ข่าวประชาสัมพันธ์ ประจำวันพุธที่ 24 ตุลาคม 2561

    กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศเข้าหารือสภาเกษตรกรแห่งชาติกรณี CPTPP เมื่อวันที่ 19 ต.ค.61 นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศและคณะเข้าพบหารือกับนายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ในการจะทำข้อตกลง CPTPP ที่เป็นประเด็นข้อกังวลของภาคเกษตรกรรม โดยประธานสภาสภาเกษตรกรแห่งชาติได้แสดงความห่วงใยเกษตรกรรายย่อยที่ต้องสร้างการรับรู้ และใช้เวลาในการปรับตัว รวมถึงเสนอให้มีกองทุน CPTPP ที่จะช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อยที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งในการหารือครั้งนี้อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศได้หารือแผนกิจกรรมที่ทั้งสองหน่วยงานจะทำร่วมกันภายใต้ความร่วมมือในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ที่กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศลงนามกับสภาเกษตรกรแห่งชาติ เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจแก่เกษตรกรในการจัดการตลาดสินค้าเกษตร และใช้ประโยชน์จากการเปิดเสรีทางการค้า โดยได้กำหนดกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นในปี 2561-2562 ซึ่งกรมเจรจาฯจะลงพื้นที่ให้ความรู้แก่เกษตรกรเกี่ยวกับความตกลงการค้าเสรี หรือเอฟทีเอ (FTA) ฉบับต่างๆ และจะนำผู้เชี่ยวชาญไปแนะนำ ตั้งแต่การพัฒนาศักยภาพและคุณภาพผลผลิตการเกษตร การแปรรูป และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตรและการนำสินค้าเกษตรออกสู่ตลาด ทั้งตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะการส่งออกไปประเทศที่ไทยมีเอฟทีเอ ซึ่งเบื้องต้นกรมเจรจาฯ จะร่วมกับสภาเกษตรกรแห่งชาติคัดเลือกสินค้าและกลุ่มจังหวัดที่จะลงพื้นที่และจัดกิจกรรมให้ความรู้แก่เกษตรกร แบ่งได้ 6 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง / กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน /กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง /กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกและกลุ่มจังหวัดภาคใต้ ความร่วมมือดังกล่าวจะช่วยให้เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความตกลงการค้าเสรี ฉบับต่างๆ ที่ไทยจัดทำกับประเทศคู่ค้า ซึ่งปัจจุบันมี 12 […]

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศเข้าหารือสภาเกษตรกรแห่งชาติกรณี CPTPP

เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2561 นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศและคณะเข้าพบหารือกับนายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ในการจะทำข้อตกลง CPTPP ที่เป็นประเด็นข้อกังวลของภาคเกษตรกรรม โดยประธานสภาสภาเกษตรกรแห่งชาติได้แสดงความห่วงใยเกษตรกรรายย่อยที่ต้องสร้างการรับรู้ และใช้เวลาในการปรับตัว รวมถึงเสนอให้มีกองทุน CPTPP ที่จะช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อยที่ได้รับผลกระทบ ในการหารือครั้งนี้อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศได้เชิญประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติร่วมเดินทางไปศึกษากรณีประเทศเวียดนามได้รับผลกระทบหลังจากเข้าร่วมกรอบ TPP รวมทั้งเห็นตรงกันในเรื่องควรมีระยะเวลาในการทำความเข้าใจและให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในกระบวนการ CPTPP มากขึ้น …………………………………………… ข่าว : วัฒนรินทร์ สุขีวัย ภาพ : โสวัจ อาทรเมทนี อำนวยการข่าว : เดชา บุญโต  

ข่าวประชาสัมพันธ์ ประจำวันพุธที่ 17 ตุลาคม 2561

ข่าวประชาสัมพันธ์ ประจำวันพุธที่ 17 ตุลาคม 2561 สภาเกษตรกรแห่งชาติร่วมเสวนาเตรียมฟื้นฟู ต.พร่อน จ.ยะลา นำร่องต้นแบบตำบลปลา ครบวงจร เมื่อวันที่ 15 ต.ค.2561 นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ร่วมพบปะพูดคุยกับผู้เกี่ยวข้อง รวมทั้งเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาในพื้นที่ หมู่ที่ 1 ถึง 6 ต.พร่อน อ.เมือง จ.ยะลาและเสวนาบูรณาการเรื่อง “การพัฒนาตำบลปลา” ในพื้นที่ ต.พร่อน เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนตำบลพร่อน ให้เป็นหมู่บ้านปลาอย่างครบวงจร จากเดิมเกษตรกรในพื้นที่ส่วนใหญ่มีอาชีพทำสวนยาง อย่างไรก็ตาม กลุ่มเลี้ยงปลาตำบลพร่อน มีบ่อปลาอยู่ถึง 100 บ่อ เลี้ยงบ้างไม่เลี้ยงบ้าง บางบ่อร้าง ถือเป็นต้นทุนที่ดี ถ้าได้เลี้ยงปลาอย่างจริงจังเพราะจะเป็นการสร้างรายได้เสริมอีกทางหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันเกษตรกรเลี้ยงทั้งปลานิล ปลาตะเพียน เป็นปลากินพืช และเพื่อต่อยอดพัฒนาศักยภาพผู้เลี้ยงปลา ได้คัดบ่อที่มีคุณภาพ ได้ขนาด น้ำไม่ท่วม ไม่แล้ง ผู้เลี้ยงจริงจัง เพาะพันธุ์ เลี้ยงเอง และทำอาหารปลา จำนวน 20 ราย […]

เกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดพร้อมปรับเปลี่ยน แต่ขาดแหล่งพันธุ์ องค์ความรู้ แหล่งรับซื้อ เตือนต้องรู้เท่าทันต้นทุน และใช้ตลาดนำการผลิต

         นายเติมศักดิ์ บุญชื่น ประธานคณะกรรมการด้านพืชไร่ สภาเกษตรกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า ตอนนี้สับปะรด เกิดวิกฤติทางผู้ผลิตสับปะรด สมาคมสับปะรดทางภาคตะวันออก ภาคตะวันตกได้เสนอประเด็นปัญหามาที่สภาเกษตรกรแห่งชาติและมอบหมายให้คณะทำงานด้านพืชไร่จัดการสัมมนาเพื่อหาทางออกและข้อเสนอแนะสู่รัฐบาลว่าแนวทางการขับเคลื่อนจะทำกันอย่างไร  ทั้งนี้ ประเด็นปัญหาที่ราคาสับปะรดตกต่ำเกิดจากวิกฤตที่ไม่สามารถควบคุมได้  เนื่องจากสับปะรดปี 60 ผ่านแล้งมาก่อนทำให้มีราคาสูงขึ้นเกษตรกรปลูกกันมากขึ้น กอปรกับฤดูหนาวต่อเนื่องยาวนานทำให้สับปะรดออกมากผิดปกติจึงทำให้ราคาตกต่ำเป็นประวัติการ  สภาเกษตรกรแห่งชาติจึงทำข้อเสนอไปยังรัฐบาลให้กำหนดลดปริมาณที่มีอยู่ลงไป โดยส่งเสริมเชื่อมโยงไปสู่จังหวัดที่ไม่มีการปลูกสับปะรดให้บริโภคผลสดมากขึ้น  ซึ่งจะเป็นมาตรการหนึ่งที่จะดึงราคาให้สูงขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม ในช่วงตั้งแต่เดือนธันวาคมเป็นต้นไปใกล้ถึงฤดูกาลผลผลิตออก สภาเกษตรกรแห่งชาติจะทำบันทึกถึงส่วนงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอใช้มาตรการการเชื่อมโยงกับผู้บริโภคในพื้นที่ที่ไม่มีการปลูกสับปะรดต่อไป ซึ่งสภาเกษตรกรฯได้สรุปประเด็นปัญหาตามกรอบยุทธศาสตร์นโยบายสับปะรดได้เดินไว้ด้วยเห็นพ้องว่าควรกำหนดพื้นที่เป้าหมายที่ 1  ได้แก่ในรอบรัศมี 100 กิโลเมตรรอบโรงงานผลิตควรเป็นพื้นที่ผลิตส่งโรงงาน  พื้นที่เป้าหมายที่ 2  คือนอกรัศมี 100 กิโลเมตรโรงงานผลิต หรือในเขตภาคอีสานและเขตภาคเหนือบางส่วนควรเป็นพื้นที่ผลิตเพื่อบริโภคผลสดหรือการแปรรูป และควรปรับเปลี่ยนสายพันธุ์ ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เหมาะสมแปรรูปผลิตเป็นสับปะรดอบแห้ง ไซรัป หรือน้ำสับปะรดร้อยเปอร์เซ็นต์จะทำให้เพิ่มมูลค่าได้ โดยการแยกส่วนหรือพื้นที่ปลูกจากกันหรือจัดโซนนิ่งจะทำให้เกิดเสถียรภาพดีขึ้น ซึ่งจากการจัดเวทีรับฟังเกษตรกรส่วนใหญ่เห็นด้วยที่จะปรับเปลี่ยนแต่ ณ วันนี้เกษตรกรไม่รู้จะปรับเปลี่ยนยังไงเนื่องจากขาดแหล่งพันธุ์ , แหล่งองค์ความรู้  และแหล่งรับซื้อ  ภาครัฐที่เกี่ยวข้องควรเข้าช่วยเหลือในเรื่องที่เกษตรกรต้องการอย่างแท้จริงเพื่อยกระดับคุณภาพของผลสดให้มีคุณภาพสูงเพื่อการส่งออกหรือการบริโภคภายในไปสู่ตลาดยุโรป ตลาด EU  ตลาดสหรัฐ และตลาดจีนซึ่งมีความต้องการสูงโดยการถนอมอาหารจะทำให้สร้างมูลค่าเพิ่มได้อย่างสูงสุดด้วย “ เกษตรกรต้องรู้เท่าทันการผลิตสินค้า การคำนวณต้นทุนการผลิต […]

สภาเกษตรฯ Channel – โซนนิ่งยางพาราต้องใช้จริงร่วมกับพืชเศรษฐกิจอื่นจึงจะเกิดประโยชน์

นายธีรพงศ์ ตันติเพชราภรณ์ ประธานคณะกรรมการด้านยางพารา สภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวว่ากรณีที่ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะใช้อำนาจตามพ.ร.บ.เศรษฐกิจการเกษตร พ.ศ.2522 มาตรา 5 โดยคณะกรรมการสามารถพิจารณากำหนดเขตพืชเศรษฐกิจได้ ซึ่งจะนำมาใช้กับยางพาราเป็นชนิดแรกเพื่อการจัดการที่ลดต้นทุนและเพิ่มปริมาณอย่างมีคุณภาพ เกษตรกรและสภาเกษตรกรฯมีการหารือกันว่าจำเป็นต้องใช้ไหม ด้วยที่ผ่านมาปล่อยให้เกษตรกรปลูกได้ตามใจ ผลผลิตได้บ้าง ไม่ได้บ้าง คุณภาพมีบ้าง ไม่มีบ้าง การจัดโซนนิ่งเป็นสิ่งที่ดีไม่ว่าจะเป็นภาคเหนือภาคอีสานถ้าพื้นที่ไหนไม่เหมาะสมรัฐควรจะต้องมีนโยบายในเรื่องของการปรับเปลี่ยน แต่ในส่วนของการปรับเปลี่ยนถ้ายังไม่สามารถควบคุมได้ก็ต้องลดในเรื่องของการที่จะเข้าไปช่วยเหลือเยียวยาซึ่งนั่นหมายถึงว่าเกษตรกรที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์หรือไม่ปลูกในโซนนิ่งก็ไม่สามารถที่จะรับการช่วยเหลือได้ นั่นเป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้มาตรการเรื่องของการใช้โซนนิ่งเกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพ …………………………………… ข่าว : วัฒนรินทร์ สุขีวัย ภาพ/เทคนิค : วัชร มีแสงเงิน วิดีโอ : สมชาย มารศรี อำนวยการข่าว : ภาสันต์ นุพาสันต์

โซนนิ่งยางพาราต้องใช้จริงร่วมกับพืชเศรษฐกิจอื่นจึงจะเกิดประโยชน์

          นายธีรพงศ์ ตันติเพชราภรณ์ ประธานคณะกรรมการด้านยางพารา สภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวว่า เรื่องของยางพาราในขณะนี้ คณะกรรมการด้านยางพารา สภาเกษตรกรแห่งชาติได้มีการนำเสนอโครงการลดการกรีดยางเพื่อเป็นการลดซัพพลายออกจากสวนยาง  นโยบายนี้รัฐบาลนำไปปฏิบัติได้ก็จะเกิดประโยชน์ในเรื่องวัตถุดิบหรือซัพพลายออกมาน้อยจะทำให้เกิดการขาดแคลน ระบบราคา / ตลาด เพื่อหาซื้อวัตถุดิบจะเขยิบขึ้นเกิดประโยชน์กับเกษตรกรและรัฐบาลก็จะสามารถเขยิบราคายางภายในประเทศได้   ส่วนกรณีที่ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะใช้อำนาจตามพ.ร.บ.เศรษฐกิจการเกษตร พ.ศ.2522 มาตรา 5 โดยคณะกรรมการสามารถพิจารณากำหนดเขตพืชเศรษฐกิจได้ซึ่งจะนำมาใช้กับยางพาราเป็นชนิดแรก เกษตรกรและสภาเกษตรกรฯมีการหารือกันว่าจำเป็นต้องใช้ไหม ด้วยที่ผ่านมาปล่อยให้เกษตรกรปลูกได้ตามใจผลผลิตจึงได้บ้างไม่ได้บ้าง คุณภาพมีบ้างไม่มีบ้าง ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ทางภาครัฐต้องใช้ข้อมูลเชิงวิชาการให้ความรู้กับเกษตรกรแล้วกำหนดพื้นที่ที่สามารถปลูกได้อย่างเหมาะสมเพื่อการผลิตที่มีต้นทุนที่ต่ำได้ผลผลิตสูง แต่มองว่าจะใช้กับยางพาราอย่างเดียวไม่น่าจะเกิดประโยชน์อยากให้ครอบคลุมไปถึงพืชชนิดอื่น เช่น ปาล์มน้ำมัน ฯลฯ   อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าเกษตรกรมีทั้งบุกรุกป่าและป่าบุกรุกพื้นที่เกษตรกรซึ่งต้องมีแนวทางในการช่วยเหลือเยียวยา ทั้งจากกรณีมีเอกสารสิทธิ์ไม่บุกรุกป่าและบุกรุกป่า กับไม่มีเอกสารสิทธิ์บุกรุกป่าและไม่บุกรุกป่า ส่วนที่เกษตรกรบุกรุกป่าจริงมาตรการเยียวยาอาจไม่ครอบคลุมและทั่วถึงซึ่งต้องเข้าไปแก้ปัญหาในเรื่องของสิทธิทำกินก่อน “ การประกาศโซนนิ่งจะทำให้เกษตรกรมีการจัดการอย่างมีคุณภาพ ผลผลิตมีปริมาณมากขึ้น ต้นทุนต่ำ คุณภาพสูงเพราะเป็นการปลูกในพื้นที่ที่เหมาะสม  ภาคเหนือ ภาคอีสานถ้าเป็นพื้นที่ไม่เหมาะสมรัฐควรจะต้องมีนโยบายในเรื่องของการปรับเปลี่ยนถ้ายังไม่สามารถควบคุมได้ก็ต้องลดการช่วยเหลือ ซึ่งนั่นหมายถึงเกษตรกรที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์หรือว่าไม่ปลูกในโซนนิ่งก็ไม่สามารถรับการช่วยเหลือได้ การจัดโซนนิ่งจึงจะเกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพ แต่ถ้าประกาศแล้วพื้นที่ยังเหมือนเดิมไม่มีการปรับเปลี่ยนอะไรก็เปล่าประโยชน์ แต่ถ้าพื้นที่นั้นไม่เหมาะสมทางกยท.ก็จะมีทางเลือกให้ เช่น ปลูกปาล์มน้ำมัน ไม้เศรษฐกิจ เศรษฐกิจพอเพียงได้   เข้าใจว่ายางพาราใช้เวลาปลูก 25-30 ปี จะให้เกษตรกรโค่นยางขณะที่กำลังได้ผลผลิตก็เป็นไปได้ยาก […]

สภาเกษตรฯ Channel – ทส.เข้าร่วมประชุมสภาเกษตรกรแห่งชาติ ครั้งที่ 5/2561

พลเอกสุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เข้าร่วมการประชุมสภาเกษตรกรแห่งชาติ ครั้งที่ 5/2561 ณ ห้องประชุมพึ่งบุญ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรุงเทพฯ โดยได้ชี้แจงถึงแนวทางความร่วมมือในการทำงานร่วมกันระหว่างกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกับสภาเกษตรกรแห่งชาติ

1 59 60 61 62 63 88