สภาเกษตรกรแห่งชาติร่วมขับเคลื่อนระเบียงเศรษฐกิจฮาลาลจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วยแนวทางการส่งเสริมเกษตรฐานรากเชื่อมโยงอุตสาหกรรมไก่แบบครบวงจร

 

         นายศรัณย์พงศ์  ฟุ้งเกียรติ รองเลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ เปิดเผยถึง การลงนามความร่วมมือภายใต้คณะอนุกรรมการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจเพื่อส่งเสริมสินค้าและผลิตผลการเกษตรมาตรฐาน “ฮาลาล” ในพื้นที่ชายแดนใต้ โดยคณะกรรมการส่งเสริมสินค้าและผลิตผลการเกษตรมาตรฐาน “ฮาลาล”  ณ ห้องประชุมน้อมเกล้า อาคารศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ว่า ในการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าว เพื่อขับเคลื่อนระเบียงเศรษฐกิจฮาลาลจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วยแนวทางการส่งเสริมเกษตรฐานรากเชื่อมโยงอุตสาหกรรมไก่แบบครบวงจร โดยสำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ร่วมด้วยภาคีเครือข่าย ได้แก่ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้   กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย   สมาพันธ์คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดชายแดนภาคใต้  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์   มหาวิทยาลัยขอนแก่น   ศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมจังหวัดปัตตานี (Agritech and Innovation Center : AIC)   บริษัท เอ.ซี.เอฟ แอนด์ คอนเทนเนอร์ โฟรเซน ฟาร์ม จำกัด  และ บริษัท ตะนาวศรีไก่ไทย จำกัด  ซึ่งภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือครั้งนี้สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ โดยนายรัตนะ  สวามีชัย เลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ ได้มอบหมายให้ตนในฐานะกำกับดูแลสภาเกษตรกรจังหวัดภาคใต้เข้าร่วมบูรณาการความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายการทำงาน ซึ่งทุกฝ่ายมีเจตนารมณ์ที่จะร่วมกันส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตอาหารฮาลาลที่มีคุณภาพสูง ผ่าน “อุตสาหกรรมไก่แบบครบวงจร” สามารถเชื่อมโยงการผลิตตั้งแต่เกษตรฐานราก-กลุ่มเกษตรกร ไปสู่อุตสาหกรรมครัวเรือน อุตสาหกรรมแปรรูปขนาดใหญ่ ที่ใช้ไก่เป็นส่วนประกอบสำคัญ เพื่อสามารถบรรลุหลักการศาสนาอิสลามสำหรับพี่น้องมุสลิมทุกคนและผู้ที่รักษ์สุขภาพเพื่อให้ได้อาหารที่ดีและเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจเชื่อมโยงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของพี่น้องประชาชนและเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างเป็นระบบและครบวงจร ทั้งนี้ บนพื้นฐานการนำองค์ความรู้และวิชาการมาขยายผล ประยุกต์ พัฒนา และต่อยอดเป็นอาชีพของประชาชน และแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของพื้นที่ ผ่าน “อาหารฮาลาล” ที่เป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้และประเทศไทยอย่างมีนัยสำคัญตามยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทย “ครัวอาหารโลก” และ “ครัวอาหารฮาลาลจังหวัดชายแดนภาคใต้”

         สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ โดยสภาเกษตรกรจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ สภาเกษตรกรจังหวัดยะลานราธิวาส ปัตตานี สงขลา และสตูล มีบทบาทหน้าที่ในการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งและบูรณาการกับหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง ตาม พ.ร.บ.สภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ.2553  ภารกิจหน้าที่ภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าว คือ ร่วมกับภาคี รวบรวม คัดเลือกสมาชิกเกษตรกร องค์กรเกษตรและเครือข่ายสมาชิก/องค์กรสภาเกษตรกรจังหวัดชายแดนภาคใต้ โครงการขับเคลื่อนระเบียงเศรษฐกิจฮาลาลจังหวัดชายแดนภาคใต้ ด้วยแนวทางการส่งเสริมเกษตรฐานรากเชื่อมโยงอุตสาหกรรมไก่แบบครบวงจร ด้วยการเพิ่มพื้นที่การเลี้ยงไก่ตามเป้าหมายของโครงการที่ได้กำหนดร่วมกัน ตามปริมาณและระยะเวลาที่กำหนด เพื่อเป็นวัตถุดิบเข้าสู่กระบวนการแปรรูปในระยะต่อไป โดยประสานแผนการทำงานให้เป็นไปอย่างสอดคล้องกับภาคเอกชน และการสนับสนุนของภาครัฐ  , เป็นสื่อกลางสร้างความเข้าใจ ความร่วมมือและการประสานความร่วมมือกับส่วนราชการ ภาคเอกชน และองค์กรภาคีเครือข่ายการทำงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขับเคลื่อนโครงการไปสู่เกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรได้รับประโยชน์สูงสุด พร้อมทั้งเป็นสื่อกลางแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ปัญหาอุปสรรค และแนวทางการแก้ไขปัญหา-พัฒนาบนฐานความจำเป็นและความต้องการของเกษตรกร  และ , ติดตามความก้าวหน้าของโครงการอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง โดยประสานการทำงานร่วมกันกับศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ และภาคเอกชน เพื่อเร่งรัดแก้ไขปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในขั้นตอนกระบวนการทำงานได้

          สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ โดยสภาเกษตรกรจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ สภาเกษตรกรจังหวัดยะลานราธิวาส ปัตตานี สงขลา และสตูล มีบทบาทหน้าที่ในการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งและบูรณาการกับหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง ตาม พ.ร.บ.สภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ.2553  ภารกิจหน้าที่ภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าว คือ ร่วมกับภาคี รวบรวม คัดเลือกสมาชิกเกษตรกร องค์กรเกษตรและเครือข่ายสมาชิก/องค์กรสภาเกษตรกรจังหวัดชายแดนภาคใต้ โครงการขับเคลื่อนระเบียงเศรษฐกิจฮาลาลจังหวัดชายแดนภาคใต้ ด้วยแนวทางการส่งเสริมเกษตรฐานรากเชื่อมโยงอุตสาหกรรมไก่แบบครบวงจร ด้วยการเพิ่มพื้นที่การเลี้ยงไก่ตามเป้าหมายของโครงการที่ได้กำหนดร่วมกัน ตามปริมาณและระยะเวลาที่กำหนด เพื่อเป็นวัตถุดิบเข้าสู่กระบวนการแปรรูปในระยะต่อไป โดยประสานแผนการทำงานให้เป็นไปอย่างสอดคล้องกับภาคเอกชน และการสนับสนุนของภาครัฐ  , เป็นสื่อกลางสร้างความเข้าใจ ความร่วมมือและการประสานความร่วมมือกับส่วนราชการ ภาคเอกชน และองค์กรภาคีเครือข่ายการทำงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขับเคลื่อนโครงการไปสู่เกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรได้รับประโยชน์สูงสุด พร้อมทั้งเป็นสื่อกลางแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ปัญหาอุปสรรค และแนวทางการแก้ไขปัญหา-พัฒนาบนฐานความจำเป็นและความต้องการของเกษตรกร  และ , ติดตามความก้าวหน้าของโครงการอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง โดยประสานการทำงานร่วมกันกับศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ และภาคเอกชน เพื่อเร่งรัดแก้ไขปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในขั้นตอนกระบวนการทำงานได้

———————————————
ข่าว : วัฒนรินทร์ สุขีวัย
ภาพ : ว่าที่ร้อยตรีอ่าหมีด ชุมพรัด
อำนวยการข่าว : อภิวัฒน์ มีลาภ