ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติแนะให้ครองสติและเชื่อมั่นในความเป็น “เกษตรกร”

          นายประพัฒน์​ ปัญญาชาติรักษ์​ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ​ ได้กล่าวในการประชุมทางไกลผ่านแอพพลิเคชั่นไลน์ร่วมกับ​หัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดทั่วประเทศ และสำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ว่า​ ขอให้ทุกคนครองสติ​ในภาวะวิกฤติการระบาดไวรัสโควิด​-19​ ให้ตระหนัก​แต่อย่าตระหนก​เกินไป และให้ความสำคัญกับสถานการณ์ภัยแล้ง รับฟังและประสานให้ข้อมูลทั้งเกษตรกร องค์กร หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ การผลิตที่ใช้น้ำ​น้อย​หากภัยแล้งคุกคามมาก​ก็ปรับไปทำกิจกรรมเกษตรอย่างอื่น​ เช่น เลี้ยงไก่​ เป็นต้น และเพื่อรองรับสถานการณ์ขณะนี้​ขอให้เชื่อมั่นในการเป็น​ “เกษตรกร​” ซึ่งสำคัญมากกับการเป็นหลัก​ให้กับประเทศในภาวะวิกฤติ ให้ถือเป็นโอกาสระยะยาวที่เกษตรกรจะช่วยกันค้นหาศักยภาพของตนและของชุมชน​ สำหรับสภาเกษตรกรจังหวัดเมื่อจัดทำแผนพัฒนาเกษตรกรรรมระดับตำบล​ขอให้พัฒนาไปสู่โครงการ​เพื่อประสานการพัฒนาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง           ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติกล่าวต่อไปว่า ในส่วนของไวรัสโควิด​-19​ ที่ระบาด​เป็นปัญหาอยู่ในขณะนี้ ขอให้ใช้การสื่อสารทางไกล​ในการทำงานร่วมกันเพื่อรักษาระยะห่าง และลดการแพร่กระจาย/ระบาด หากมีใครติดเชื้อขออย่าได้รังเกียจ ขอให้ช่วยกันดูแล​ เอื้ออาทรต่อกัน​ ​ทุกวิกฤตินั้นมีโอกาส​เสมอ ขอให้เกษตรกรสำรวจดูว่าวิกฤติทุกครั้งกระทบการดำเนินชีวิตในการเป็นเกษตรกรหรือไม่​ หากคำตอบคือเกิดผลกระทบนั่นเท่ากับว่าเราจะต้องมีการสร้างการผลิตแบบยั่งยืนให้ได้​ อาจจะด้วยการปรับการผลิตให้หลากหลาย​เพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตให้ได้สามารถต่อรองการตลาด​ ปรับจากการผลิตแค่วัตถุดิบเป็นแปรรูปสู่ผลิตภัณฑ์​ โดยสภาเกษตรกรฯจะประสานสู่ผลทางการปฏิบัติ​ เช่น​ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)พร้อมเป็นพี่เลี้ยง​ด้านการแปรรูป   ,  กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)ที่พร้อมช่วยเปลี่ยนจากวัตถุดิบให้เป็นสินค้าเพื่อจำหน่ายในท้องถิ่น​ หรือองค์กรเกษตรกรใดมีแผนธุรกิจที่ดีจะส่งต่อเพื่อประสานไปยังธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร […]

ข่าวประชาสัมพันธ์ประจำสัปดาห์ วันศุกร์ที่ 20 มีนาคม 2563

ข่าวประชาสัมพันธ์ประจำสัปดาห์ วันศุกร์ที่ 20 มีนาคม 2563 สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติจัดประชุมทางไกล ครั้งที่ 4/2563                เมื่อวันที่ 19 มี.ค.2563 นายรัตนะ สวามีชัย เลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ เป็นประธานการประชุมทางไกลผ่านระบบ Web Conference ครั้งที่ 4/2563 พร้อมด้วย นายภาสันต์ นุพาสันต์ ผู้ช่วยเลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ ณ ห้องประชุม AEOC ชั้น 2 อาคารศูนย์ปฏิบัติการเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เพื่อเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2563 ของสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัด โดยการประชุมได้มีการเสนอแนวทางการปฏิบัติการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2563 ให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดของสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดที่ปัจจุบันเบิกจ่ายได้ต่ำกว่าร้อยละ 40 และสูงกว่าร้อยละ 40 แลกเปลี่ยนเรียนรู้นำสู่วิธีการปฏิบัติที่ดีในการนำไปใช้ดำเนินงานร่วมกัน และขอให้จัดทำแผนและวิธีการทำงานที่สามารถเบิกจ่ายงบประมาณให้ครบถ้วนภายในเดือนสิงหาคม 2563 โดยส่งแผนดังกล่าวถึงสำนักยุทธศาสตร์การเกษตรวิจัยประเมินผลและส่งเสริมกิจการพิเศษ สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติภายในวันจันทร์ที่ 23 มี.ค.2563 เวลา 16.00 น. ทุกช่องทางการสื่อสาร รวมทั้งได้มีการชี้แจงประกาศตามมติ ครม.เรื่องมาตรการเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) […]

สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติจัดประชุมทางไกล ครั้งที่ 4/2563

เมื่อวันที่ 19 มี.ค.2563 นายรัตนะ สวามีชัย เลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ เป็นประธานการประชุมทางไกลผ่านระบบ Web Conference ครั้งที่ 4/2563 พร้อมด้วย นายภาสันต์ นุพาสันต์ ผู้ช่วยเลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ ณ ห้องประชุม AEOC ชั้น 2 อาคารศูนย์ปฏิบัติการเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เพื่อเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ​ปี​ 2563​ ของสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัด​ โดยการประชุมได้มีการเสนอแนวทางการปฏิบัติการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2563 ให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดของสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดที่ปัจจุบันเบิกจ่ายได้ต่ำกว่าร้อยละ​ 40​ และสูงกว่าร้อยละ​ 40​ แลกเปลี่ยนเรียนรู้นำสู่วิธีการปฏิบัติที่ดีในการนำไปใช้ดำเนินงานร่วมกัน​  และขอให้จัดทำแผนและวิธีการทำงานที่สามารถเบิกจ่ายงบประมาณให้ครบถ้วนภายในเดือนสิงหาคม 2563 และส่งแผนดังกล่าวถึงสำนักยุทธศาสตร์การเกษตรวิจัยประเมินผลและส่งเสริมกิจการพิเศษ สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติภายในวันจันทร์ที่ 2​3 มี.ค.25​63​ เวลา​ 16.00 น.​ ทุกช่องทางการสื่อสาร  รวมทั้งได้มีการชี้แจงประกาศตามมติ ครม.เรื่องมาตรการเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)                   […]

ข่าวประชาสัมพันธ์ประจำสัปดาห์ วันศุกร์ที่ 13 มีนาคม 2563

  ข่าวประชาสัมพันธ์ประจำสัปดาห์ วันศุกร์ที่ 13 มีนาคม 2563 ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติห่วงเกษตรกร ถูกรุมเร้าทั้งภัยแล้งและโควิด-19 ขอให้ตั้งสติ ทบทวน เตรียมการ เพื่อให้ผ่านวิกฤต                นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวถึงสถานการณ์ตอนนี้ภาคเกษตรน่าห่วงมาก ทั้งเรื่องภัยแล้งที่จะเกิดผลกระทบกับเกษตรกรมากที่สุดและเชื่อว่าจะมาบ่อยและถี่ขึ้น ขอให้เกษตรกรใช้โอกาสนี้เตรียมการรองรับในระยะยาว รวมทั้งสถานการณ์การลุกลามของไวรัสโคโรนา(COVID-19) กับแนวโน้มลามไปทั่วโลก เกษตรกรจะมีผลกระทบ 2 ด้าน คือ การกลับมาของลูก/หลาน/ญาติ ที่ไปเรียน/ทำงานในประเทศกลุ่มเสี่ยงแล้วเดินทางกลับมาเยี่ยมหรือกลับบ้าน และด้านผลกระทบเศรษฐกิจ ประเทศคู่ค้าจะสั่งสินค้าเกษตรลดลงมาก ส่วนราคาในประเทศไทยจะถูกแรงกดดันจากการส่งออกน้อยลงและตกค้างแนวโน้มราคาจะตกต่ำ (ปล่อยเสียง นายประพัฒน์) สภาเกษตรกรจังหวัดพะเยาร่วมงานมหกรรมโคพันธุ์ดีเมืองพะเยา ประจำปี 2563                เมื่อวันที่ 11 มี.ค.2563นายอติวรรธน์ หอมนาน ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดพะเยา เข้าร่วมเปิดงาน “มหกรรมโคพันธุ์ดีเมืองพะเยา ประจำปี 2563” ณ โรงเรียนบ้านห้วยบง หมู่ 18 ต.แม่ปืม อ.เมือง จ.พะเยา […]

สภาเกษตรฯ Channel – “ประพัฒน์” ห่วงเกษตรกร รุมเร้าทั้งภัยแล้งและโควิด-19ฯ

  ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติห่วงเกษตรกร ถูกรุมเร้าทั้งภัยแล้งและโควิด-19 ขอให้ตั้งสติ ทบทวน เตรียมการ เพื่อให้ผ่านวิกฤต           นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวถึงสถานการณ์ตอนนี้ภาคเกษตรน่าห่วงมาก เรื่องภัยแล้งด้วยมองว่าจะเกิดผลกระทบกับเกษตรกรมากที่สุดและเชื่อว่าจะมาบ่อยและถี่ขึ้นขอให้เกษตรกรใช้โอกาสนี้เตรียมการรองรับในระยะยาว สัมภาษณ์นายประพัฒน์ / แทรกภาพภัยแล้ง           นายประพัฒน์ ยังกล่าวอีกว่า อีกหนึ่งสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงคือการลุกลามของไวรัสโคโรนา (COVID-19) แนวโน้มจะลามไปทั่วโลก เกษตรกรจะมีผลกระทบ 2 ด้าน คือ การกลับมาของลูก/หลาน/ญาติ ที่ไปเรียน/ทำงานในประเทศกลุ่มเสี่ยงแล้วเดินทางกลับมาเยี่ยมหรือกลับบ้าน และด้านผลกระทบเศรษฐกิจ ประเทศคู่ค้าจะสั่งสินค้าเกษตรลดลงมาก ส่วนราคาในประเทศไทยจะถูกแรงกดดันจากการส่งออกน้อยลงและตกค้างแนวโน้มราคาจะตกต่ำ สัมภาษณ์นายประพัฒน์ / ภาพเกี่ยวกับโควิด-19 …………………………………………………………………. ข่าว : วัฒนรินทร์ สุขีวัย เทคนิค : วัชร มีแสงเงิน

“ประพัฒน์” ห่วงเกษตรกร รุมเร้าทั้งภัยแล้งและโควิด-19 ตั้งสติ ทบทวน เตรียมการ ให้ผ่านวิกฤต

            นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ได้กล่าวด้วยความเป็นกังวล ว่า สถานการณ์บ้านเมืองตอนนี้น่าห่วงมาก ทั้งเรื่องภัยแล้งที่เคยเตือนเกษตรกรให้ได้เตรียมการวางแผนรับมือตั้งแต่ปลายเดือนกันยายนปีที่แล้วและเป็นระยะๆ ด้วยมองว่าจะเกิดผลกระทบกับเกษตรกรมากที่สุดและเชื่อมั่นว่าจะมาบ่อยและถี่ขึ้นซึ่งปีนี้หนักหน่วง ขอให้เกษตรกรใช้โอกาสนี้เตรียมการรองรับในระยะยาว เช่น เตรียมสระหรือขุดบ่อน้ำในไร่/นา/สวน ปรับโครงสร้างการผลิต หากิจกรรมสร้างรายได้เสริม อาทิเช่น หากทำสวนยางพารา สวนปาล์มน้ำมัน และอื่นๆอาจเสริมด้วยการปลูกพืชอายุสั้นใช้น้ำน้อย สมุนไพร ระหว่างร่องของพืชหลัก หรือปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์ เลี้ยงแพะ แกะ วัว กระบือ ไก่พื้นเมือง เพราะภาคปศุสัตว์เป็นกิจกรรมที่ใช้น้ำน้อย ส่วนเงินช่วยเหลือที่รัฐบาลอัดฉีดให้ ขอให้ใช้เพื่อประโยชน์สูงสุดและให้อยู่ในกระเป๋ายาวนานที่สุด เพราะคาดไม่ได้ว่าฝนแรกจะมาเมื่อไหร่สถานการณ์จะลุกลามและยืดยาวนานแค่ไหน รวมทั้งขณะนี้สถานการณ์การลุกลามของไวรัสโคโรนา (COVID-19) แนวโน้มจะลามไปทั่วโลก เกษตรกรจะมีผลกระทบ 2 ด้าน คือ การกลับมาของลูก/หลาน/ญาติ ที่ไปเรียน/ทำงานในประเทศกลุ่มเสี่ยงแล้วเดินทางกลับมาเยี่ยมหรือกลับบ้าน ต้องมีวินัยในการดูแลเป็นอย่างมาก แยกออกจากกลุ่มคนในครอบครัว พื้นที่มีคนเยอะควรหลีกเลี่ยง/ละเว้น เป็นต้น  ด้านผลกระทบเศรษฐกิจ ประเทศคู่ค้าจะสั่งสินค้าเกษตรลดลงมาก ส่วนราคาในประเทศไทยจะถูกแรงกดดันจากการส่งออกน้อยลงและตกค้างแนวโน้มราคาจะตกต่ำ หากอยู่ในภาคการผลิตอาหารผลกระทบไม่น่าห่วงเท่าไหร่เพราะทุกคนต้องกินต้องใช้ หากอยู่ในภาคการส่งออกจะมีผลกระทบมากที่สุด ณ ช่วงเวลาแบบนี้เกษตรกรจึงควรหันมาทบทวน เตรียมการสำหรับตนเองและครอบครัว ซื้อให้น้อยที่สุดและเก็บเม็ดเงินให้มากและยาวนานที่สุด เตรียมศึกษาหาความรู้เพื่อที่จะพัฒนาการเกษตรของตนเองให้ทันสมัยมากขึ้น ลดความเสี่ยงให้น้อยลง “ […]

ข่าวประชาสัมพันธ์ประจำสัปดาห์ วันศุกร์ที่ 6 มีนาคม 2563

ข่าวประชาสัมพันธ์ประจำสัปดาห์ วันศุกร์ที่ 6 มีนาคม 2563 สภาเกษตรกรจันทบุรี ชู “ศาสตร์พระราชา” แก้วิกฤติแล้งและไวรัสโควิดได้ นายธีระ วงษ์เจริญ ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดจันทบุรี และประธานคณะกรรมการด้านปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวถึงผลกระทบผลผลิตผลไม้จากปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID -19) ว่า ตลาดหลักผลไม้ของไทยคือประเทศจีนแต่ยามนี้เกิดการระบาดของไวรัสโคโรนา เกษตรกรมีความวิตกกังวลกับผลผลิตที่ออกมา อาทิ ทุเรียน มังคุด เงาะ ก่อนหน้านี้ลำไยได้รับผลกระทบไปแล้ว กอปรกับภัยแล้งจึงซ้ำเป็น 2 เท่า ทั้งนี้ การพัฒนาการเกษตรในประเทศไทยเน้นการพัฒนาพืชเชิงเดี่ยว วิธีการเหล่านี้ปีนี้ตอบโจทย์แล้วว่า “ไม่ใช่” เกษตรผสมผสานเกษตรทฤษฎีใหม่ซึ่งพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 พระราชทานไว้และทำให้เห็นเป็นตัวอย่าง คือเป้าหมายสำคัญที่คณะกรรมการด้านปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จะทำเสนอต่อสภาเกษตรกรแห่งชาติและเสนอต่อรัฐบาลให้ดำเนินการขยายผลต่อไป (ปล่อยเสียง นายธีระ) สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี ร่วมกับ สสส.จัดเวทีจัดการความรู้ และพิธีลงนามความร่วมมือ เมื่อวันที่ 2 มี.ค.63 สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลพบุรี ได้ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)จัดเวทีจัดการความรู้ และพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือการขับเคลื่อนเครือข่ายระบบเกษตรกรรม เพื่ออาหารปลอดภัยจังหวัดลพบุรี ณ ศูนย์เรียนรู้กสิกรรมไร้สารพิษละโว้ธานี จังหวัดลพบุรี […]

สภาเกษตรกรจันทบุรี เสนอ 4 ทางแก้แล้ง “จะไม่ยอมให้เกษตรกรล้มตาย แล้วเชิดชูอุตสาหกรรมให้เติบโต”

              นายธีระ วงษ์เจริญ ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดจันทบุรี เปิดเผยว่า สถานการณ์แล้งในขณะนี้ต้องยอมรับว่า ภาวะโลกร้อนนั้นส่งผลกระทบต่อพี่น้องเกษตรกรที่ทำการเกษตรทุกด้าน จังหวัดจันทบุรีขึ้นชื่อเรื่องเมืองผลไม้ขณะนี้ ต้นลำไยกำลังจะยืนต้นตายที่กำลังตามมาคือ ทุเรียน มังคุด เงาะ ถึงแม้ค่าเฉลี่ยปริมาณฝน 3,200  มิลลิเมตร/ปี แต่ในบางพื้นที่ เช่น อ.โป่งน้ำร้อน อ.สอยดาว ซึ่งมีสวนลำไยค่อนข้างมากเป็นพื้นที่มีปริมาณฝนน้อย ถึงแม้มีอ่างเก็บน้ำคลองพระพุทธแต่ระบบการกระจายน้ำยังไม่สมบูรณ์ รวมทั้งมีการขยายพื้นที่ทำการเกษตรปริมาณน้ำจึงไม่เพียงพอ ซึ่งขณะนี้ได้ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยประทังต้นลำไยของเกษตรกรอยู่รอดให้ได้ก่อนและจังหวัดควรประกาศภัยพิบัติจากนั้นจึงเริ่มดำเนินการแบ่งปันน้ำจากอ่างเก็บน้ำคลองพระพุทธโครงการ 1 ไปสู่โครงการ 3 จะแบ่งปันน้ำกันอย่างไรต้องให้เกษตรกร ประชาชนมาหารือร่วมกันเพื่อให้ทุกคนรอดให้ได้ ซึ่งคาดหวังว่าภายในระยะช่วงสิ้นเดือนต้นลำไยจะต้องรอดเพราะหากเริ่มปลูกใหม่ต้องรอเติบโต 3 – 6 ปี จึงจะได้ผลผลิต  ทั้งนี้ สภาเกษตรกรจังหวัดจันทบุรีได้ลงไปดูพื้นที่ทั้งหมดแล้วว่าสามารถที่จะกระจายน้ำเข้าไปช่วยให้ต้นลำไยเลี้ยงตัวเองได้ ซึ่งระยะแรกต้องไม่หวังผลผลิต เกษตรกรต้องตัดใบพื่อลดการคายน้ำรวมทั้งผลทิ้งให้หมดพร้อมด้วยการคลุมโคนต้นเพื่อสร้างความชุ่มชื้นในดินป้องกันความชื้นระเหย “ไม่เชื่อว่าความแห้งแล้งจะมีแค่เดือนสองเดือนถ้ามันยาวนาน 3 เดือน หรือกว่านั้น เราอาจจะตายไปพร้อมๆกับเขาก็ได้ เพราะฉะนั้นพี่น้องเกษตรกรต้องพยายามหาแหล่งน้ำมาเพิ่มเติมในพื้นที่เกษตรให้ได้ ทุกวันนี้เรามองการพัฒนาอุตสาหกรรมมากกว่าการเกษตรไปแล้ว และสภาเกษตรกรคงยอมไม่ได้หากปล่อยให้เกษตรกรล้มตายไปแล้วหันไปเชิดชูภาคอุตสาหกรรมให้เติบโตเพื่อให้ได้เงินเข้าประเทศมากๆซึ่งเป็นการบริหารงานที่ผิดพลาด” นายธีระ กล่าว อย่างไรก็ตาม […]

สภาเกษตรกรจังหวัดจันทบุรีชี้เกษตรกรช้ำยกกำลัง 2 ทั้งภัยแล้ง + โควิด ใช้ศาสตร์พระราชาช่วยได้

                    นายธีระ วงษ์เจริญ ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดจันทบุรี และประธานคณะกรรมการด้านปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวถึงผลกระทบผลผลิตผลไม้จากปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID -19) ว่า ตลาดหลักผลไม้ของไทยคือประเทศจีนแต่ยามนี้เกิดการระบาดของไวรัสโคโรนาแม้แต่ประเทศแถบยุโรปก็ส่งออกไปไม่ได้เหมือนกันเพราะสายการบินปิดการขนส่ง เกษตรกรมีความวิตกกังวลกับผลผลิตที่ออกมาในช่วงของเดือนมีนาคม คือ ทุเรียน มังคุด เงาะ ก่อนหน้านี้ลำไยได้รับผลกระทบไปแล้ว กอปรกับภัยแล้งจึงซ้ำเป็น 2 แรง โดยในขณะนี้เกษตรกรได้พยายามดูแลผลผลิตของตัวเองให้รอดจากภัยแล้งก่อน แล้วมองตลาดภายในประเทศโดยเฉพาะการกระจายผลผลิตในพื้นที่จังหวัดให้มากขึ้น รวมทั้งการใช้สถาบันเกษตรกร เช่น ระบบสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจแปลงใหญ่ องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร(อตก.)ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ องค์การตลาดของกระทรวงมหาดไทย ต้องเร่งหารือให้เร็วที่สุด หากผลผลิตออกมาแล้วจะแก้ไขปัญหาไม่ทัน ส่วนตลาดต่างประเทศซึ่งเป็นตลาดหลักเมื่อได้รับผลกระทบจะแก้ไขปัญหาได้ยาก แต่หากเตรียมความพร้อมในประเทศได้ก่อนส่วนต่างหรือเกินจึงค่อยดำเนินการต่อ ส่วนเรื่องราคาไม่อยากให้เกษตรกรมองย้อนกลับไปเปรียบเทียบกับปีที่แล้วหรือ 2 ปีที่แล้ว ณ วันนี้ต้องประคองตัวเองให้รอดก่อน ซึ่งสภาเกษตรกรฯเองได้ทำความเข้าใจกับหลายภาคส่วนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรโดยส่วนใหญ่เกษตรกรเห็นด้วยกับแนวคิดนี้               […]

1 38 39 40 41 42 88