วันที่ 10 พฤศจิกายน 2565 เวลา 13.00 น. นายรัตนะ สวามีชัย เลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ นายเติมศักดิ์ บุญชื่น ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดนครราชสีมา นายสุรศักดิ์ วานิชกิจ คณะกรรมการ ด้านประมง สภาเกษตรกรแห่งชาติ นายไพรัชต์ ฐาตุจิรางค์กุล นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดนครราชสีมา และนายสุริยา จงโยธา ประมงจังหวัดนครราชสีมา เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัด นครราชสีมา เพื่อรับฟังปัญหาความเดือดร้อน จากเกษตรกรที่ได้รับความไม่เป็นธรรมจากการทำเกษตรพันธะสัญญา 2 กลุ่ม ประกอบด้วย
1. กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลและปลาทับทิมอ่างเก็บน้ำลำแซะ อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 173 รายเป็นเกษตรกรที่ทำสัญญาเลี้ยงปลากับบริษัท 4 บริษัทคือ เบทราโก ซีพี ยูเนี่ยนฟูดส์ และไพรัฐ จำนวน 100 กว่าราย และได้รับความเดือดร้อนจากระบบเกษตรพันธสัญญา ดังนี้
(1) ลูกพันธุ์ปลาไม่มีคุณภาพอัตราการเจริญเติบโตช้าและไม่สม่ำเสมอ มีการป่วยและตายในระหว่างการเลี้ยงสูง
(2) ประสิทธิภาพในการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ (fcr)ต่ำ เนื่องจากอาหารไม่มีคุณภาพ หรือไม่ตรงตามความต้องการของปลา และมีการปรับราคาค่าอาหารขึ้นทุกล็อต
(3) การรับซื้อคืน ในสัญญาจ้างกำหนดขนาดรับซื้อคืนปลานิล 700 กรัมขึ้นไป ในราคา 56 บาท/กก.และ ต่ำกว่า 700 กรัมรับซือในราคา 45 บาท/กก. แต่ในความเป็นจริงรับซื้อคืนที่น้ำหนัก 800 กรัม ทำให้ปลาตกไซร์จำนวนมากเกิดความสูญเสียแก่เกษตรกร
(4) บริษัทยูเนียนส่งทีมงานมาคัดไซด์ปลาส่งตลาด แต่เมื่อถึงลูกค้าเซลล์โทรมาแจ้งมีปลาตกไซด์ประมาณ 20% ทำให้เกษตรกรสูญเสียรายได้ทั้ง ไม่ใช่ความผิดของเกษตรกร
(5)สัญญาที่ทำขึ้น เจ้าหน้าที่บริษัทเอามาให้เกษตรกรเซ็นรับทราบแต่ไม่ยอมให้คู่สัญญาเกษตรกรไม่เห็นรายละเอียดจึงเสียเปรียบตลอด โดยเซ็นกันปีต่อปี
(6)เกษตรกรเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายในการจับปลาทั้งหมด จากปกติจับ 2-3 ครั้งๆ ละ 3-5 ตันหมดบ่อแต่กลับจับปลาแค่ 1-2 ตัน/ครั้งและต้องจ้างแรงงานจับ 5-6 ครั้ง เกษตรกรเพิ่มต้นทุนเสียเวลาและปลาช้ำ
2.กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาดุก อำเภอชุมพวง ได้รับความเดือดร้อนจากระบบเกษตรพันธสัญญา ดังนี้
(1) ลูกปลาดุกไม่แข็งแรง เจริญเติบโตช้า
(2) กรณีลูกปลาขาดจำนวนเจ้าหน้าที่บอกจะชดดชยให้แต่ก็ไม่เคยได้รับการชดเชย
(3) อัตราการปล่อยปลาของบริษัทเลี้ยงต่อบ่อหนาแน่นเกินไปทำให้ปลาไม่โตและเกิแความสูญเสีย
(4) ช่วงเวลาของแรงงานจับปลาไม่เป็นไปตามสัญญา ค่าแรงงานล่วงเวลาให้เกษตรกรเป็นผู้แบกรับค่าใช้จ่ายด้วยตนเอง
กลุ่มเกษตรกรจึงร้องขอให้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีเกษตรพันธสัญญาที่เกษตรกรได้เป็นคู่สัญญากับบริษัทเอกชนต่างๆ เพื่อความเป็นธรรมในการประกอบอาชีพ โดยมีเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรกรจังหวัดนครราชสีมาเข้าร่วมรับฟังด้วย และมีแนวทางแก้ปัญหาเบื้องต้นดังนี้
1.ให้คณะกรรมการไกล่เกลี่ยโดยเกษตรและสหกรณ์เป็นผู้ทำบันทึกถึงผู้ว่าราชการจังหวัด และจัดตั้งคณะอนุกรรมการลงพื้นที่เพื่อพิสูจน์หาข้อเท็จจริงก่อนมารายงานต่อคณะกรรมการระดับจังหวัด
2.ในส่วนของสภาเกษตรกรจังหวัดจะทำหน้าที่ประสานงานและอำนวยความสะดวกในการลงพื้นที่เพื่อพิสูจน์ความจริง
นี่เป็นเพียง case เบื้องต้นที่เกษตรกรที่ได้รับความไม่เป็นธรรมจากการทำเกษตรพันธะสัญญา และยังมีอีกหลาย case ที่สภาเกษตรกรจังหวัดและสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดทั่วประเทศกำลังเร่งสำรวจ
———————————————–
ข่าว : อภิวัฒน์ มีลาภ
ภาพ : สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดนครราชสีมา
อำนวยการข่าว : ชยพล ถิลา