เกษตรกรปาล์มมองภาครัฐไม่สามารถแก้ปัญหาตามห้วงเวลาที่เหมาะสม แค่ประวิงเวลา

          นายพันศักดิ์ จิตรรัตน์ ประธานสภาเกษตรกร​จังหวัด​กระบี่  และประธานคณะกรรมการด้านปาล์มน้ำมันและพืชพลังงาน สภาเกษตรกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า สถานการณ์​การแพร่ระบาดไวรัสโคโรนา 2019 ตอนนี้ส่งผลสินค้าเกษตรทุกกลุ่มแย่หมด ในพื้นที่ของกลุ่มเกษตรกรชาวสวนปาล์มเองก็เช่นกัน ปาล์มน้ำมันราคาตกมาที่ 2.50 บาท ณ ลานเท ขณะที่เกษตรกรก็กำลังมีผลผลิตออกมาแต่ราคากลับตกต่ำ รายได้น้อยลงการจับจ่ายใช้สอยมีปัญหาระหว่างนี้ขอให้อดทนเพื่อให้ผ่านพ้นวิกฤต และขอให้มองวิกฤตเป็นโอกาส การทำสวนเกษตรบางกลุ่มอาจทำแค่ประมาณ 30-50% ตอนนี้สามารถทำได้เป็น 100%  เพราะรัฐบาลสนับสนุนให้ทำงานที่บ้าน เกษตรกรเข้าสวนทำไร่ ทำนาในพื้นที่ของตัวเองเติมเต็มให้ดีที่สุด ในภายภาคหน้าเชื่อแน่ว่าโรคต้องสลายหายไปสิ่งที่เกษตรกรได้ทุ่มเททำจริงจัง 100% ในขณะนี้ผลผลิตที่จะออกมาต้องดีในช่วงปลายทางข้างหน้าแน่นอน          นายพันศักดิ์ กล่าวต่อไปว่า ภายใต้การจัดการเรื่องปาล์ม 8 ปีเต็ม ปัญหา​หลักๆ คือ เกษตรกรนำเสนอปัญหาและแนวทางแก้ไขไปยังหน่วยงานภาครัฐ​ที่เกี่ยวข้อง รับทุกเรื่องแต่ทำไม่ตรงตามห้วงเวลาที่เหมาะสม เช่น การเสนอเรื่องโครงสร้างราคาที่เป็นธรรม รัฐพยายามประชุมแล้วประชุมอีกแต่ไม่สามารถนำข้อมูลการปรับโครงสร้างราคามาใช้เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายได้ การประชุมเพื่อแก้ไขปัญหาจึงล้มเหลว การติดมิเตอร์แบบเรียลไทม์​ โดยขอให้กระทรวงอุตสาหกรรมเป็นผู้กำหนดประกาศให้โรงสกัดหรือผู้ซื้อน้ำมัน ผู้ค้าน้ำมันต้องมีมิเตอร์ด้วยตนเอง  แต่หน่วยงานรัฐบอกว่าสามารถจะบังคับซื้อให้ติดตั้งได้ สุดท้ายเสนอเข้าครม.พิจารณาอนุมัติแต่กระทรวงการคลังไม่สามารถอนุมัติได้เพราะจะเอาเงินของราชการไปติดตั้งให้บริษัทไม่ได้ ต้องบังคับให้บริษัทติดตั้งเอง […]

ข่าวประชาสัมพันธ์ประจำสัปดาห์ วันศุกร์ที่ 24 เมษายน 2563

ข่าวประชาสัมพันธ์ประจำสัปดาห์ วันศุกร์ที่ 24 เมษายน 2563 สภาเกษตรกรแห่งชาติสนับสนุนให้เกษตรกรขายผลผลิตผ่านระบบออนไลน์เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019                นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ได้มอบนโยบายให้สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติกำหนดแนวทางในการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ให้สามารถนำผลผลิต/ผลิตภัณฑ์ส่งขายผู้บริโภคในระหว่างที่ภาครัฐมีมาตรการป้องกันการแพร่ระบาด สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติจึงได้จัดทำแนวทางการส่งเสริมสนับสนุนให้เกษตรกรขายผลผลิต/ผลิตภัณฑ์แบบออนไลน์ โดยการสำรวจและรวบรวมข้อมูลผลผลิต/ผลิตภัณฑ์ของเกษตรกร องค์กรเกษตรกร ประสานงานเสนอข้อมูลผลผลิต/ผลิตภัณฑ์ต่อหน่วยงานภาครัฐ/เอกชนในพื้นที่ และประชาสัมพันธ์สื่อที่จัดทำผ่านช่องทางสื่อออนไลน์ เช่น เวปไชต์ /เพจ Facebook ของสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัด สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ไลน์กลุ่ม และช่องทางออนไลน์อื่นๆ โดยขณะนี้ได้ผลสำรวจและรวบรวมข้อมูลผลผลิต/ผลิตภัณฑ์ของเกษตรกร องค์กรเกษตรกร จากสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดที่เข้าร่วม 57 จังหวัด 498 รายการสินค้า ซึ่งผู้สนใจในผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรสามารถรับชมและช่วยอุดหนุนสินค้าจากเกษตรกรได้โดยตรง ผ่านเฟซบุ๊ก “เดินหาสินค้าเกษตร”หรือ www.facebook.com/Agriproducts.from.farmer   สภาเกษตรกรจังหวัดสุราษฎร์ธานีรับผลผลิตมะม่วงจากเกษตรกรกาฬสินธุ์ เพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบด้านการตลาดจากไวรัสแพร่ระบาด                เมื่อวันที่ 22 เม.ย.2563 นายสิทธิพร จริยพงศ์ ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมรับผลผลิตมะม่วง อาทิ มะม่วงน้ำดอกไม้ เขียวเสวย และมหาชนก จากกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงส่งออกจากจังหวัดกาฬสินธุ์ ณ […]

ข่าวประชาสัมพันธ์ประจำสัปดาห์ วันศุกร์ที่ 17 เมษายน 2563

  ข่าวประชาสัมพันธ์ประจำสัปดาห์ วันศุกร์ที่ 17 เมษายน 2563 ประธานสภาเกษตรกรฯ เผยหลังวิกฤตการณ์โควิดผ่านภาคการเกษตรจะยิ่งคงความสำคัญ                นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวถึงสถานการณ์หลังวิกฤตโควิดผ่านพ้นไปแล้วภาคการเกษตรจะยิ่งคงความสำคัญของเศรษฐกิจไทยและสังคมไทยเพราะว่าเป็นภาคสำคัญที่สามารถผลิตอาหารเลี้ยงประชากรไทยและประชากรโลกได้ ที่สำคัญคือเกษตรกรต้องมีความรู้ และขอให้เตรียมความพร้อมเอาไว้ วางแผนการผลิตให้ดี มีคุณภาพและปริมาณที่ดี ที่สำคัญก็คือค้นหาศักยภาพในการผลิตว่าจะปลูกอะไรที่เหมาะสมในพื้นที่ของตนเอง มั่นใจได้ว่าในระหว่างวิกฤตโควิดระบาดนั้น มีความต้องการแอลกอฮอล์สูงมากและพืชที่นำมาผลิตแอลกอฮอล์เป็นพืชตระกูลแป้ง อาทิเช่น มันสำปะหลัง หรืออื่นๆ ก็น่าจะทำให้มีราคาดีขึ้นตามไป ขอให้เกษตรกรค้นหาข้อมูลดู แล้วทำการผลิตให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและสภาพสถานการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้น (ปล่อยเสียง นายประพัฒน์) ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติเสนอมาตรการสร้างความเข้มแข็งภาคชนบทให้ผ่านพ้นวิกฤตโควิด-19                นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวว่า ภาคการเกษตรเป็นภาคที่มีความสำคัญมากในด้านการผลิตอาหารเพื่อความมั่นคงของชาติ เมื่อเกิดวิกฤตการณ์ของชาติทุกครั้งภาคการเกษตรเป็นเบาะรองรับ ณ วันนี้ภายใต้วิกฤตโควิด-19 ภาคการเกษตรไทยยังคงทำหน้าที่ได้อยู่แต่ก็อ่อนแอมาก พึ่งตนเองไม่ได้ ล้มละลายทางเศรษฐกิจ การผลิตไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ หนี้สินรุงรังมาก อยากเห็นการแก้ปัญหาจากภาครัฐเพื่อให้ภาคเกษตรเป็นที่พี่งในระยะยาวได้ และสามารถเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ภาคชนบท โดยสภาเกษตรกรแห่งชาติได้เสนอมาตรการเยียวยาภาคการเกษตร คือ มาตรการระยะสั้น เงินสดที่จะส่งตรงถึงมือเกษตรกรเพราะจะมีผลให้กำลังซื้อเพิ่มมากขึ้น เกิดกระแสเงินหมุนเวียน มีผลต่อภาพรวมเศรษฐกิจไทย ความเดือดร้อนน้อยลง มาตรการเพิ่มเติม คือ ขอให้รัฐบาลพักหนี้ทั้งระบบ […]

ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติเสนอมาตรการสร้างความเข้มแข็งภาคชนบทให้ผ่านพ้นวิกฤตโควิด-19

          นายประพัฒน์  ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวว่า ภาคการเกษตรเป็นภาคที่มีความสำคัญมากในด้านการผลิตอาหารเพื่อความมั่นคงของชาติ เมื่อเกิดวิกฤตการณ์ของชาติทุกครั้งภาคการเกษตรเป็นเบาะรองรับ ณ วันนี้ภายใต้วิกฤตโควิด-19 ภาคการเกษตรไทยยังคงทำหน้าที่ได้อยู่แต่ก็อ่อนแอมาก พึ่งตนเองไม่ได้ ล้มละลายทางเศรษฐกิจ การผลิตไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ หนี้สินรุงรังมาก อยากเห็นการแก้ปัญหาจากภาครัฐเพื่อให้ภาคเกษตรเป็นที่พี่งในระยะยาวได้ และสามารถเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ภาคชนบท โดยสภาเกษตรกรแห่งชาติได้เสนอมาตรการเยียวยาภาคการเกษตร คือ มาตรการระยะสั้น เงินสดที่จะส่งตรงถึงมือเกษตรกร ซึ่งเห็นด้วยกับมาตรการเยียวยานี้จากรัฐบาลเพราะจะมีผลให้กำลังซื้อเพิ่มมากขึ้น เกิดกระแสเงินหมุนเวียน มีผลต่อภาพรวมเศรษฐกิจไทย ความเดือดร้อนน้อยลงหากได้ถึงระยะเวลา 6 เดือนจะยิ่งดี   และด้วยภัยแล้งที่เป็นปัญหาถมทับและซ้ำเติมจึงมีมาตรการเพิ่มเติม คือ ขอให้รัฐบาลพักหนี้ทั้งระบบ ไม่จ่ายทั้งต้นและดอกเบี้ย แต่ให้คงสภาพหนี้ไว้ระยะเวลา 6 เดือนเพื่อให้ผ่านพ้นช่วงวิกฤต โดยรัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยในระหว่างพักหนี้ รวมทั้งขอให้ผ่อนปรนกรณีเช่า/ซื้อเครื่องจักรกลการเกษตรไม่ให้เกิดการยึดคืนในระหว่างนี้   ทั้งนี้ ภาครัฐควรสนับสนุนให้การเกษตรในภาคชนบทปรับโครงสร้างให้มีความมั่นคง ยั่งยืนมากขึ้น ซึ่งโครงสร้างการผลิตภาคครัวเรือนต้องมีความหลากหลายมากขึ้น เพื่อจะลดแรงปะทะจากความเสี่ยงรอบด้าน สนับสนุนให้เกษตรกรได้มีความรู้ให้มากขึ้น ขอให้มีมาตรการ/นโยบายในการแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้มากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) มีองค์ความรู้และงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยเยอะมากอยู่แล้วสามารถนำมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพด้านการผลิตได้ แต่ที่ผ่านมาไม่มีหน่วยงานกลางทำหน้าที่เชื่อมประสาน สภาเกษตรกรแห่งชาติพร้อมทำหน้าที่ประสานให้ ขอเพียงรัฐบาลมีคำสั่งที่ชัดเจน ไม่งั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็จะต่างคนต่างทำงานกันเหมือนเดิม […]

ข่าวประชาสัมพันธ์ประจำสัปดาห์ วันศุกร์ที่ 10 เมษายน 2563

ข่าวประชาสัมพันธ์ประจำสัปดาห์ วันศุกร์ที่ 10 เมษายน 2563 สภาเกษตรกรจังหวัดขอนแก่น ประชุมหารือแนวทางช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง อ.บ้านแฮด ที่ประสบปัญหาการส่งออก จากสถานการณ์โรคระบาด COVID-19                เมื่อวันที่ 7 เม.ย.2563​ นายสุรพงษ์ พินิจมนตรี ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดขอนแก่น ร่วมประชุมหารือกลุ่มวิสาหกิจชุมชนมะม่วงบ้านแฮดเพื่อการส่งออก โดยนายศรัทธา คชพลายุกต์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น เป็นประธาน ร่วมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ณ โรงคัดแยกมะม่วงบ้านแฮดเพื่อการส่งออก บ้านหนองเต่า ต.หนองแซง อ.บ้านแฮด จ.ขอนแก่น เพื่อแจ้งให้ที่ประชุมรับทราบถึงสถานการณ์ และปัญหาที่ไม่สามารถส่งออกมะม่วงได้เช่นปีที่ผ่านมา เนื่องจากประสบผลระทบจากการระบาดของโรค COVID-19 ซึ่งมีสมาชิกในกลุ่มวิสาหกิจชุมชน อยู่ประมาณ 65 ราย พื้นที่ปลูกมะม่วง จำนวน 1,554 ไร่ โดยมีมะม่วงน้ำดอกไม้ จำนวน 1,330 ไร่ มะม่วงโชคอนันต์ จำนวน 124 ไร่ มะม่วงเขียวเสวย จำนวน 80 ไร่ มะม่วงพันธุ์​อื่น […]

ข่าวประชาสัมพันธ์ประจำสัปดาห์ วันศุกร์ที่ 3 เมษายน 2563

  ข่าวประชาสัมพันธ์ประจำสัปดาห์ วันศุกร์ที่ 3 เมษายน 2563 สภาเกษตรกรฯเก็บพืชกัญชานำร่องปลูกรอบแรกในโรงเรือน 529.2 ก.ก. ส่งทำยาตำรับแพทย์แผนไทย                เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2563 นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดลำปาง และที่ปรึกษาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรอินทรีย์เพชรลานนา ร่วมเป็นสักขีพยานการเก็บเกี่ยวกัญชาสดชุดแรก ณ บริเวณโรงเรือนเพาะปลูกกัญชาของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรอินทรีย์เพชรลานนา ต.แม่สุก อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง เพื่อส่งให้กับกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก โดยวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรอินทรีย์เพชรลานนา ในฐานะผู้ได้รับอนุญาตผลิตและครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษหรือในประเภท 5 ได้ทำการเก็บเกี่ยวพืชกัญชา จำนวน 779 ต้นสด น้ำหนักรวม 529.2 กิโลกรัม และส่งมอบให้กับโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเด่นชัย จ.แพร่ เพื่อนำไปใช้เป็นส่วนผสมในตำรับยาแพทย์แผนไทยต่อไป   ประธานสภาเกษตรกรฯ กระทุ้งรัฐบาลอย่าทิ้งภาคชนบทที่อ่อนแรง วิกฤตทุกครั้งเป็นเบาะคอยรองรับ               เมื่อวันที่ 1 เม.ย.2563 นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติกล่าวในการประชุมทางไกลออนไลน์เพื่อรับทราบการดำเนินงานของสำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ภายใต้สถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และสื่อสารถึงรัฐบาลด้านความเดือดร้อนของเกษตรกรในภาคชนบท ว่าขณะนี้อ่อนแอและอ่อนแรงมากจนจะล่มสลาย […]

สภาเกษตรฯ Channel – ประธานสภาเกษตรกรฯ กระทุ้งรัฐบาลอย่าทิ้งภาคชนบทที่อ่อนแรงฯ

ประธานสภาเกษตรกรฯ กระทุ้งรัฐบาลอย่าทิ้งภาคชนบทที่อ่อนแรง วิกฤตทุกครั้งเป็นเบาะคอยรองรับ                นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวถึงความเดือดร้อนของเกษตรกรในภาคชนบท ว่าขณะนี้อ่อนแอและอ่อนแรงมากจนจะล่มสลาย การช่วยเหลือเยียวยาจากรัฐบาลในภาคชนบทขาดความชัดเจนไม่เป็นรูปธรรม ด้วยผลกระทบที่เกิดขึ้นมีหลายมิติ และที่ผ่านมาภาคการเกษตรในชนบทเปรียบเป็นเบาะที่รองรับปัญหาทั้งประเทศในยามที่ต้องเผชิญวิกกฤตเศรษฐกิจหลายครั้ง ซึ่งทุกครั้งเมื่อเกิดวิกฤตผู้คนจะหลั่งไหลกลับสู่ชนบท นายประพัฒน์ส่งข้อความถึงรัฐบาล               นายประพัฒน์ ยังกล่าวอีกว่า สภาเกษตรกรแห่งชาติได้มีการเตรียมการมาตลอดหลายปีที่ผ่านมาเพื่อให้เกษตรกรภาคชนบททำการเกษตรบนพื้นฐานศักยภาพ ภูมิปัญญาของเกษตรกรเองให้เป็นฐานรากทางสังคมที่เข้มแข็งสามารถที่จะเป็นเบาะรองรับวิกฤติเศรษฐกิจของชาติได้ในระยะยาวต่อไป นายประพัฒน์ส่งข้อความถึงรัฐบาล …………………………………………………………………. ข่าว : วัฒนรินทร์ สุขีวัย เทคนิค : วัชร มีแสงเงิน

ประธานสภาเกษตรกรฯ กระทุ้งรัฐบาลอย่าทิ้งภาคชนบทที่อ่อนแรง วิกฤตทุกครั้งเป็นเบาะคอยรองรับ

          นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวในการประชุมทางไกลออนไลน์เพื่อรับทราบการดำเนินงานของสำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ภายใต้สถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และสื่อสารถึงรัฐบาลด้านความเดือดร้อนของเกษตรกรในภาคชนบท ว่าขณะนี้อ่อนแอและอ่อนแรงมากจนจะล่มสลาย การช่วยเหลือเยียวยาจากรัฐบาลในภาคชนบทขาดความชัดเจนไม่เป็นรูปธรรม ด้วยผลกระทบที่เกิดขึ้นหลายมิติมาก เช่น ปัญหาภัยแล้งที่ต่อเนื่องยาวนาน 2 ปี ยังผลให้ภาคการผลิตยากมาก  , ปัญหาไวรัสโควิด-19 ระบาดส่งผลให้แม้ผลิตสินค้าเกษตรได้ก็ขายยากมาก  , ปัญหาที่ทำกินรุนแรงเรื้อรัง , ราคาพืชผลตกต่ำต่อเนื่องหลายปี  เป็นต้น  ทั้งนี้ ที่ผ่านมาภาคการเกษตรในชนบทเปรียบเป็นเบาะที่รองรับปัญหาทั้งประเทศในยามที่ต้องเผชิญวิกกฤตเศรษฐกิจหลายครั้งมาก ในทุกครั้งเมื่อเกิดวิกฤตผู้คนจะหลั่งไหลกลับสู่ชนบท อาทิ วิกฤตต้มยำกุ้ง เมื่อปี 2540 แต่ด้วยช่วงนั้นประเทศไทยฝนตกต่อเนื่องตลอด 2 ปี จึงทำให้ภาคชนบทสามารถเป็นเบาะรองรับปัญหาต่างๆได้และฟื้นประเทศชาติได้เร็ว แต่ครั้งนี้แตกต่างเพราะภาคชนบทถูกดูดซับความมั่งคั่งจนอ่อนแรงที่สุด ด้วยสาเหตุหนึ่ง “ฝนก็ไม่ดี น้ำในห้วยก็ไม่มี น้ำในเขื่อนก็เหลือน้อยเต็มที” หากรัฐบาลไม่มีมาตรการฟื้นฟูภาคชนบทให้กลับมาเข้มแข็งเป็นเศรษฐกิจฐานรากที่รองรับสังคมไทยในยามเผชิญวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ ศักยภาพในการรองรับจะนับได้อีกกี่ครั้ง?                 อย่างไรก็ตาม สภาเกษตรกรแห่งชาติได้มีการเตรียมการมาตลอดหลายปีที่ผ่านมา เช่น การลงไปค้นหาศักยภาพของเกษตรกรในชนบท  ,  การทำแผนพัฒนาเกษตรกรรมระดับตำบลในทุกตำบล  ,  การค้นหาพืชหรือสัตว์เศรษฐกิจใหม่ๆเพื่อเป็นทางเลือกที่ดีให้เกษตรกรในชนบท  เป็นต้น “ ถึงเวลาแล้วที่จะกลับมาฟื้นฟูภาคชนบทด้วยแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจการทำการเกษตรบนพื้นฐานศักยภาพ  ภูมิปัญญาของเกษตรกรเอง ให้โอกาสเกษตรกรภาคชนบท ผมเชื่อมั่นว่าเราจะเข้มแข็ง แข็งแกร่งมากขึ้น เป็นฐานรากทางสังคมที่เข้มแข็งสามารถที่จะเป็นเบาะรองรับวิกฤติเศรษฐกิจของชาติได้ในระยะยาวต่อๆไป ” ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวปิดท้าย …………………………………………………… ข่าว : วัฒนรินทร์ สุขีวัย ภาพ : ทีมสารสนเทศ วีดีโอ : ทีม สกจ.ลำปาง / […]

ข่าวประชาสัมพันธ์ประจำสัปดาห์ วันศุกร์ที่ 27 มีนาคม 2563

ข่าวประชาสัมพันธ์ประจำสัปดาห์ วันศุกร์ที่ 27 มีนาคม 2563 ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติแนะให้ครองสติและเชื่อมั่นในความเป็น “เกษตรกร”                เมื่อวันที่ 25 มี.ค.2563 นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ได้กล่าวในการประชุมทางไกลผ่านแอพพลิเคชั่นไลน์ร่วมกับหัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดทั่วประเทศ และสำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ว่า ขอให้ทุกคนครองสติในภาวะวิกฤติการระบาดไวรัสโควิด-19 ให้ตระหนักแต่อย่าตระหนกเกินไป และให้ความสำคัญกับสถานการณ์ภัยแล้ง รับฟังและประสานให้ข้อมูลทั้งเกษตรกร องค์กร หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเพื่อรองรับสถานการณ์ขณะนี้ขอให้เชื่อมั่นในการเป็น “เกษตรกร” ซึ่งสำคัญมากกับการเป็นหลักให้กับประเทศในภาวะวิกฤติ ให้ถือเป็นโอกาสระยะยาวที่เกษตรกรจะช่วยกันค้นหาศักยภาพของตนและของชุมชน สำหรับสภาเกษตรกรจังหวัดเมื่อจัดทำแผนพัฒนาเกษตรกรรรมระดับตำบลขอให้พัฒนาไปสู่โครงการเพื่อประสานการพัฒนาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในส่วนของไวรัสโควิด-19 ที่ระบาดเป็นปัญหาอยู่ในขณะนี้ ขอให้ใช้การสื่อสารทางไกลในการทำงานร่วมกันเพื่อรักษาระยะห่าง และลดการแพร่กระจาย/ระบาด หากมีใครติดเชื้อขออย่าได้รังเกียจ ขอให้ช่วยกันดูแล เอื้ออาทรต่อกัน ทุกวิกฤตินั้นมีโอกาสเสมอ ขอให้เกษตรกรสำรวจดูว่าวิกฤติทุกครั้งกระทบการดำเนินชีวิตในการเป็นเกษตรกรหรือไม่ หากคำตอบคือเกิดผลกระทบนั่นเท่ากับว่าเราจะต้องมีการสร้างการผลิตแบบยั่งยืนให้ได้ สภาเกษตรกรจังหวัดลำปางร่วมหาทางออกการใช้ประโยชน์ที่ดินทำการเกษตร และปัญหาภัยแล้ง                เมื่อวันที่ 26 มี.ค.2563 นายครรชิต วงศ์สุภา รองประธานสภาเกษตรกรจังหวัดลำปาง พร้อมด้วยนายศรีสะเกษ สมาน หัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลำปาง และทีมงานได้ลงพื้นที่ เพื่อรับฟังปัญหาร่วมกับเกษตรกร ต.บ้านกิ่ว อ.แม่ทะ ซึ่งขณะนี้สถานการณ์ปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้นทำให้เกษตรกร […]

1 37 38 39 40 41 88