Author: Thanyalaksaporn Tieoyong
เมื่อวันที่ 25 ธ.ค.2562 นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ เป็นประธานเปิดและดำเนินการประชุมสภาเกษตรกรแห่งชาติครั้งที่ 7/2562 ณ ห้องบุหลันพิทักษ์พล อาคารสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กทม. ในการประชุมได้มีการบรรยาย “ความรู้กฎหมายและนโยบายที่ดินที่เกี่ยวข้องกับนโยบายที่ดินแห่งชาติ” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์อิทธิพล ศรีเสาวลักษณ์ ผู้ประสานงานการศึกษานโยบายที่ดิน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(สกสว.) สำหรับการประชุมครั้งนี้ สภาเกษตรกรแห่งชาติ ได้พิจารณาเรื่อง แนวทางขับเคลื่อนการรับขึ้นทะเบียนองค์กรเกษตรกรเพื่อสร้างความเข้มแข็งองค์กรเกษตรกร , การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับสภาเกษตรกรแห่งชาติว่าด้วยการบริหารงานบุคคล(ฉบับที่…) พ.ศ….. , แผนงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 , การจัดทำแผนแม่บทเพื่อพัฒนาเกษตรกรรม ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2565 – 2569) เป็นต้น ………………………………………………………… ข่าว : วัฒนรินทร์ สุขีวัย ภาพ : วัชร มีแสงเงิน อำนวยการข่าว : ภาสันต์ นุพาสันต์
สภาเกษตรกรฯนำ “กัญชา” ต้นแรกลงดินอย่างถูกกฎหมาย พร้อมเผยแพร่งานวิจัยที่ไม่มีในไทย ปี 2563 เมื่อวันที่ 20 ธ.ค.62นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ และว่าที่ร้อยตรีสมพูนทรัพย์ กล้าวิกรณ์ เลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ ให้การต้อนรับ นายก่อพงษ์ โกมลรัตน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง ประธานเปิดงานและปลูกต้น “กัญชา” ปฐมฤกษ์ ใน “โครงการขับเคลื่อนการปลูกกัญชานำร่องเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์” ณ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรอินทรีย์เพชรลานนา ต.แม่สุก อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง โดยรองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปางได้กล่าวว่า สำหรับ “กัญชา” แล้วยังถือเป็นยาเสพติดประเภท 5 ซึ่งการปลูกอย่างถูกต้องตามกฎหมาย สามารถดำเนินการได้เฉพาะในพื้นที่ของศูนย์เพาะปลูกและผลิตกัญชาสด วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรอินทรีย์เพชรลานนาแห่งนี้เท่านั้น โดยชาวบ้านหรือประชาชนทั่วไปยังไม่สามารถที่จะดำเนินการเพาะปลูก หรือมีไว้ครอบครองเองได้ ซึ่งหากเจ้าหน้าที่ตรวจสอบพบก็จะต้องมีความผิดตามกฎหมาย ภาพ/เสียงนายก่อพงษ์กล่าวในพิธีเปิด ด้านนายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวว่า ถือเป็นปฐมฤกษ์ “กัญชา” ต้นแรกลงสู่ดินโดยเกษตรกรอย่างแท้จริง จากวันนี้ไปจะทำแปลงปลูกให้ดีที่สุดทั้งนอกโรงเรือนและในโรงเรือนรวม 2,000 ต้น ให้ได้กัญชาแบบเกษตรอินทรีย์ที่มีคุณภาพทางยาสูงที่สุดจนสังคมไทยและแพทย์ได้เชื่อมั่นในความรู้ของเกษตรกรไทย และการปลูกครั้งนี้จะเป็นการปลูกเชิงวิจัยที่ประเทศไทยไม่เคยมีมาก่อนจนนำไปสู่การทำเอกสารที่ผ่านการปฏิบัติจริงเพื่อเผยแพร่สู่สาธารณะภายในปี […]
https://www.nfc.or.th/wp-content/uploads/2020/09/2020-NFC-AnnualReport.pdf
(วันที่ 20 ธันวาคม 2562) นายก่อพงษ์ โกมลรัตน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง เป็นประธานเปิดงานและปลูกต้น “กัญชา” ปฐมฤกษ์ ใน “โครงการขับเคลื่อนการปลูกกัญชานำร่องเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์” ณ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรอินทรีย์เพชรลานนา ต.แม่สุก อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง โดย นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ และว่าที่ร้อยตรีสมพูนทรัพย์ กล้าวิกรณ์ เลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ ให้การต้อนรับ ร่วมด้วยผู้แทนจาก กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำปาง มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เกษตรกร ผู้เกี่ยวข้อง ผู้สนใจ เข้าร่วมงานกว่า 300 คน นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวภายหลังพิธีเปิดโครงการดังกล่าว ว่า จากการพยายามผลักดันของสภาเกษตรกรแห่งชาติให้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษและกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ซึ่งนำไปสู่การแก้ไขพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2562 ยังผลให้หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการให้บริการทางเกษตรกรรมเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์หรือเภสัชกรรมเข้ามามีส่วนร่วมในการศึกษาวิจัยพืชสมุนไพร “กัญชา” เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ได้ ดังนั้น […]
ข่าวประชาสัมพันธ์ประจำสัปดาห์ วันศุกร์ที่ 20 ธันวาคม 2562 สภาเกษตรกรแห่งชาตินำกัญชาต้นแรกลงดินอย่างถูกกฎหมาย พร้อมเผยแพร่งานวิจัยที่ไม่มีในไทย ปี 2563 เมื่อวันที่ 20 ธ.ค.2562 นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ และว่าที่ร้อยตรีสมพูนทรัพย์ กล้าวิกรณ์ เลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ ให้การต้อนรับนายก่อพงษ์ โกมลรัตน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง ประธานเปิดงานและปลูกต้น “กัญชา” ปฐมฤกษ์ ใน “โครงการขับเคลื่อนการปลูกกัญชานำร่องเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์” ณ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรอินทรีย์เพชรลานนา ต.แม่สุก อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง โดย นายประพัฒน์ กล่าวภายหลังพิธีเปิดว่า ถือเป็นปฐมฤกษ์ “กัญชา” ต้นแรกลงสู่ดินโดยเกษตรกรอย่างแท้จริง จากวันนี้ไปจะทำแปลงปลูกให้ดีที่สุดทั้งนอกโรงเรือนและในโรงเรือนรวม 2,000 ต้น ให้ได้กัญชาแบบเกษตรอินทรีย์ที่มีคุณภาพทางยาสูงที่สุดจนสังคมไทยและแพทย์ได้เชื่อมั่นในความรู้ของเกษตรกรไทย และการปลูกครั้งนี้จะเป็นการปลูกเชิงวิจัยที่ประเทศไทยไม่เคยมีมาก่อนจนนำไปสู่การทำเอกสารที่ผ่านการปฏิบัติจริงเพื่อเผยแพร่สู่สาธารณะภายในปี 2563 ต่อไป (ปล่อยเสียง นายประพัฒน์) สภาเกษตรกรจังหวัดจันทบุรีชี้กฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างใหม่ไม่ส่งผลกระทบมากนัก นายธีระ วงษ์เจริญ ประธานสภาเกษตรกรจันทบุรี ระบุว่า […]
เมื่อวันที่ 13 ธ.ค.62 นายภาสันต์ นุพาสันต์ ผู้ช่วยเลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ และนายกฤษฏ์ รอดประชา ผู้ช่วยเลขาธิการกองทุนการออมแห่งชาติ(กอช.)ได้ร่วมบรรยายในหัวข้อ “สร้างวิทยากร ครู ก เพื่อสร้างผู้นำด้านการส่งเสริมการออมเงินกับ กอช.” ณ ห้องประชุมไกรทอง โรงแรมริเวอร์ไซด์ กรุงเทพฯ โดยทั้งสองหน่วยงานได้ร่วมกันจัดโครงการเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจด้านการวางแผนทางการเงิน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัด และกองทุนการออมแห่งชาติ สามารถเป็นครู ก ในการถ่ายทอดเรื่องการออมเงินกับ กอช.แก่เกษตรกรและบุตรหลานให้ได้รับสวัสดิการบำนาญเมื่อหลังอายุ 60 ปี ………………………………………………………… ข่าว : วัฒนรินทร์ สุขีวัย ภาพ : วัชร มีแสงเงิน / สมชาย มารศรี อำนวยการข่าว : ภาสันต์ นุพาสันต์
ข่าวประชาสัมพันธ์ประจำสัปดาห์ วันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม 2562 สภาเกษตรกรฯไม่เห็นด้วยกับ DOUBLE STANDARD ราคาปาล์ม นายสิทธิพร จริยพงศ์ รองประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า โครงการประกันรายได้ปาล์มนั้นทางสภาเกษตรกรฯไม่ได้เข้าร่วมด้วย เพราะภาครัฐบาลได้ร่างไว้หมดแล้วเพียงประทับตรายางโดยตัวแทนเกษตรกร ในเรื่องของการประกันราคา 4 บาท/กิโลกรัมมาตั้ง ใช้ราคาเฉลี่ย 45 วันย้อนหลังแล้วหารเป็นราคาเฉลี่ย จากนั้นรัฐบาลก็ชดเชยส่วนต่าง ทั้งนี้ ปัจจุบันราคาขยับขึ้นเป็นเพราะผลผลิตมีน้อยประกอบกับราคาโลกขยับขึ้น โดยส่วนตัวไม่ได้คัดค้านแต่มองว่าแค่เป็นการพยุงราคาให้เกษตรกรในระยะสั้นๆ แต่การทำราคาปาล์มให้เป็น 2 ราคา โดยแบ่งเป็นราคาตลาดอีกราคาหนึ่ง และราคาประกันอีกราคาหนึ่งไม่เห็นด้วย เพราะสินค้าเหมือนกัน คุณลักษณะเหมือนกัน แต่แบ่งเป็น 2 ราคา การพัฒนาการตลาดและการผลิตจะหารือกันยาก ซึ่งสภาเกษตรกรมุ่งยกระดับคุณภาพปาล์มเพื่อให้เท่าเทียมกับประเทศมาเลเซีย มุ่งการขายผลักดันคุณภาพปาล์มไปถึง 18% ให้เป็นที่ยอมรับจนผลักดันคุณภาพเปอร์เซ็นต์ปาล์มไปถึง 23% ราคา 4 บาท/กิโลกรัมก็สามารถทำได้อยู่แล้ว แต่นโยบายประกันราคารัฐบาลให้ 4 บาท/กิโลกรัมไม่ได้พูดถึงเรื่องนี้เลย ดังนั้นการพัฒนาคุณภาพจึงไปหยุดแค่ 18% เท่านั้น และไม่เกิน 25 ไร่ต่อครัวเรือน คนที่ดูแลได้ราคาประกันทั้งหมดแค่ […]
ข่าวประชาสัมพันธ์ประจำสัปดาห์ วันศุกร์ที่ 6 ธันวาคม 2562 ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติเปิดงานความล้ำค่าของไผ่ไทย ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกไผ่สร้างรายได้และผลักดันให้เป็นอาชีพหลักในอนาคต เมื่อวันที่ 4 ธ.ค.2562 นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรแห่งชาติ เป็นประธานเปิดงานความล้ำค่าของไผ่ไทยและบรรยายพิเศษเรื่อง “ไผ่ไทยอาชีพและอุตสาหกรรมอนาคต” ณ.ศูนย์เทคโนโลยีและธุรกิจไผ่ ต.เขาน้อย อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 4-5 ธ.ค.2562 โดยมีส่วนราชการ เจ้าของธุรกิจ เกษตรกรจากทั่วประเทศเข้าร่วมงาน ทั้งนี้ งานดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อนำเสนออนาคตอุตสาหกรรมและอาชีพไผ่ไทยไม้อนุรักษ์สู่ไม้เศรษฐกิจที่มีอนาคต สร้างองค์ความรู้ไผ่ภาคประชาชนสร้างอาชีพวิถีเกษตรไทย การแปรรูปในครัวเรือน การเชื่อมต่อเทคโนโลยีไผ่ การสร้างมูลค่าเพิ่มธุรกิจการผลิตถ่านไผ่ ไผ่เพื่องานสถาปัตยกรรม และเทคโนโลยีเครื่องจักรกลการแปรรูปลำไผ่เครือข่ายธุรกิจต่างประเทศให้มีคุณภาพ มาตรฐาน ผลิตภัณฑ์ไผ่ไทยสู่สากล พร้อมทั้งสร้างจิตสำนึกให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ตระหนักถึงการรักษ์ป่า และนำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่ให้กับคนในครอบครัวหันมาปลูกไผ่ ตลอดจนเป็นการส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน ทั้งในรูปเกษตรผสมผสาน วนเกษตร เกษตรธรรมชาติ ส่งเสริมให้เกิดพื้นที่ป่า เกิดอาชีพเกษตรที่สร้างมูลค่าเพิ่มจากการใช้ทรัพยากรดินและน้ำให้เกิดความคุ้มค่ามากขึ้น ลดการทำการเกษตรที่เป็นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้น้อยลง ประธานสภาเกษตรกรฯวอนรัฐบาลทำแผนพัฒนาภาคการเกษตรแบบระยะยาวและยั่งยืน นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า ต้องขอบคุณรัฐบาลที่มีโครงการช่วยเหลือเกษตรกร […]
สภาเกษตรกรฯ หนุนทำการเกษตรเชิงคู่ เลี้ยงแพะ/แกะร่วมกับพืชหลักที่ปลูก เสริมรายได้ให้มั่นคง นายสิทธิพร จริยพงศ์ รองประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ และประธานสภาเกษตรกรจังหวัดสุราษฎร์ธานี กล่าวถึง การสร้างความมั่นคงของภาคการเกษตรว่า ภาคการผลิตทางการเกษตรของประเทศไทยผลผลิตออกมาเกินความต้องการของตลาดทำให้เกิดราคาตกต่ำจนเกษตรกรหลายคนถอดใจ สำหรับเกษตรกรในพื้นที่ภาคใต้ส่วนใหญ่ปลูกปาล์ม ยางพารามาหลายชั่วอายุคนเกิดปัญหา เช่น ดินเสื่อม โรคเยอะ จากการดินทางไปศึกษาดูงานที่ประเทศมาเลเซีย ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิมนิยมบริโภคเนื้อแพะ/แกะ มีความต้องการแพะ/แกะอย่างมาก การตลาดยังเปิดกว้าง จึงเกิดแนวคิดการทำเกษตรเชิงคู่เพื่อเสริมรายได้ซึ่งกันและกัน เลี้ยงแพะ/แกะร่วมกับพืชหลักด้วยทฤษฎีพึ่งพิงพึ่งพาวางแปลนจัดการสวน (ปล่อยเสียง นายสิทธิพร) สภาเกษตรกรจังหวัดตรังร่วมประชุมเพื่อหาแนวทางป้องกันโรคยางพาราใบร่วงชนิดใหม่ที่ระบาดในพื้นที่ เมื่อวันที่ 22 พ.ย.62 นายสมคิด สังขมณี ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดตรัง เข้าร่วมประชุมกับสถาบันวิจัยยาง การยางแห่งประเทศไทยพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนกลาง ณ ห้องประชุมการยางแห่งประเทศไทย สาขาย่านตาขาว เกี่ยวกับปัญหาการระบาดของโรคยางพาราใบร่วงชนิดใหม่ ซึ่งเกิดจากเชื้อราที่ขณะนี้กำลังระบาดรุนแรงในหลายจังหวัดของภาคใต้โดยเฉพาะพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง และในพื้นที่ภาคใต้ตอนกลาง โดยล่าสุดที่ อ.ย่านตาขาว […]
นายสิทธิพร จริยพงศ์ รองประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ และประธานสภาเกษตรกรจังหวัดสุราษฎร์ธานี กล่าวถึง การสร้างความมั่นคงของภาคการเกษตรว่า ภาคการผลิตทางการเกษตรของประเทศไทย เช่น ปาล์มน้ำมัน ยางพารา ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง อ้อย เมื่อผลผลิตออกมาเกินความต้องการของตลาดทำให้เกิดราคาตกต่ำจนเกษตรกรหลายคนถอดใจ สำหรับเกษตรกรในพื้นที่ภาคใต้ส่วนใหญ่ปลูกปาล์ม ยางพารามาหลายชั่วอายุคนปัญหาคือ เมื่อถึงรุ่น 2 – 3 ดินเสื่อมคุณภาพ การปลูกหนาแน่นเกินไปแดดส่องไม่ทั่วถึงเกิดโรคระบาดเยอะ อย่างไรก็ตาม ได้มีโอกาสเดินทางไปศึกษาดูงานที่ประเทศมาเลเซียซึ่งประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิมนิยมบริโภคเนื้อแพะ/แกะ มีความต้องการแพะ/แกะอย่างมาก การตลาดยังเปิดกว้าง ปัจจุบันมาเลเซียสั่งนำเข้าแพะ/แกะจากประเทศออสเตรเลียซึ่งมาไกล เมื่อเทียบกับแพะ/แกะจากประเทศไทยคุณภาพดีกว่า จึงเกิดแนวคิดการทำเกษตรเชิงคู่เพื่อเสริมรายได้ซึ่งกันและกันด้วยการจัดการสวนยางปลูกระยะห่างอย่างเหมาะสม โดยปรับเปลี่ยนภายใต้ระเบียบของกยท. สวนปาล์มก็เช่นกันขยายจากการปลูกแบบ 9X9 เมตร ขยายเป็น 10X10 – 12X12 เมตร วางแปลนโครงสร้างสวน แล้วปล่อยแพะ/แกะเพื่อเป็นเครื่องตัดหญ้า มูลแพะ/แกะนำไปเป็นปุ๋ยบำรุงได้ แพะ/แกะกินอยู่ง่ายสามารถเลี้ยงควบคู่ได้ทั้งการทำสวนปาล์ม ยางพารา มันสำปะหลัง ข้าวโพด อ้อย เป็นต้น โดยเกษตรกรต้องศึกษาเทคนิคในการเลี้ยงโดยเฉพาะแบบเปิด แพะ/แกะสามารถขายได้ทุกเดือนทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ […]
ข่าวประชาสัมพันธ์ประจำสัปดาห์ วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน 2562 สภาเกษตรกรแห่งชาติ บันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านวิชาการและงานวิจัย ม.พะเยา เมื่อวันที่ 21 พ.ย.2562 นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ พร้อมด้วยประธานสภาเกษตรกร 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน หัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัด และคณาจารย์มหาวิทยาลัยพะเยา ร่วมเป็นสักขีพยาน ในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านวิชาการและงานวิจัย ระหว่างคณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพะเยา และสภาเกษตรกรแห่งชาติ โดยว่าที่ร้อยตรีสมพูนทรัพย์ กล้าวิกรณ์ เลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ และ รองศาสตราจารย์ ดร.สุภกร พงศบางโพธิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา ณ ห้องประชุมชูชาติ กีฬาแปง อาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยพะเยา ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือทางวิชาการ ในด้านการศึกษาและการวิจัย ร่วมกันส่งเสริมกิจกรรมสนับสนุนองค์ความรู้และความชำนาญในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเกษตร ยกระดับการศึกษา รวมถึงทักษะเชิงวิชาการ และส่งเสริมงานวิจัยที่อยู่ในความสนใจของทั้งสององค์กร เพื่อให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม รวมทั้งมีการบูรณาการการทำงานร่วมกันทั้งในด้านยุทธศาสตร์ แผนงานโครงการ […]