ข่าวประชาสัมพันธ์ประจำสัปดาห์ วันศุกร์ที่ 1 พฤศจิกายน 2562

  ข่าวประชาสัมพันธ์ประจำสัปดาห์ วันศุกร์ที่ 1 พฤศจิกายน 2562 ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาตินำเสนอแนวทางการฟื้นฟูเศรษฐกิจฐานรากในโครงการประชารัฐสร้างไทย พัฒนาล้านนา การขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน                เมื่อวันที่ 30 ต.ค.2562 นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ได้เสนอแนวทางการฟื้นฟูเศรษฐกิจฐานรากภาคการเกษตรในโครงการ “ประชารัฐสร้างไทย พัฒนาล้านนา การขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน” นำร่องกลุ่มประชาชนในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง แพร่ และน่าน ณ อาคารศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่ โดยได้เสนอแนวทางการใช้เทคโนโลยีเข้ามาพัฒนาภาคการเกษตรตามความต้องการที่แท้จริงของเกษตรกร ซึ่งจะแตกต่างไปตามภูมินิเวศ การขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากต้องพัฒนาจากล่างขึ้นบน โดยเกษตรกรจะมี 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ 1.เกษตรกรที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมแบบดั้งเดิมที่ต้องเพิ่มการผสมผสานการแปรรูปผลผลิต การส่งเสริมการตลาด 2.เกษตรกรรุ่นใหม่จะใช้เทคโนโลยีในการผลิต แปรรูปการตลาด ผ่านการปฏิรูปโครงสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง การสนับสนุนทั้งความรู้และการเงิน แก่เกษตรกร ชุมชน การสร้างโอกาส สร้างอาชีพ สร้างรายได้ผ่านตลาดประชารัฐ การท่องเที่ยวชุมชน […]

สภาเกษตรกรแห่งชาติ จัดประชุม ครั้งที่ 6/2562

          เมื่อวันที่ 25 ต.ค.2562 นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ เป็นประธานเปิดและดำเนินการประชุมสภาเกษตรกรแห่งชาติครั้งที่ 6/2562 ณ ห้องบุหลันพิทักษ์พล อาคารสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กทม.  ในการประชุมได้มีการบรรยาย “กรอบความร่วมมือในการทำงานระหว่างกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมกับสภาเกษตรกรแห่งชาติ” โดย นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้กล่าวว่า เกษตรกรไทย ปัญหาหลักที่พบอยู่มี 2 ประเด็น คือ นโยบายไม่ชัดเจน การคิดและแก้ปัญหายังคิดและทำแบบเก่า จึงไม่สามารถขับเคลื่อนงานให้สอดคล้องกับ โมเดลเศรษฐกิจใหม่ของรัฐบาล อย่าง BCG Model  และสภาเกษตรกรฯต้องทำงานร่วมกับสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) เพื่อนำความรู้ไปต่อยอดสินค้าเกษตรกลุ่มเก่า เช่น ข้าว ยาง มันสำปะหลัง และปาล์มน้ำมัน รวมไปถึงสินค้าเกษตรกรกลุ่มใหม่อย่าง ไผ่ […]

ข่าวประชาสัมพันธ์ประจำสัปดาห์ วันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม 2562

ข่าวประชาสัมพันธ์ประจำสัปดาห์ วันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม 2562 สภาเกษตรกรชี้ “ยางพาราใบร่วง” ระบาดแล้วกว่า 2 แสนไร่ 6 อำเภอ                นายธีรพงศ์ ตันติเพชราภรณ์ ประธานคณะกรรมการด้านยางพารา สภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวว่า จากสถานการณ์พบการระบาดของโรคใบร่วงชนิดใหม่ในยางพาราพื้นที่จังหวัดนราธิวาส พาหะนำเชื้อราโรคนี้มาคือลมพัดมาอยู่ในสวนยางพาราของเกษตรกรทั้งในดิน,กิ่งพันธุ์ หรือวัสดุที่ปลูก ฝังตัวอยู่ได้นานจนเมื่ออุณหภูมิเหมาะสมด้วยสภาพความชื้นเชื้อจึงฟักตัวและเกิดการระบาดขึ้นมีผลทำให้ผลผลิตลดลง 30 – 50% ทั้งนี้ ได้มีการประชาสัมพันธ์ขอความร่วมมือเกษตรกรในเรื่องของการเคลื่อนย้ายวัสดุปลูก ใบยาง กิ่งตายาง อย่าเคลื่อนย้ายไปสู่จังหวัดหรือพื้นที่อื่น ขณะที่ นายประหยัด ลอแม ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดนราธิวาส เปิดเผยว่า โรคใบร่วงในยางพาราพื้นที่จังหวัดนราธิวาสเริ่มมีมา 2 ปีแล้วแต่ไม่รุนแรงเหมือนกับปีนี้ การระบาดเกิดจากลมที่พัดมาจากประเทศมาเลเซียและประเทศอินโดนีเซีย ด้วยสภาพอากาศร้อนชื้นและฝนตกชุกเหมือนกับพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย จากการจัดเก็บข้อมูลการระบาดในพื้นที่จังหวัดนราธิวาสพบที่ระบาดมากคือ อ.แว้ง , สุไหงปาดี , สุคิริน , สุไหงโกลก , ระแงะ , รือเสาะ พื้นที่อำเภออื่นๆพบการระบาดบ้างแต่เกษตรกรเข้าใจว่าเมื่อฝนตกชุกใบยางก็ต้องร่วงเป็นเรื่องปกติธรรมดาของการผลัดใบต้นยาง (ปล่อยเสียง นายประหยัด) […]

สภาเกษตรกรชี้ “ยางพาราใบร่วง” ระบาดแล้วกว่า 2 แสนไร่ 6 อำเภอ

         นายธีรพงศ์ ตันติเพชราภรณ์ ประธานคณะกรรมการด้านยางพารา สภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวว่า จากสถานการณ์พบการระบาดของโรคใบร่วงชนิดใหม่ในยางพาราพื้นที่จังหวัดนราธิวาส พาหะนำเชื้อราโรคนี้มาคือลมพัดมาอยู่ในสวนยางพาราของเกษตรกรทั้งในดิน,กิ่งพันธุ์ หรือวัสดุที่ปลูก ฝังตัวอยู่ได้นานจนเมื่ออุณหภูมิเหมาะสมด้วยสภาพความชื้นเชื้อจึงฟักตัวและเกิดการระบาดขึ้นมีผลทำให้ผลผลิตลดลง 30 – 50% ทั้งนี้ ได้มีการประชาสัมพันธ์ขอความร่วมมือเกษตรกรในเรื่องของการเคลื่อนย้ายวัสดุปลูก ใบยาง กิ่งตายาง อย่าเคลื่อนย้ายไปสู่จังหวัดหรือพื้นที่อื่น ด้วยว่าขณะนี้มีรายงานการเฝ้าระวังและตรวจเช็คอยู่ว่าในพื้นที่จังหวัดปัตตานีและจังหวัดยะลาอาจมีการติดเชื้อของโรคใบร่วงในยางพารา จึงเฝ้าระวังในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนซึ่งมีอาณาเขตติดกับประเทศเพื่อนบ้าน อย่างไรก็ตาม สภาเกษตรกรฯได้ประสานงานกับการยางแห่งประเทศไทย (กยท.)เพื่อเตรียมการใช้สารเคมีโดยจะใช้โดรนขึ้นบินและพ่นสารเคมีเพื่อทดสอบว่าวิธีนี้จะสามารถยับยั้งการระบาดเชื้อราของโรคใบร่วงในยางพาราได้หรือไม่ ทั้งนี้ เลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติได้ทำหนังสือถึงประธานสภาเกษตรกรจังหวัด 3 จังหวัด คือ จังหวัดนราธิวาส ปัตตานี ยะลา เพื่อขอให้สำรวจพื้นที่มีการระบาดและพื้นที่ที่ยังไม่ระบาดเพื่อควบคุมพร้อมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรบำรุงต้นยางให้มีความสมบูรณ์เพื่อต้านทานโรคใบร่วงในยางพารา ส่วนความช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบภัยจะเข้าปรึกษากับทาง กยท.เพื่อดูระเบียบในการใช้กองทุนพัฒนายางพาราโดยเฉพาะ (5)  เรื่องสวัสดิการที่จะช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากอุทกภัย วาตภัย หรือภัยจากโรคระบาด กองทุนนี้จะไปเยียวยาให้เกษตรกรที่เกิดโรคระบาดนำไปดูแลยับยั้งเชื้อหรืออาจนำไปซื้อปุ๋ยเพื่อบำรุงต้นยางต่อไปได้หรือไม่ ด้าน นายประหยัด ลอแม ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดนราธิวาส เผยว่า โรคใบร่วงในยางพาราพื้นที่จังหวัดนราธิวาสเริ่มมีมา 2 ปีแล้วแต่ไม่รุนแรงเหมือนกับปีนี้ การระบาดเกิดจากลมที่พัดมาจากประเทศมาเลเซียและประเทศอินโดนีเซีย ด้วยสภาพอากาศร้อนชื้นและฝนตกชุกเหมือนกับพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย จากการจัดเก็บข้อมูลการระบาดในพื้นที่จังหวัดนราธิวาสพบที่ระบาดมากคือ […]

ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติร่วมหารือ อว. ถึงแนวทางการขับเคลื่อนการสร้างเศรษฐกิจฐานราก

เมื่อวันที่ 18 ต.ค.2562 นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ เข้าร่วมประชุมกับนายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ณ อาคารพระจอมเกล้า ชั้น 4  เพื่อหารือแนวทางการขับเคลื่อนการสร้างเศรษฐกิจฐานราก พร้อมด้วยผู้แทนจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ผู้แทนจากสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และหน่วยงานในสังกัดกระทรวงฯ โดยประเด็นการหารือคือการทำอย่างไรเกษตรกรจึงจะมีรายได้จากภาคการเกษตรเพิ่มขึ้น ท้าทายรายได้ที่ระดับ 1  ไร่ 1  ล้านบาท โดยประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติได้เสนอแนวทางการสร้างรายได้ของเกษตรกรต้องค้นหาปัญหาที่แท้จริงในแต่ละพื้นที่ การค้นหาศักยภาพของแต่ละพื้นที่ จึงจะแก้ไขได้ตรงจุด ซึ่งการส่งเสริมในรูปแบบจากบนลงล่างหรือรัฐบาลสู่เกษตรกรเป็นการแก้ปัญหาชั่วคราวและอาจจะเป็นปัญหากับเกษตรกรในระยะยาวได้ ………………………………………………………… ข่าว : วัฒนรินทร์ สุขีวัย ภาพ / อำนวยการข่าว : ภาสันต์ นุพาสันต์

ข่าวประชาสัมพันธ์ประจำสัปดาห์ วันศุกร์ที่ 18 ตุลาคม 2562

ข่าวประชาสัมพันธ์ประจำสัปดาห์ วันศุกร์ที่ 18 ตุลาคม 2562 ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติร่วมหารือกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ถึงแนวทางการขับเคลื่อนการสร้างเศรษฐกิจฐานราก                เมื่อวันที่ 18 ต.ค.2562 นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติเข้าร่วมประชุมกับนายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ณ อาคารพระจอมเกล้า ชั้น 4 เพื่อหารือแนวทางการขับเคลื่อนการสร้างเศรษฐกิจฐานราก พร้อมด้วยผู้แทนจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ผู้แทนจากสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และหน่วยงานในสังกัดกระทรวงฯ โดยประเด็นการหารือคือการทำอย่างไรเกษตรกรจึงจะมีรายได้จากภาคการเกษตรเพิ่มขึ้น ท้าทายรายได้ที่ระดับ 1 ไร่ 1 ล้านบาท โดยประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติได้เสนอแนวทางการสร้างรายได้ของเกษตรกรต้องค้นหาปัญหาที่แท้จริงในแต่ละพื้นที่ การค้นหาศักยภาพของแต่ละพื้นที่ จึงจะแก้ไขได้ตรงจุด ซึ่งการส่งเสริมในรูปแบบจากบนลงล่างหรือรัฐบาลสู่เกษตรกรเป็นการแก้ปัญหาชั่วคราวและอาจจะเป็นปัญหากับเกษตรกรในระยะยาวได้ สภาเกษตรกรจังหวัดชลบุรีพัฒนาบุคลากรรับ “การพัฒนาสินค้าทางการเกษตรด้วยนวัตกรรมการแปรรูป สู่ Thailand 4.0 และเทคโนโลยีสกัดน้ำมันสมุนไพร ด้วยชุดเครื่องจักรที่มีเทคโนโลยีขั้นสูง”                เมื่อวันที่ 16 ต.ค.62 นายกาญจน์ มณีรัตน์โรจน์ รองประธานสภาเกษตรกรจังหวัดชลบุรี คนที่ 1 ได้เข้าร่วมการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ […]

ข่าวประชาสัมพันธ์ประจำสัปดาห์ วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม 2562

ข่าวประชาสัมพันธ์ประจำสัปดาห์ วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม 2562 นายกรัฐมนตรี มอบนโยบายแก่สภาเกษตรแห่งชาติ มุ่งเน้นการขับเคลื่อนเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน                เมื่อวันที่ 3 ต.ค.2562 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานพิธีมอบนโยบายแก่สภาเกษตรกรแห่งชาติ ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กทม. โดยระบุว่า อยากให้สภาเกษตรกรฯร่วมขับเคลื่อนแผนเพื่อพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืนและเข้มแข็ง ต้องหาพันธมิตรที่เกี่ยวข้องทำงานร่วมกันการร่วมมือกันทำงานจะทำให้ผลงานมากขึ้นได้ถึง 3 อย่าง คือ ได้การรวมกลุ่ม/สร้างคน/สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ซึ่งรัฐบาลพร้อมดูแลทุกคนโดยเฉพาะเกษตรกรที่ประสบปัญหาเรื่องราคาสินค้าเกษตรต้องหาแนวทางที่ยั่งยืนไม่เพียงนำงบประมาณมาชดเชยเพราะเป็นเพียงการแก้ปัญหาชั่วคราวอีกทั้งรัฐบาลมีงบประมาณจำกัด อย่างไรก็ตาม รัฐบาลพยายามเดินหน้าแก้ปัญหาให้กับเกษตรกรทุกเรื่อง ทั้งเรื่องแหล่งน้ำ จัดทำแก้มลิง แนวทางการระบายน้ำ ที่ได้ดำเนินการไปถึง 6 หมื่นโครงการใน 5 ปีที่ผ่านมา โดยนายกรัฐมนตรีต้องการให้สภาเกษตรกรแห่งชาติเป็นกลไกกลางที่เชื่อมประสานความร่วมมือระหว่างเกษตรกรกับรัฐบาล เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหา อุปสรรคของเกษตรกร อนาคตสภาเกษตรกรฯต้องสร้างทายาทเกษตรกรรุ่นใหม่ เพื่อทำเกษตรอัจฉริยะ เกษตรอัตลักษณ์ หากเกษตรกรปรับเปลี่ยนทำเกษตรแนวใหม่ ภาคเกษตรจะต้องดีกว่าเดิม และพัฒนายกระดับให้เกษตรกรทำเกษตรแบบทำน้อยได้มาก มีคุณภาพ มีมาตรฐาน สมดังเจตนารมณ์แห่ง พ.ร.บ.สภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ.2553 […]

สภาเกษตรกรแห่งชาติเปิดงาน “โครงการขับเคลื่อนการดำเนินงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานราก” 2-3 ต.ค.2562

          สภาเกษตรกรแห่งชาติเปิดงาน “โครงการขับเคลื่อนการดำเนินงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานราก” ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-3 ตุลาคม 2562 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น หลักสี่ ดอนเมือง กรุงเทพมหานคร โดยเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2562 นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ  นายอภิศักดิ์ อังคสิทธิ์ รองประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ คนที่ 1 และนายสิทธิพร จริยพงศ์  รองประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ คนที่ 2  ได้กล่าวมอบนโยบายในการขับเคลื่อนการดำเนินงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานราก           และในวันที่ 3 ตุลาคม 2562 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานมอบนโยบายแก่สภาเกษตรกรแห่งชาติ ในโอกาสจัดประชุมสภาเกษตรกรแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2563  โดยมีสมาชิกสภาเกษตรกร ผู้บริหาร ผู้เชี่ยวชาญ หัวหน้า พนักงานสำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ และสภาเกษตรกรจังหวัด เข้าร่วมงาน […]

ข่าวประชาสัมพันธ์ประจำสัปดาห์ วันพุธที่ 2 ตุลาคม 2562

  ข่าวประชาสัมพันธ์ประจำสัปดาห์ วันพุธที่ 2 ตุลาคม 2562 สภาเกษตรกรฯมองไกลหนุนใช้ระบบหมุนเวียนเลี้ยงสัตว์น้ำ                นายเดชา บรรลือเดช ผู้ทรงคุณวุฒิด้านประมง สมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติ และประธานกรรมการศูนย์เรียนรู้การเลี้ยงกุ้งแบบอิงธรรมชาติ กล่าวถึงการเลี้ยงกุ้งแบบอิงธรรมชาติที่คิดค้นและจดสิทธิบัตรเป็นนวัตกรรมการเลี้ยงกุ้ง ว่า จากประสบการณ์การเลี้ยงกุ้งกว่า 30 ปี จนนำไปสู่การคิดค้นนวัตกรรมการเลี้ยงกุ้งแบบอิงธรรมชาติดังกล่าว มองว่าระบบนี้สามารถควบคุมโรคต่างๆที่เกี่ยวกับกุ้งได้และมีความเสถียรมากขึ้นเรื่อยๆ แต่เสียดายว่าเกษตรกรไทยไม่ค่อยให้ความสนใจ ทั้งนี้ ระบบนี้อาจไม่ใช่ระบบที่ดีที่สุดแต่มองว่าเป็นระบบที่ได้ผลและประสบความสำเร็จค่อนข้างสูง ก้าวข้ามเรื่องโรคไปได้อย่างปลอดภัย ทุกอย่างไม่มี 100% แต่อย่างน้อยที่สุดเกษตรกรที่เอาระบบนี้ไปใช้ 80% หรือกว่านั้นจะประสบความสำเร็จ (ปล่อยเสียง นายเดชา) สภาเกษตรกรแห่งชาติจัดงานโครงการขับเคลื่อน “การดำเนินงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานราก” 2-3 ต.ค.นี้                สภาเกษตรกรแห่งชาติกำหนดจัดงานโครงการขับเคลื่อน “การดำเนินงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานราก” ระหว่างวันที่ 2-3 ต.ค.62 โดย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดโครงการฯ พร้อมมอบนโยบายแก่สภาเกษตรกรแห่งชาติ น. ณ ห้องแกรนด์บอลรูม ชั้น 4 โรงแรมมิราเคิล […]

สภาเกษตรกรฯมองไกลท้าใช้ระบบหมุนเวียนเลี้ยงสัตว์น้ำ

          นายเดชา บรรลือเดช ผู้ทรงคุณวุฒิด้านประมง สมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติ และประธานกรรมการศูนย์เรียนรู้การเลี้ยงกุ้งแบบอิงธรรมชาติ กล่าวถึงการเลี้ยงกุ้งแบบอิงธรรมชาติที่คิดค้นและจดสิทธิบัตรเป็นนวัตกรรมการเลี้ยงกุ้ง ว่า “การเลี้ยงกุ้งแบบอิงธรรมชาติ” เป็นระบบน้ำหมุนเวียนแบบปิดจะป้องกันโรคที่เกี่ยวกับกุ้งได้แทบทุกชนิด ซึ่งเริ่มต้นจากช่วงวิกฤติโรค EMS (Early Mortality Syndrome) ที่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมกุ้งของไทยทั้งระบบ  มากระทั่งเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2562 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ออกประกาศ กำหนดให้ โรค Hepatopancreatic microsporidioisis caused by Enterocytozoon hepatopenaei (EHP) และโรค Shrimp hemocyte iridescent virus (SHIV) ซึ่งเกิดในกุ้ง เป็นโรคภายใต้พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ฯ เช่นเดียวกับโรคอื่นๆในสัตว์น้ำที่เคยมีการประกาศไปแล้วก่อนหน้านี้ จำนวน 38 โรค จากประสบการณ์การเลี้ยงกุ้งกว่า 30 ปี จนนำไปสู่การคิดค้นนวัตกรรมการเลี้ยงกุ้งแบบอิงธรรมชาติดังกล่าว มองว่าระบบนี้สามารถควบคุมได้และมีความเสถียรมากขึ้นเรื่อยๆ แต่เสียดายว่าเกษตรกรไทยไม่ค่อยให้ความสนใจเท่าที่ควรส่วนใหญ่ผู้ที่สนใจเข้ามาศึกษาดูงานที่ศูนย์เรียนรู้ฯจะเป็นชาวต่างประเทศ “อยากให้เกษตรกรไทยได้ทดลองใช้ระบบอิงธรรมชาติแล้วต่อยอด มองว่าอนาคตต้องใช้ระบบอิงธรรมชาตินี้ในการเลี้ยงสัตว์น้ำ ระบบนี้อาจไม่ใช่ระบบที่ดีที่สุดแต่มองว่าเป็นระบบที่ได้ผลและประสบความสำเร็จค่อนข้างสูง […]

1 44 45 46 47 48 90