธุ์หมูสีซึ่งเป็นพันธุ์พื้นเมืองเล่าให้ฟังว่า ปลูกมะพร้าวพันธุ์ดังกล่าวพื้นที่ 2 ไร่ มะพร้าวหมูสีเป็นพันธุ์ดั้งเดิมของที่นี่เป็นพันธุ์กินผลอ่อน น้ำมีรสชาติหวานแต่ไม่หอม ที่รอบหัวจุกมะพร้าวจะเป็นสีขาวเมื่อดึงขั้วจุกออกจะมีสีชมพูยังไม่มีเนื้อมะพร้าวเป็นกะลาอ่อนรสชาติกรุบ กรอบ มัน หวานอ่อน หอมมะพร้าวอ่อน อร่อย หากรอบขั้วจุกมะพร้าวเป็นสีเขียวจะมีเนื้อมะพร้าวใช้กินไม่ได้เพราะกะลาจะมีรสฝาด คนในชุมชนตะเคียนเตี้ยกินกะลามะพร้าวอ่อนกันมานาน และขายเป็นมะพร้าวกินผลอ่อนโดยนำกะลามาบริโภคเป็นอาหารราคาขายอยู่ที่ลูกละ 25-30 บาท ซึ่งกะลามะพร้าวอ่อนจะเก็บได้เมื่อลูกมะพร้าวออกทะลาย 2-3 เดือน ใน 1 ปีจะมีผลผลิต 12 ทะลายต่อต้น […]

สภาเกษตรฯ Channel – เกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดพร้อมปรับเปลี่ยนแต่ขาดแหล่งพันธุ์ องค์ความรู้ แหล่งรับซื้อฯ

          นายเติมศักดิ์ บุญชื่น ประธานคณะกรรมการด้านพืชไร่ สภาเกษตรกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า ตอนนี้สับปะรด เกิดวิกฤติทางผู้ผลิตสับปะรด สมาคมสับปะรดทางภาคตะวันออก ภาคตะวันตกได้เสนอประเด็นปัญหามาที่สภาเกษตรกรแห่งชาติและมอบหมายให้คณะทำงานด้านพืชไร่จัดการสัมมนาเพื่อหาทางออกและข้อเสนอแนะสู่รัฐบาลว่าแนวทางการขับเคลื่อนจะทำกันอย่างไร ซึ่งจากการจัดเวทีรับฟังเกษตรกรส่วนใหญ่เห็นด้วยที่จะปรับเปลี่ยนแต่ ณ วันนี้เกษตรกรไม่รู้จะปรับเปลี่ยนยังไงเนื่องจากขาดแหล่งพันธุ์ , แหล่งองค์ความรู้ และแหล่งรับซื้อ ภาครัฐที่เกี่ยวข้องควรเข้าช่วยเหลือในเรื่องที่เกษตรกรต้องการอย่างแท้จริงเพื่อยกระดับคุณภาพของผลสดให้มีคุณภาพสูงเพื่อการส่งออกหรือการบริโภคภายในไปสู่ตลาด …………………………………… ข่าว : วัฒนรินทร์ สุขีวัย ภาพ/เทคนิค : วัชร มีแสงเงิน วิดีโอ : สมชาย มารศรี อำนวยการข่าว : เดชา บุญโต

1 60 61 62 63 64 90