Author: Thanyalaksaporn Tieoyong
เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2561 นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ เป็นประธานเปิดและดำเนินการประชุมสภาเกษตรกรแห่งชาติครั้งที่ 7/2561 ณ ห้องประชุม 801 ชั้น 8 กรมพัฒนาที่ดิน กรุงเทพ ฯ โดยในการประชุมได้รับทราบแผนงาน / ผลงานของคณะกรรมการประจำสภาเกษตรกรแห่งชาติ , ความคืบหน้าร่างพระราชบัญญัติข้าว พ.ศ…. , ร่างพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่) พ.ศ… , พิจารณาเห็นชอบการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 , การจัดตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนกัญชาเพื่อการป้องกันรักษาโรค และสนับสนุนโรงเพาะชำกล้าไม้ชุมชน โดยมีประเด็นที่น่าสนใจคือ ที่ประชุมเห็นว่าพระราชบัญญัติผังเมือง พ.ศ.2518 และแก้ไขเพิ่มเติม เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาสู่เกษตรอุตสาหกรรมที่ต้องร่วมกันหาทางแก้ไข และเรื่องรณรงค์การใช้น้ำมัน B 100 สำหรับรถยนต์ดีเซล เพื่อช่วยให้เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันได้ราคาสูงขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ โดยเตรียมการจัดกิจกรรม “ B 100 แรลลี่ กระบี่-กรุงเทพฯ” …………………………………………………………………………….. ข่าว : วัฒนรินทร์ สุขีวัย ภาพ […]
ข่าวประชาสัมพันธ์ ประจำวันพุธที่ 19 ธันวาคม 2561 สภาเกษตรกรจังหวัดพังงาชี้ “ทุเรียนสาลิกา” ขึ้นทะเบียน GI สร้างรายได้เพิ่มจากพืชหลัก นายกวีวัฒน์ ประสมทรัพย์ รองประธานสภาเกษตรกรจังหวัดพังงา เปิดเผยว่า “ทุเรียนสาลิกา” เป็นผลไม้ที่มีชื่อเสียงมาช้านานของ อ.กะปง จ.พังงา เป็นทุเรียนพันธุ์พื้นบ้าน ผลกลม รสชาติหอมหวาน เนื้อนิ่ม เมล็ดลีบ เนื้อมาก ไส้แกนผลทุเรียนมีสีเหลืองเข้มหรือสีสนิม ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคทั้งภายในจังหวัดพังงา และต่างจังหวัด รวมถึงเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยว ทำให้ผลผลิตทุเรียนที่ออกมาไม่เพียงพอต่อความต้องการต่อตลาดและผู้บริโภค ส่งผลให้ราคาของทุเรียนเพิ่มสูงขั้นเรื่อยๆ ด้วยเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใคร กรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้ประกาศรับขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) สินค้า เมื่อวันที่ 4 ธ.ค. 61 โดยให้มีผลตั้งแต่วันยื่นคำขอขึ้นทะเบียน 12 ก.ย.2557 ลงนามโดยนายทศพล ทังสุบุตร อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งฤดูกาลที่ผ่านมา บริษัทประชารัฐรักสามัคคีพังงา(จำกัด) นำไปจำหน่าย/จัดส่งทั่วประเทศ ในราคากิโลกรัมละ 330 – 350 บาท เกษตรกรในพื้นที่ […]
ข่าวประชาสัมพันธ์ ประจำวันพุธที่ 12 ธันวาคม 2561 ที่ปรึกษาเศรษฐกิจและการค้าอิสราเอลเข้าหารือสภาเกษตรกรแห่งชาติถึงแนวทางถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรอิสราเอลกับเกษตรกรไทย เมื่อวันที่ 6 ธ.ค.61 นายดะกัน อโลนี ที่ปรึกษาฝ่ายเศรษฐกิจและการค้า สถานเอกอัครราชฑูตอิสราเอล เข้าพบนายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ณ ห้องประชุม ชั้น 6 อาคารวชิรานุสรณ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อหารือแนวทางการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการเกษตรระหว่างประเทศอิสราเอลกับเกษตรกรไทย โดยในเบื้องต้นทั้ง 2 ฝ่ายเห็นชอบร่วมกันในการจัดเวทีให้มีการพบกันโดยทางประเทศอิสราเอลจะจัดให้ผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีระบบจัดการน้ำ การจัดการฟาร์ม เพื่อการเกษตรมาประเทศไทยเพื่อพบกับผู้นำเกษตรกรของไทย โดยสำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติจะจัดหาเกษตรกรที่สนใจตรงกับเทคโนโลยีของประเทศอิสราเอลมาพบกับผู้ประกอบการดังกล่าว ในวันที่ 29 มกราคม 2562 สภาเกษตรกรแห่งชาติ ขอเชิญร่วมงานสัมมนา “ กัญชาไทย ใครได้ประโยชน์? ” 20 ธ.ค.นี้ สภาเกษตรกรแห่งชาติ ขอเชิญร่วมงานโครงการสัมมนา การพัฒนาสายพันธุ์กัญชาพืชสมุนไพรไทยเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ และภาคเกษตรกรรม “กัญชาไทย ใครได้ประโยชน์?” ในวันพฤหัสบดีที่ 20 ธ.ค.61 ตั้งแต่เวลา […]
สภาเกษตรกรแห่งชาติ ขอเชิญร่วมงานโครงการสัมมนา การพัฒนาสายพันธุ์กัญชาพืชสมุนไพรไทยเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ และภาคเกษตรกรรม “กัญชาไทย ใครได้ประโยชน์?” ในวันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม 2561 ตั้งแต่เวลา 08.00 – 16.00 น. ณ ห้องไมดาส บอลรูม โรงแรมไมด้า ดอนเมือง แอร์พอร์ต หลักสี่ กรุงเทพฯ อภิปรายภาคเช้า เรื่อง “ความหลากหลายของสายพันธุ์กัญชาและสรรพคุณทางยา รวมทั้งภูมิปัญญาในการอนุรักษ์พัฒนาพันธุ์” โดย […]
เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2561 นายดะกัน อโลนี ที่ปรึกษาฝ่ายเศรษฐกิจและการค้า สถานเอกอัครราชฑูตอิสราเอล เข้าพบนายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อหารือแนวทางการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการเกษตรระหว่างประเทศอิสราเอลกับเกษตรกรไทย โดยในเบื้องต้นเห็นชอบร่วมกันในการจัดเวทีให้มีการพบกันของผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีระบบจัดการน้ำ การจัดการฟาร์ม เพื่อการเกษตร กับผู้นำเกษตรกรที่สนใจ ในวันที่ 29 มกราคม 2562 ………………………………………………………………………… ข่าว : วัฒนรินทร์ สุขีวัย ภาพ : โสวัจ อาทรเมทนี อำนวยการข่าว : เดชา บุญโต
http://online.3dpageflip.com/ozae/zphz/
ข่าวประชาสัมพันธ์ ประจำวันพุธที่ 5 ธันวาคม 2561 สภาเกษตรกรฯเข้าร่วมรับฟัง “การปรับตัวของชาวนาไทยยุคหลังนโยบายจำนำข้าว ปี 2557” เมื่อวันที่ 29 พ.ย.61 ว่าที่ร้อยตรีสมพูนทรัพย์ กล้าวิกรณ์ เลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ ได้กล่าวถึงการนำเสนอความก้าวหน้าโครงการวิจัย เรื่อง “การปรับตัวของชาวนาไทยยุคหลังนโยบายจำนำข้าว ปี 2557” โดย รศ.ดร.ประภาส ปิ่นตบแต่ง หัวหน้าโครงการวิจัย สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ ห้องประชุม 1 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) พญาไท กรุงเทพฯ ได้ศึกษารูปแบบ บทเรียนและเงื่อนไขการปรับตัวของชาวนาในพื้นที่จริง พบว่ารัฐได้กำหนดนโยบายเข้าไปแทรกแซงต่อวิถีชีวิตและสภาพการผลิต และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายจะมีผลกระทบต่อการผลิตข้าวและชาวนาโดยตรง นอกจากนั้นเงื่อนไขที่มีผลกระทบต่อชาวนาคือการเปลี่ยนแปลงด้านการตลาด จำนวนเกษตรกร และสภาพภูมิอากาศ สำหรับการปรับตัวของชาวนามีทิศทางคือ ชาวนาที่ทำในเชิงธุรกิจจะปรับตัวสู่ชาวนาแบบเกษตรพันธสัญญา ชาวนารายย่อยยังไม่มีการปรับตัวแต่จะมุ่งการลดต้นทุนการผลิต การปลูกข้าวอินทรีย์ และมีบางส่วนที่เปลี่ยนไปทำการเกษตรอย่างอื่น รวมทั้งเลิกทำนาไปประกอบอาชีพอื่น สภาเกษตรกรแห่งชาติเข้าร่วมงานสัมมนาสานสัมพันธ์วัฒนธรรมและธุรกิจไทย – ชานซี เมื่อวันที่ 4 ธ.ค.61 ว่าที่ร้อยตรีสมพูนทรัพย์ […]
เมื่อวันที่ 4 ธ.ค.61 ว่าที่ร้อยตรีสมพูนทรัพย์ กล้าวิกรณ์ เลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ พร้อมคณะ เข้าร่วมงานสัมมนา “สานสัมพันธ์วัฒนธรรมและธุรกิจไทย – ชานซี หรือ 2018 Belt and Road Fair of Shaanxi Specialties” ณ โรงแรมแชงกรีล่า กทม. โดยนางฉาง หยานหลิง รองอธิบดีกรมการคลังมณฑลซานซี เป็นประธานเปิดงาน ซึ่งในการจัดงานดังกล่าวจะเป็นการส่งเสริมความร่วมมือกันระหว่างมณฑลชานซี สาธารณรัฐประชาชนจีน กับประเทศไทยโดยสมาพันธ์พลเมืองฐานราก , สมาคมไทย-จีน , สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย , สภาเกษตรกรแห่งชาติ , กระทรวงพาณิชย์ เป็นต้น เพื่อร่วมมือกันในการพัฒนาทางการผลิต และจำหน่ายสินค้าทางการเกษตรระหว่างกัน และมีการเจรจาการค้าระหว่างนักธุรกิจของทั้งสองประเทศ ………………………………………………………….. ข่าว : วัฒนรินทร์ สุขีวัย ภาพ : อุดมศักดิ์ ทองสดุดี อำนวยการข่าว : เดชา บุญโต
เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2561 ว่าที่ร้อยตรีสมพูนทรัพย์ กล้าวิกรณ์ เลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ เข้าร่วมรับฟังการนำเสนอความก้าวหน้าโครงการวิจัย เรื่อง “การปรับตัวของชาวนาไทยยุคหลังนโยบายจำนำข้าว ปี 2557” โดย รศ.ดร.ประภาส ปิ่นตบแต่ง หัวหน้าโครงการวิจัย สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ ห้องประชุม 1 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.)พญาไท กรุงเทพฯ เพื่อศึกษารูปแบบ บทเรียนและเงื่อนไขการปรับตัวของชาวนาในพื้นที่จริง ปฏิสัมพันธ์ของสังคมชาวนาต่อนโยบาย และพิจารณานโยบายที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อทิศทางการปรับตัวของชาวนา เพื่อพัฒนาตัวแบบทางเลือกในการปรับตัวของชาวนาและสังคมเกษตรในโครงสร้างชนบทต่อไป ……………………………………………….. ข่าว : วัฒนรินทร์ สุขีวัย ภาพ : อุดมศักดิ์ ทองสดุดี อำนวยการข่าว : เดชา บุญโต