Author: Thanyalaksaporn Tieoyong
เมื่อวันที่ 23 ธ.ค.2564 นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวในโอกาสเป็นประธานเปิดกิจกรรม “1 ทศวรรษสภาเกษตรกรแห่งชาติ” และปาฐกถาพิเศษ เรื่อง 1 ทศวรรษผ่านไปสู่ก้าวย่างที่ท้าทายฝ่าวิกฤติโควิด-19 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ณ ห้องประชุมสำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ชั้น 1 อาคารรัฐประศาสนภักดี (อาคาร B) แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร และสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัด 77 จังหวัด ว่า ไม่ง่ายนักในการเป็นสภาเกษตรกร เพราะที่ผ่านมาต้องทำงานกับภาคการเมืองใช้เวลาทำความเข้าใจบทบาท หน้าที่ของสภาเกษตรกร แม้จะใช้เวลาไปมากแต่ประวัติศาสตร์ยิ่งเข้มข้นอนาคตยิ่งสดใส เพราะศัตรูของสภาเกษตรกรคือปัญหาของเกษตรกร เป้าหมายสุดท้าย คือ เกษตรกร กำหนดเป้าหมายและอย่าเสียสมาธิหรือเบี่ยงเบนในเส้นทางของการแก้ปัญหา ขอให้ทำการประเมินงานว่าก่อนและหลังมีสภาเกษตรกรมีความแตกต่าง ข้อบกพร่อง ข้อปรับปรุง ข้อแก้ไขอย่างไรบ้าง ขอให้คิดถึง ช่วยกันแสวงหาทางออกและจุดประกายให้เกษตรกร ขณะที่ นายรัตนะ สวามีชัย […]
มันสำปะหลังปลอดสารพิษ สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ดำเนินโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการรับฟังความคิดเห็นการส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังแบบอินทรีย์ด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมและทันสมัย เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน 2564 ผ่านระบบประชุมทางไกล Application zoom meeting แนวทางในการร่วมมือกันวางแผนการผลิตและบริหารจัดการผลผลิตมันสำปะหลังให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ในรูปแบบการผลิตมันสำปะหลังปลอดภัย เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังเป็นอย่างยิ่ง สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ จึงได้ประสานความร่วมมือกับบริษัท เอสวายจี สมาร์ทฟาร์ม จำกัด (สิงห์ยิ้ม) เพื่อศึกษาดูโรงงานผลิตมันลูกเต๋า โดยมีกิจกรรมที่สำคัญคือ 1.การวางแผนการผลิตมันสำปะหลังแบบปลอดภัยจากสารพิษ 2.วิธีการปลูกที่ถูกต้องและเหมาะสม ที่สามารถอยู่ร่วมกับไวรัสใบด่างในมันสำปะหลังได้ 3.การตลาด การรับซื้อ การส่งเข้าโรงงาน
นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวว่า ปัจจุบันวิกฤตการณ์ที่หลากหลายยังคงรุมเร้าเกษตรกรและยังคงดำรงอยู่อย่างต่อเนื่อง เช่น โรคระบาดที่ปรับสายพันธุ์ ราคาพืชผล ภาวะโลกร้อน ภัยธรรมชาติที่ผันผวน การแข่งขันทางการค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งความรวดเร็วในการนำส่งสินค้า เป็นต้น ทำให้เกษตรกรอาจอ่อนล้ากับหลากปัญหาได้ อย่างไรก็ตาม ขอให้พี่น้องเกษตรกรติดตามข่าวสารให้ใกล้ชิด หากมีเพื่อน กลุ่ม หรือทีมงาน ให้ช่วยกันดูข้อมูลแล้ววิเคราะห์ ใช้โอกาสก้าวสู่ปีใหม่นี้ในการปรับตัว เปลี่ยนแปลงด้านการผลิตให้สอดคล้องกับสถานการณ์และปัญหาปัจจุบันให้มากขึ้น ด้วยการเพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ ผลิตผล ในพื้นที่เพาะปลูกให้มากขึ้นเพื่อลดและกระจายความเสี่ยง เช่น เกษตรกรที่ทำเกษตรกรรมสาขาพืชควรมีการปลูกพืชอายุยืนอย่างไม้ผลให้มากขึ้น หากเกษตรกรมีความพร้อมด้านทุนก็สามารถเพิ่มกิจกรรมการเลี้ยงปศุสัตว์ หากเป็นปศุสัตว์อายุสั้นแนะนำให้เลี้ยงไก่พื้นเมือง ซึ่งใช้เวลาไม่กี่เดือนก็สามารถจำหน่ายช่วยหมุนเวียนเศรษฐกิจในครัวเรือนหรือในกลุ่มได้ ขณะที่แพะ แกะ ใช้ระยะเวลาเลี้ยงปีเศษๆ ส่วนโค กระบือ ใช้ระยะเวลาที่ยาวนานกว่านั้น ขึ้นอยู่กับความสะดวกและทุนของเกษตรกร “ ทั้งการทำปศุสัตว์และการเพาะปลูก ขอให้เกษตรกรศึกษาข้อมูลแล้ววางแผน ปรับตัว ปรับการผลิตให้มีความหลากหลาย ผสมผสานมากขึ้น หากสินค้าเกษตรตัวไหนที่แข่งขันในตลาดไม่ได้ หรือไม่มีอนาคต ดูแล้วยากลำบากแน่ ควรลดหรือเลิก เช่น พืชไร่หลายตัว […]
https://www.nfc.or.th/wp-content/uploads/2021/12/Recruitment-64-0034.pdf
https://www.nfc.or.th/wp-content/uploads/2021/12/Recruitment-64-0033.pdf
ข่าวประชาสัมพันธ์ประจำสัปดาห์วันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม 2564 สภาเกษตรกรแห่งชาติห่วงปัญหา “ผัก-ผลไม้จีน” หลังเส้นทางโลจิสติกส์เปิดสะดวกมากขึ้น นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวว่า สภาเกษตรฯมีความเป็นห่วงถึงปัญหาการทะลักเข้ามาของสินค้าเกษตรโดยเฉพาะ “ผักและผลไม้จากจีน” หลังจากเส้นทางโลจิสติกส์เปิดกว้างสะดวกมากขึ้น ทำให้สินค้าจีนสามารถส่งผ่านเข้ามาขายในประเทศไทยได้ง่ายขึ้น ใช้เวลา 1 วัน และเดินทางข้ามพรมแดน 1 ชม. มาขายในตลาดไทส่งผลกระทบต่อเกษตรกรไทย ทั้งนี้ สินค้าเกษตรจีนมีความได้เปรียบทั้งด้านต้นทุนและการผลิต พื้นที่ปลูกสภาพอากาศดียิ่งกว่าเมืองหนาวของไทย สินค้าผัก-ผลไม้เมืองหนาวไทยยากจะแข่งขันกับจีนได้ เพราะรัฐบาลไทยไม่มีการตั้งรับเลย จึงมีข้อเสนอแนะ ดังนี้ 1) รัฐบาลต้องตั้งการ์ดดูแลตรวจสอบการนำเข้าสินค้าเกษตรเพื่อให้ได้มาตรฐาน 2) เกษตรกรต้องปรับตัว ปรับการผลิตสินค้าเกษตร อย่าผลิตสินค้าที่จีนผลิตได้จำนวนมาก โดยเกษตรกรไทยต้องปรับไปปลูกพืชเกษตรผสมผสาน เลี้ยงปศุสัตว์สร้างมูลค่าเพิ่ม หรือการปรับเปลี่ยนไปปลูกไม้ยืนต้นมูลค่าสูง ซึ่งจะส่งผลดีระยะยาว 3) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จัดหาสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ 1% ต่อปี เพื่อให้เกษตรกรกู้ยืมในการลงทุนเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต 4) มาตรการเยียวยาผลกระทบต่อผู้ที่ได้รับความเสียหาย ซึ่งในกรณีสินค้าผักอาจไม่เหมาะที่จะใช้ประกันรายได้เพราะเป็นพืชอายุสั้นแต่มีความอ่อนไหวสูงมาก คำนวณส่วนต่างเรื่องราคายาก จึงควรปรับเป็นการจ่ายเยียวยาความเสียหายดีกว่า สภาเกษตรกรฯ หนุนใช้นาโนแคลเซียมคาร์บอเนต […]
นายเติมศักดิ์ บุญชื่น ประธานคณะทำงานด้านพืชไร่ สภาเกษตรกรแห่งชาติ และประธานสภาเกษตรกรจังหวัดนครราชสีมา เปิดเผยว่า สภาเกษตรกรจังหวัดนครราชสีมาได้ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลปัญหา ความต้องการ แนวทางการพัฒนาพืชหลักของเกษตรกรในจังหวัด พบว่าเกษตรกรทำเกษตรกรรมโดยใช้ความรู้ดั้งเดิมขาดการศึกษาถึงปัญหาที่แท้จริงที่ส่งผลต่อผลผลิตและเมื่อผลผลิตไม่เป็นไปตามที่คาดหวังก็จะปรับเปลี่ยนโดยการเพิ่มปุ๋ยหรือสารเคมีเพื่อบำรุง ทำให้ต้นทุนสูงขึ้น ขาดการศึกษาถึงสาเหตุและการแก้ไขปัญหาจากต้นเหตุ นั่นคือ ดิน สภาพดินที่มีความเป็นกรดจากการที่ใช้สารเคมีที่มากเกินไป สภาเกษตรกรแห่งชาติ จึงร่วมกับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดย ศูนย์วิจัยข้าวโพดข้าวฟ่างแห่งชาติ (ไร่สุวรรณ) และมูลนิธิอุษรินทร์ โดย นายศศิศ มนต์เสรีนุสรณ์ สนับสนุน ทำการศึกษาวิจัย และทดลองพื้นที่การเกษตรด้วยนาโนแคลเซียมคาร์บอเนต ชนิดแขวนลอย ในแปลงเกษตรกร 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดลพบุรี สระบุรี ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา และ นครราชสีมา ผลที่ได้เปอร์เซ็นต์ในไร่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เกษตรกรเพิ่มขึ้นตั้งแต่ 18 – 28% ภายใต้การทำเกษตรกรรมของเกษตรกรปกติเหมือนเดิมทุกประการ แคลเซียมคาร์บอเนตที่เป็นเทคโนโลยีนาโน ชนิดแขวนลอย เป็นสารที่มีอนุภาคเป็นบวก บดในส่วนที่เป็นโมเลกุลไม่เกิน 0.5 ไมครอน โดยใช้วิธีการวัดค่าดินเป็นหลัก […]
เมื่อวันที่ 15 ธ.ค.2564 นายรัตนะ สวามีชัย เลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ ร่วมงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้นาโนแคลเซียมคาร์บอเนต ชนิดแขวนลอย เพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ซึ่งจัดโดยสภาเกษตรกรจังหวัดนครราชสีมา นายสมเกียรติ วิริยะกุลนันท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานเปิดงาน นายเติมศักดิ์ บุญชื่น ต้อนรับและกล่าวรายงาน ณ แปลงปลูก ศูนย์วิจัยข้าวโพดข้าวฟ่างแห่งชาติ (ไร่สุวรรณ) อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ทั้งนี้ สืบเนื่องจากสภาเกษตรกรจังหวัดนครราชสีมาได้ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลปัญหา ความต้องการ แนวทางการพัฒนาพืชหลักของเกษตรกรในจังหวัด พบว่าเกษตรกรทำเกษตรกรรมโดยใช้ความรู้ดั้งเดิมขาดการศึกษาถึงปัญหาที่แท้จริงที่ส่งผลต่อผลผลิต และเมื่อผลผลิตไม่เป็นไปตามที่คาดหวังก็จะปรับเปลี่ยนโดยการเพิ่มปุ๋ยหรือสารเคมีเพื่อบำรุง ทำให้ต้นทุนสูงขึ้น ขาดการศึกษาถึงสาเหตุและการแก้ไขปัญหาจากต้นเหตุ นั่นคือ ดิน สภาพดินที่มีความเป็นกรดจากการที่ใช้สารเคมีที่มากเกินไป และพื้นที่การเกษตรส่วนใหญ่ในจังหวัดนครราชสีมาสภาพดินเป็นกรด การปรับปรุงดินเพื่อเพิ่มผลผลิตต่อไร่ในข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จะส่งผลให้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีผลผลิตเพิ่มสูงขึ้นด้วยการนำนวัตกรรมเทคโนโลยีนาโนแคลเซียมคาร์บอเนต ชนิดแขวนลอย มาใช้ประโยชน์ในการทำเกษตรกรรมเพื่อปรับปรุงสภาพดิน จึงนำสู่การจัดงานดังกล่าวขึ้นเพื่อเผยแพร่ข้อมูลสู่เกษตรกร หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยภายในกิจกรรมดังกล่าวมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เกษตรกรแปลงใหญ่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เข้าร่วมงาน รวม 120 […]
นายวิศณ์ ประสานพันธ์ หัวหน้าส่วนยุทธศาสตร์การเกษตร สภาเกษตรกรจังหวัดศรีสะเกษ เปิดเผยว่า ช่วงเวลาที่ผ่านมาภาคการเกษตรเผชิญกับสถานการณ์ที่หลากหลายมากตั้งแต่การแพร่ระบาดไวรัสโคโรนา 2019 (covid-19) ที่ขยายลุกลามไปทั่ว ภาวะฝนแล้ง น้ำท่วม กระทบผลผลิต สินค้าล้นตลาดและขาดรายได้ การดำเนินชีวิตติดขัดยากลำบากแตกต่างกันไป สภาเกษตรกรจังหวัดศรีสะเกษได้รับปัญหาต่างๆจากเกษตรกรและเข้าช่วยเหลือ แก้ปัญหา รวมทั้งหาช่องทางทำการตลาดเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ยกตัวอย่างเช่น เกษตรกรผู้ปลูกหอมแดงอำเภอยางชุมน้อย พื้นที่ปลูกหอมแดงกว่า 250 ไร่ ถูกน้ำจากลำน้ำมูลเอ่อเข้าท่วมเสียหายทั้งหมด ขณะที่การสำรวจแปลงหอมแดงในพื้นที่อำเภอยางชุมน้อย พบพื้นที่เสียหายมากกว่า 2,000 ไร่ เกษตรกรขอความช่วยเหลือมาทางสภาเกษตรกรจังหวัดศรีสะเกษ จึงเชิญจังหวัด เกษตรจังหวัด เกษตรอำเภอ พาณิชย์จังหวัด ร่วมปรึกษา รวมทั้ง ‘เชฟเต๋า’ นายสิรพงศ์ สังข์แก้ว วิทยากรชำนาญการ สาขาการประกอบอาหาร ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดศรีสะเกษ ว่าน่าจะแปรรูปเป็นกิมจิได้ จึงทดลองทำกิมจิรอบแรก 4 กิโลกรัม ถือว่าผ่าน รอบที่ 2 ในงานช่วยเกษตรกรผู้ปลูกหอมแดงพื้นที่โดนน้ำท่วม โดยเชิญแกนนำกลุ่มมาเรียนรู้การทำกิมจิแล้วปรับรสชาติ เพิ่มเป็น […]
ข่าวประชาสัมพันธ์ประจำสัปดาห์วันศุกร์ที่ 10 ธันวาคม 2564 สภาเกษตรกรฯร่วมกับสมาคมชาวสวนปาล์ม ร่วมหารือการยกระดับการเรียกร้องของเกษตกรชาวสวนปาล์มพร้อมกับจังหวัด เมื่อวันที่ 8 ธ.ค.2564 นายสิทธิพร จริยพงศ์ รองประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ คนที่ 2 ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมประชุมหารือในการยกระดับการเรียกร้องของเกษตรกรชาวสวนปาล์มพร้อมกันกับจังหวัดต่างๆ นำโดย นายชัยวุฒิ์ จิตรนุพงษ์ นายกสมาคมชาวสวนปาล์มจังหวัดสุราษฎร์ธานี พร้อมด้วยกรรมการ แกนนำสมาคมฯ ผู้ประกอบการลานเท กรรมการคณะทำงานปาล์มสภาเกษตรกรจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประธานแปลงใหญ่ปาล์มน้ำมัน ณ ห้องประชุมสภาเกษตรกรจังหวัดสุราษฎร์ธานี อาคารศูนย์ราชการ ต.ตลาด อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี ด้วยมีความเห็นว่าการที่คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน(กบง.)ลดสัดส่วนผสมไบโอดีเซลในน้ำมันดีเซลเหลือเพียงบี7 อย่างเดียวทำให้ปริมาณการใช้น้ำมันปาล์ม(บี100)น้อยลงและจำนวนสต๊อกน้ำมันปาล์มเพิ่มขึ้นจึงทำให้ราคาทะลายปาล์มลดลงอย่างต่อเนื่อง หากนิ่งเฉยปล่อยให้เป็นลักษณะนี้อีกไม่เกิน 1 เดือนราคาจะร่วงลงมาแตะ 5 บาทได้ ในขณะที่ราคาปุ๋ยนั้นขึ้นราคาทุกสัปดาห์ จึงลงความเห็นว่าชาวสวนปาล์มทุกจังหวัดต้องยกระดับการเรียกร้องให้กระทรวงพลังงานทบทวนเพิ่มอัตราส่วนผสมไบโอดีเซลให้กลับไปเหมือนเดิม ซึ่งได้ทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีไปแล้วเมื่อวันที่ 26 พ.ย.2564 แต่ยังไม่มีประกาศเปลี่ยนแปลงตามข้อเรียกร้องของชาวสวนปาล์มฯ จึงได้เชิญผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมเพื่อหารือในการยกระดับการเรียกร้องของชาวสวนปาล์มพร้อมกันกับจังหวัดต่างๆ ต่อไป สภาเกษตรกรจังหวัดสกลนคร ร่วมกับ สสน. เอสซีจี ติดตามการดำเนินงานบริหารจัดการน้ำพื้นที่ชุมชนบ้านคึมตัวอย่างรอดแล้งอย่างยั่งยืน เมื่อวัน […]
ข่าวประชาสัมพันธ์ประจำสัปดาห์วันศุกร์ที่ 3 ธันวาคม 2564 สภาเกษตรกรจังหวัดชลบุรี จัดโครงการส่งเสริมและสร้างทักษะในการประกอบอาชีพทั้งในและนอกภาคการเกษตร กิจกรรมการพัฒนาอาชีพเกษตรกรโดยการปลูกไผ่เชิงเศรษฐกิจ เมื่อวันที่ 29 พ.ย.2564 นายศรีสะเกษ สมาน รองเลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ ร่วมกิจกรรมโครงการส่งเสริมและสร้างทักษะในการประกอบอาชีพทั้งในและนอกภาคการเกษตร กิจกรรมการพัฒนาอาชีพเกษตรกรโดยการปลูกไผ่เชิงเศรษฐกิจ ภายใต้แผนงานบูรณาการการพัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ประจำปี 2565 และบรรยายในหัวข้อ “ทำไมต้องปลูกไผ่” ให้แก่เกษตรกรได้รับรู้ถึงพืชทางเลือกในการสร้างความเข้มแข็งให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยนายไพชยนต์ กังวลกิจ ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดชลบุรี เป็นประธานในพิธีเปิด ณ ที่ทำการกำนัน ต.พลวงทอง อ.บ่อทอง จ.ชลบุรี ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรเป้าหมายได้รับการพัฒนาและส่งเสริมอาชีพโดยการปลูกไผ่เชิงเศรษฐกิจให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ เกษตรกรสามารถร่วมกันบริหารจัดการทุน ที่ดินและทรัพยากรภายในชุมชนนำไปสู่การมีรายได้เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีบรรยายในหัวข้อ “การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพของไผ่” , “การใช้ประโยชน์จากไผ่เชิงเศรษฐกิจ” ทั้งนี้ โครงการส่งเสริมและสร้างทักษะในการประกอบอาชีพทั้งในและนอกภาคการเกษตร กิจกรรม การพัฒนาอาชีพเกษตรกรโดยการปลูกไผ่เชิงเศรษฐกิจ (อบรมให้ความรู้เพื่อพัฒนาอาชีพภาคทฤษฎี)มีเกษตรกรในพื้นที่เป้าหมายให้ความสนใจและมีจำนานไม่น้อยที่จะนำความรู้ที่ได้รับนำไปพัฒนาเพื่อสร้างรากฐานความเข้มแข็งในชุมชนและครอบครัวต่อไป สภาเกษตรกรจังหวัดชุมพรร่วมกิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “ตลาดออนไลน์ เกษตรกรผลิตได้ ขายเป็น” เมื่อวันที่ 29 พ.ย.2564 นางสาวปณิดา โกฏเพชร หัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดชุมพร […]
ข่าวประชาสัมพันธ์ประจำสัปดาห์วันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน 2564 สภาเกษตรกรฯรับฟังความคิดเห็นการส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังแบบอินทรีย์ด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมและทันสมัยผ่านระบบสื่ออิเล็คทรอนิกส์ เมื่อวันที่ 25 พ.ย.2564 นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ เป็นประธานเปิดการประชุมโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการรับฟังความคิดเห็นการส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังแบบอินทรีย์ด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมและทันสมัย ด้วยระบบประชุมทางไกลผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Zoom) ณ ห้องประชุม 1 สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ อาคารรัฐประศาสนภักดี (อาคาร B) ชั้น 1 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร ในการประชุมนายเติมศักดิ์ บุญชื่น ประธานคณะกรรมการด้านพืชไร่ สภาเกษตรกรแห่งชาติ รายงานเรื่องสถานการณ์โรคใบด่างในมันสำปะหลังในประเทศไทย การบรรยาย เรื่อง “แนวทางความร่วมมือ การส่งเสริมการปลูกมันสำปะหลังครบวงจรด้วยเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่” จากศูนย์ปฏิบัติการเกษตรร่วม(ศูนย์โคแอค) “เทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์และการแปรรูปเป็นมันเต๋าอบแห้ง” โดย บริษัท สิงห์ยิ้มอุตสาหกรรมการเกษตร จำกัด ทั้งนี้ คณะกรรมการด้านพืชไร่ สภาเกษตรกรแห่งชาติ มีความเห็นว่าการส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังแบบอินทรีย์ด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมและทันสมัยจะทำให้เกษตรกรมีผลผลิตและเปอร์เซ็นต์ค่าแป้งที่สูงขึ้น โดยเปอร์เซ็นต์ค่าแป้งไม่ต่ำกว่า 25% […]